แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2
เอฟ-4 แฟนท่อม 2 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินสกัดกั้นและเครื่องบินขับไล่โจมตี |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | แมคดอนเนลล์ ดักลาส |
สถานะ | มี 631 ลำที่ใช้โดยกองกำลังที่ไม่ใช่สหรัฐฯ สหรัฐฯ ใช้เป็นโดรนในปีพ.ศ. 2551 |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ กองนาวิกโยธินสหรัฐ |
จำนวนที่ผลิต | 5,195 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2501-2524 |
เริ่มใช้งาน | 30 มกราคม พ.ศ. 2503 |
เที่ยวบินแรก | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 |
เอฟ-4 แฟนท่อม 2 (อังกฤษ: F-4 Phantom II)[1][2] เป็นเครื่องบินสกัดกั้นโจมตีพิสัยไกลทุกสภาพอากาศสองที่นั่ง สองเครื่องยนต์ ความเร็วเหนือเสียง เดิมทีสร้างมาเพื่อกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยแมคดอนเนลล์ แอร์คราฟท์[2] ด้วยการที่ใช้งานง่าย จึงได้กลายมาเป็นเครื่องบินส่วนใหญ่ของกองทัพเรือ กองนาวิกโยธิน และกองทัพอากาศสหรัฐฯ[3] F-4 ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยทั้งสามกองทัพในสงครามเวียดนามโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศหลักให้กับกองทัพเรือและกองทัพอากาศ เช่นเดียวกับทำหน้าที่ลาดตระเวนและโจมตีภาคพื้นดิน[3]
F-4 เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2503 แฟนทอมยังคงเป็นส่วนสำคัญของกองทัพสหรัฐฯ ตลอดจนทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ด้วยการถูกแทนที่โดยเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่วนในกองทัพเรือสหรัฐฯ แทนที่ด้วยเอฟ-14 ทอมแคทและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท และเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทในกองนาวิกโยธิน ยังคงถูกใช้ทำหน้าที่ลาดตระเวนโดยสหรัฐฯ ในสงครามอ่าวจนปลดประจำการในปีพ.ศ. 2539[4][5] แฟนทอมยังถูกใช้โดยประเทศอื่นๆ อีก 11 ประเทศ อิสราเอลได้ใช้แฟนทอมอย่างกว้างขวางในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในขณะที่อิหร่านใช้กองบินขนาดใหญ่ในสงครามอิรัก-อิหร่าน แฟนทอมยังคงอยู่ในแนวหน้าของเจ็ดประเทศด้วยกัน และยังใช้เป็นเป้าหมายไร้คนขับของกองทัพอากาศสหรัฐฯ[6]
การผลิตแฟนท่อมเริ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2501-2524 พร้อมมีเครื่องบินทั้งสิ้น 5,195 ลำที่ผลิตออกมา[3] การผลิตมากขนาดนี้ ทำให้เป็นเครื่องบินไอพ่นที่ผลิตออกมามากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเอฟ-86 เซเบอร์ที่สร้างออกมาเกือบ 10,000 ลำ
คำอธิบาย
[แก้]เอฟ-4 แฟนท่อม ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ป้องกันประจำกองบินสำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ และได้เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2503 ในปีพ.ศ. 2506 ถูกใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ให้ทำหน้าที่เครื่องบินขับไล่โจมตี เมื่อการผลิตสิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2524 แฟนทอม 2 จำนวน 5,195 ลำคือจำนวนทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมา ทำให้เป็นเครื่องบินทางทหารของสหรัฐฯ ที่มีจำนวนมากที่สุด[7] จนกระทั่งมีการสร้างเอฟ-15 อีเกิล เอฟ-4 ยังคงทำสถิติในการเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีระยะการผลิตยาวนานที่สุดคือ 24 ปี วัตกรรมของเอฟ-4 รวมทั้งเรดาร์พัลส์และการใช้ไทเทเนียมในการทำโครงสร้าง[8]
แม้ว่าจะมีมิติที่โอ่อ่าและน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดมากกว่า 27,000 กิโลกรัม[9] เอฟ-4 ก็ยังทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 2.23 มัค และมีการไต่ระดับมากกว่า 41,000 ฟุตต่อนาที[10] ไม่นานหลังจากนำมาใช้งาน แฟนทอมก็ทำสถิติโลกไว้ 15 สถิติด้วยกัน[11] ซึ่งรวมทั้งความเร็วสัมบูรณ์ที่ 2,585 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและความสูงสัมบูรณ์ที่ 98,557 ฟุต[12] แม้ว่าจะเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2502-2505 ทั้งห้าสถิติความเร็วก็ยังอยู่จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2518 เมื่อเอฟ-15 อีเกิล เข้าประจำการ[11]
เอฟ-4 สามารถบรรทุกอาวุธได้มากถึง 8,480 กิโลกรัม บนที่ตั้งเก้าตำบลรวมทั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศทั้งที่นำและไม่นำวิถี และระเบิดนิวเคลียร์[13] ตั้งแต่ที่เอฟ-8 ครูเซเดอร์ถูกใช้เพื่อการต่อสู้ระยะใกล้ เอฟ-4 จึงถูกออกแบบมาเหมือนกับเครื่องบินสกัดกั้นลำอื่นๆ คือไม่มีปืนใหญ่[14] ในการต่อสู้ผู้ควบคุมเรดาร์หรือผู้ควบคุมระบบอาวุธ (มักเรียกว่าผู้นั่งหลังหรือแบ็คซีทเตอร์ (backseater)) จะช่วยในการหาตำแหน่งข้าศึกด้วยสายตาเช่นเดียวกันเรดาร์ แฟนทอมได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีหลักทั้งของกองทัพเรือและกองทัพอากาศเมื่อจบสงครามเวียดนาม
เนื่องมาจากรูปลักษณ์ที่โดดเด่นและการใช้งานอย่างแพร่หลายโดยกองทัพและพันธมิตรของสหรัฐฯ เอฟ-4 จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่โด่งดังของสงครามเย็น โดยทำหน้าที่ในเวียดนามและสงครามอาหรับ-อิสราเอล พร้อมกับนักบิน เอฟ-4 ของอเมริกาที่ได้ชัยชนะ 227 ครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการโจมตีภาคพื้นดินอีกนับไม่ถ้วน[15]
เอฟ-4 แฟนท่อม ยังเป็นเครื่องบินขับไล่แบบสุดท้ายของอเมริกาที่ได้สถานะยอดเยี่ยมในศตวรรษที่ 20 ในสงครามเวียดนาม นักบินหนึ่งนายและผู้ควบคุมอาวุธสองนายจากกองทัพอากาศ[16] และนักบินหนึ่งนายและผู้ควบคุมเรดาร์หนึ่งนายจากกองทัพเรือ[17]ได้ทำการรบทางอากาศที่ยอดเยี่ยม แฟนทอมยังสามารถทำหน้าที่ลาดตระเวนทางยุทธวิธีและทำการกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรู โดยได้ทำหน้าที่ในปีพ.ศ. 2534 ในสงครามอ่าว[4][5]
การทำงานของเครื่องบินขับไล่ชั้น 2 มัค พร้อมพิสัยไกลและขนาดบรรทุกเท่าเครื่องบินทิ้งระเบิด ได้กลายมาเป็นแม่แบบของเครื่องบินขับไล่รุ่นต่อๆ มา แฟนท่อมได้ถูกแทนที่โดยเอฟ-15 อีเกิลและเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในกองทัพเรือนั้น ถูกแทนที่โดยเอฟ-14 ทอมแคทและเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ฮอร์เน็ทนั้นได้รับหน้าที่เป็นเครื่องบินขับไล่สองบทบาท[18]
การออกแบบและการพัฒนา
[แก้]ต้นกำเนิด
[แก้]ในปีพ.ศ. 2495 หัวหน้าด้านอากาศพลศาสตร์ของแมคดอนเนลล์ เดวิด เอส ลีวิส ได้ถูกแต่งตั้งโดย จิม แมคดอนเนลล์ ให้เป็นผู้จัดการในการออกแบบของบริษัท[19] เมื่อไม่มีเครื่องบินลำใดเข้าแข่งขัน ทางกองทัพเรือมีความต้องการเครื่องบินแบบใหม่อย่างมาก คือ เครื่องบินขับไล่โจมตี[20]
ในปีพ.ศ. 2496 แมคดอนเนลล์ แอร์คราฟท์เริ่มทำการปรับปรุงเอฟ 3 เอช ดีมอนเพื่อขยายขีดความสามารถและการทำงานที่ดีขึ้น บริษัทฯ ได้สร้างโครงการมากมายรวมทั้งแบบที่ใช้เครื่องยนต์ไรท์ เจ 67[21] และไรท์ เจ 65 สองเครื่อง หรือเครื่องยน์เจเนรัล อิเลคทริก เจ 79 สองเครื่อง[22] รุ่นที่ใช้ เจ 79 ได้แสดงให้เห็นถึงความเร็วสูงสุดที่ 1.97 มัค เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2496 แมคดอนเนลล์ตรงเข้าหากองทัพเรือสหรัฐฯ พร้อมข้อเสนอสำหรับซูเปอร์ดีมอน ด้วยความไม่เหมือนใครเครื่องบินลำนี้สามารถใช้ได้หนึ่งหรือสองที่นั่งสำหรับภารกิจที่แตกต่างกันไป มีเรดาร์ กล้องถ่ายภาพ ปืนใหญ่ขนาด 20 ม.ม.สี่กระบอกหรือจรวดไม่วำวิถี 56 ลูกในเก้าตำบลทั้งใต้ปีกและใต้ลำตัว กองทัพเรือให้ความสนใจอย่างมากเพื่อเติมเต็ม เอฟ 3 เอช/จี/เอช แต่ก็รู้สึกว่ากรัมแมน เอ็กซ์เอฟ 9 เอฟ-9 และวอท เอ็กซ์เอฟ 8 ยู-1 ที่กำลังมาก็มีความเร็วเหนือเสียงอยู่แล้ว[23]
แบบของแมคดอนเนลล์ได้ถูกทำใหม่ให้เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีทุกสภาพอากาศพร้อมที่ติดตั้งอาวุธ 11 ตำบล และในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2497 บริษัทฯ ได้รับจดหมายที่แสดงความสนใจต้นแบบวายเอเอช-1 สองลำ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 นายทหารสี่นายจากกองทัพเรือได้มาถึงที่สำนักงานแมคดอนเนลล์ และภายในหนึ่งชั่วโมง พวกเขาได้แสดงความต้องการใหม่ทั้งหมดต่อบริษัทฯ เพราะว่ากองทัพเรือมีเครื่องเอ-4 สกายฮอว์คสำหรับการโจมตีภาคพื้นดิน และเอฟ-8 ครูเซเดอร์ สำหรับการต่อสู้ทางอากาศอยู่แล้ว โครงการจึงเปลี่ยนมาเพื่อเติมเต็มความต้องการเครื่องบินสกัดกั้นในทุกสภาพอากาศแทน โดยใช้ลูกเรือสองนายในการใช้เรดาร์ที่ทรงพลัง[2]
ต้นแบบ เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1
[แก้]เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1 ถูกออกแบบมาเพื่อบรรทุกขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์เอเอเอ็ม-เอ็น-6 สแปร์โรว์ 3 และใช้เครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-8 สองเครื่องยนต์ เช่นเดียวกับเอฟ-101 วูดูที่เครื่องยนต์อยู่ในระดับต่ำเพื่อเพิ่มความจุของเชื้อเพลิงและตักอากาศเข้าสู่ช่องรับลม ปีที่บางทำมุม 45° และติดตั้งระบบควบคุมสำหรับเพิ่มการควบคุมความเร็วในระดับต่ำ[24]
การทดสอบในอุโมงค์ลมได้เผยให้เห็นความไม่สเถียรที่ต้องการมุมปีกเพิ่มอีก 5°[25] เพื่อหลีกเลี่ยงการออกแบบใหม่ วิศวกรของแมคดอนเนลล์ได้เพิ่มมุมขึ้นอีก 12° ซึ่งเฉลี่ยแล้วก็เท่ากับ 5° ของปลายปีกทั้งสอง นอกจากนั้นปีกยังได้รับส่วนที่เรียกว่าเขี้ยวสุนัข (dogtooth) สำหรับเพิ่มมุมปะทะ ส่วนหางของเครื่องบินทั้งหมดถูกเลื่อนเพิ่มทำมุม 23° เพื่อให้ทำมุมปะทะได้ในขณะที่หางเองไม่ไปบังท่อไอเสีย[24] นอกจากนี้ที่รับลมถูกติดตั้งเข้าไปพร้อมส่วนลาดเอียงที่เคลื่อนที่ได้เพื่อควบคุมทิศทางการไหลเวียนของอากาศสู่เครื่องยนต์ในความเร็วเหนือเสียง ความสามารถในการเข้าสกัดกั้นทุกสภาพอากาศนั้นมาจากเรดาร์แบบ เอเอ็ม/เอพีคิว 50 เพื่อทำงานบนเรือบรรทุกเครื่องบินอุปกรณ์ลงจอดจึงได้ติดตั้งลงไปพร้อมอัตราจม 23 ฟุตต่อวินาที ในขณะที่ส่วนจมูกยืดอีก 20 นิ้ว (50 ซ.ม.) เพื่อเพิ่มมุมปะทะตอนวิ่งขึ้น[25]
การตั้งชื่อ
[แก้]ตอนแรกนั้นมีการเสนอชื่อให้ เอฟ 4 เอช เป็น"ซาตาน"และ"มิธราส"เทพแห่งแสงของเปอร์เซีย[26] สุดท้ายเครื่องบินก็ได้ชื่อ"แฟนท่อม 2" แฟนทอมแรกนั้น คือ เครื่องบินไอพ่นอีกแบบของแมคดอนเนลล์ คือเอฟเอช แฟนทอม แฟนท่อม 2 ถูกใช้ชื่อเอฟ-110 เอ และ"สเปกเตอร์"โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ใช้อย่างจริงจัง[27]
การทดสอบต้นแบบ
[แก้]ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2498 กองทัพเรือได้สั่งซื้อ เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1 สำหรับทดสอบจำนวนสองลำ และ วายเอฟ 4 เอช-1 ห้าลำ ที่เป็นการสั่งซื้อก่อนการผลิต แฟนทอมทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 พร้อม โรเบิร์ต ซีลิตเติล ผู้ควบคุม ปัญหาไฮดรอลิกของล้อลงจอดนั้นปรากฏขึ้นแต่ก่อนบินเที่ยวต่อๆ มาก็ราบรื่น การทดสอบก่อนหน้าทำให้เกิดการออกแบบช่องรับลมใหม่ รวมทั้งช่องปล่อยลมบนแผ่นลาด และไม่นานเครื่องบินก็เตรียมแข่งกับเอ็กซ์เอฟ 8 ยู-3 ครูเซเดอร์ 3 เนื่องมาจากปริมาณที่ทำงานได้ กองทัพเรือต้องการเครื่องบินสองที่นั่งและในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เอฟ 4 เอช ถูกประกาศว่าเป็นผู้ชนะ ความล่าช้าของเครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-8 หมายความว่าเครื่องบินในการผลิตครั้งแรกใช้เครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-2 และ -2เอ แทน ซึ่งแต่ละเครื่องให้กำลัง 16,100 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย ในปีพ.ศ. 2503 แฟนทอมเริ่มทำการทดสอบความเหมาะสมกับเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์[25]
การผลิต
[แก้]ในการผลิตช่วงแรกเรดาร์ถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นแบบ เอเอ็น/เอพีคิว-72 และห้องนักบินถูกดัดแปลงเพื่อเพิ่มทัศนวิสัย และทำให้ห้องนักบินส่วนหลังมีพื้นที่มากขึ้น[28] แฟนทอมประสบกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้มีแบบต่างๆ จำนวนมาก
กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้รับแฟนท่อมตามที่รัฐมนตรีกลาโหม โรเบิร์ต แมคนามาราได้ผลักดันให้มีการสร้างเครื่องบินที่เหมาะกับทุกกองทัพ หลังจากที่ เอฟ-4 บี ได้ชัยชนะใน"ปฏิบัติการไฮสปีด" (Operation Highspeed) เหนือคู่แข่งที่เป็นเอฟ-106 เดลต้า ดาร์ท กองทัพอากาศจึงได้ยืม เอฟ-4 บี ของกองทัพเรือมาสองลำ และใช้ชื่อว่าเอฟ-110 เอ สเปกเตอร์ชั่วคราวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2505 และได้เพิ่มความต้องการในแบบของพวกเขาเอง แฟนทอมไม่เหมือนกับของกองทัพเรือ ตรงที่กองทัพอากาศนั้นเน้นไปที่บทบาททิ้งระเบิด ด้วยการรวมชื่อของแมคนามาราเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 แฟนทอมได้กลายมาเป็น เอฟ-4 โดยที่กองทัพเรือเรียกมันว่า เอฟ-4 บี และกองทัพอากาศเรียกว่า เอฟ-4 ซี แฟนทอมของกองทัพอากาศทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 โดยทำความเร็วได้ 2 มัค ในการบินครั้งนั้น[29]
การผลิตแฟนท่อม 2 ในสหรัฐฯ สิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2522 หลังจากที่ผลิตออกมาได้ 5,195 ลำ (5,057 ลำผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส และ 138 ลำผลิตโดยมิตซูบิชิในญี่ปุ่น) ทำให้เป็นเครื่องบินอันดับสองที่ส่งออกและผลิตออกมามากที่สุดรองจากเอฟ-86 เซเบอร์ที่ยังคงเป็นเครื่องบินไอพ่นที่มีจำนวนมากที่สุดของสหรัฐฯ โดยมีจำนวน 2,874 ลำเป็นของกองทัพอากาศ 1,264 ลำเป็นของกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐฯ และของลูกค้าต่างชาติ[30] เอฟ-4 ลำสุดท้ายที่สร้างโดยสหรัฐฯ เป็นของตุรกี ในขณะที่ เอฟ-4 ลำท้ายสุดเสร็จในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นของอุตสาหกรรมมิตซูบิชิญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2551 มีแฟนทอม 631 ลำยังคงอยู่ในประจำการทั่วโลก</ref>[31] ในขณะที่แฟนทอมยังคงถูกใช้เป็นโดรนโดยกองทัพสหรัฐฯ
แบบต่างๆ
[แก้]- เอฟ-4 เอ, บี, เจ, เอ็น และเอส (F-4 A, B, J, N, S)
- แบบของกองทัพเรือและกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ เอฟ-4 บี ถูกพัฒนาเป็นเอฟ-4 เอ็น และเอฟ-4 เจ ถูกพัฒนาเป็นเอฟ-4 เอส
- เอฟ-110 สเปกเตอร์, เอฟ-4 ซี, ดี และอี (F-100, F-4 C, D, E)
- แบบของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เอฟ-4 อี เริ่มใช้เอ็ม61 วัลแคน เอฟ-4 ดี และอี เป็นแบบส่งออกที่กว้างขวาง
- เอฟ-4 จี ไวลด์วีเซล 5 (F-4G)
- แบบสำหรับการกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรูพร้อมเรดาร์และระบบอิเลคทรอนิกที่พัฒนาดัดแปลงมาจากเอฟ-4 อี
- เอฟ-4 เค และเอ็ม (F-4 K, M)
- แบบของกองทัพอังกฤษที่ดัดแปลงเครื่องยนต์เป็นของโรลส์รอยซ์แทน
- เอฟ-4 อีเจ (F-4EJ)
- เอฟ-4 อี รุ่นส่งออกและสร้างในญี่ปุ่น
- เอฟ-4 เอฟ (F-4F)
- เอฟ-4 อี ส่งออกสำหรับเยอรมนี
- คิวเอฟ-4 บี, อี, จี, เอ็น และเอส (QF-4 B, E, J, N, S)
- เครื่องบินที่ปลดประจำการ ที่ถูกดัดแปลงเป็นเป้าหมายควบคุมจากระยะไกลที่ใช้เพื่อการวิจัยระบบอาวุธและการป้องกัน
- อาร์เอฟ-4 บี, ซี, และอี (RF-4 B, C, E)
- แบบสำหรับภารกิจสอดแนมทางยุทธวิธี
รายละเอียด เอฟ-4 แฟนท่อม 2
[แก้]- ผู้สร้าง:บริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส (สหรัฐอเมริกา)
- ประเภท:เจ๊ตขัลไล่ครองอากาศและสนับสนุนหน่วยกำลังภาคพื้น 2 ที่นั่ง
- เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ็ต เยเนอรัล อีเล็คตริค เจ-79-ยีอี-17 เอ ให้แรงขับเครื่องละ 12,000 ปอนด์ และ 18,000 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย 2 เครื่อง
- กางปีก:11.77 เมตร
- ยาว:19.20 เมตร
- สูง:5.02 เมตร
- พื้นที่ปีก:49.2 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า:13,757 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นทำการรบ:18,818 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด:28,030 กิโลกรัม
- อัตราเร็วขั้นสูง:2.23 มัค ที่ระยะความสูง 40,000 ฟุต และ 1.2 มัค ที่ระยะความสูง 1,000 ฟุต
- รัศมีทำการรบ:1,266 กิโลเมตร เมื่อปฏิบัติภารกิจสกัดกั้น และ 795 กิโลเมตร เมื่อปฏิบัตภารกิจครองอากาศ
- เพดานการบิน:60,000 ฟุต
- อาวุธ:ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 61 เอ-1 ขนาด 20 มม. 1 กระบอกที่ลำตัวส่วนหัว
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ AIM-4ฟัลคอน(Falcon) เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ AIM-9ไซด์ไวน์เดอร์(Sidewinder)
- อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้น AGM-45ไซรค์(Shrike) AGM-62วอลล์อาย(Walleye) บูลพับ(Bullpup)
- ลูกระเบิดนิวเคลียร์แบบ บี-27,43,57,61 ลูกระเบิดทำลายแบบ เอ็มแอลยู-1ลูกระเบิดเพลิงแบบ บีแอลยู-1 27,52,76
- ลูกระเบิดพวง
- พลุส่องแสง
- กระเปาะจรวด กระเปาะต่อต้านข่าวกรองอีเล็คทรอนิคส์ กระเปาะบรรจุกล้องถ่ายภาพทางอากาศ
- ถังน้ำพ่นน้ำยาเคมี
- รวมน้ำหนักอาวุธ 7,250 กิโลกรัม ที่ใต้ลำตัว 5 ตำบล และ ใต้ปีกละ 2 ตำบล รวม 9 ตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เดิมทีได้ชื่อว่า เอเอช และต่อมาเป็น เอฟ 4 เอช เอฟ-4 ใช้ในปีพ.ศ. 2505 เมื่อมีการเปลี่ยนระบบบอกชื่อของกองทัพสหรัฐฯ ใน บ.แมคดอนเนลล์ ดักลาส เครื่องบินได้ชื่อว่าโมเดล 98
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th. Boeing. Retrieved: 19 January 2008.
- ↑ 4.0 4.1 Donald Spring 1991, p. 26.
- ↑ 5.0 5.1 Donald Summer 1991, p. 22.
- ↑ Carrara 2006, p. 48.
- ↑ F-4 Phantoms Phabulous 40th: First to Last. Boeing Integrated Defense Systems. Retrieved: 19 November 2007.
- ↑ F-4 Phantoms Phabulous 40th: Current Uses of Titanium: F-4 Boeing Integrated Defense Systems. 1971. "F-4B/C 1,006 lb. 7.7% of Structure, F-J/E 1,261 lb. 8.5% of Structure". Retrieved: 14 February 2008.
- ↑ Donald and Lake 1996, p. 268.
- ↑ Dorr and Donald 1990, p. 198.
- ↑ 11.0 11.1 Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th - Phantom "Phirsts". Boeing. Retrieved: 14 December 2007.
- ↑ Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th - World Record Holder. Boeing. Retrieved: 14 December 2007.
- ↑ McDonnell Douglas F-4D “Phantom II”. National Museum of the USAF. Retrieved: 20 January 2008
- ↑ Angelucci 1987, p. 310.
- ↑ Angelucci 1987, p. 312.
- ↑ Dorr and Bishop 1996, pp. 200–201.
- ↑ Dorr and Bishop 1996, pp. 188–189.
- ↑ Donald, David. Warplanes of the Fleet. London: AIRtime Publishing Inc., 2004. ISBN 1-880588-81-1.
- ↑ Thornborough and Davies 1994, p. 13.
- ↑ Thornborough and Davies 1994, p. 11.
- ↑ Dorr 2008, p. 61.
- ↑ F-4 Phantoms Phabulous 40th - Phantom Development 1978 Commemorative Book. Boeing Integrated Defense Systems. Retrieved 14 February 2008
- ↑ Lake 1992, p. 15.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Loftin, Laurence K. Quest for Performance: The Evolution of Modern Aircraft, เก็บถาวร 2006-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน SP-468. Washington, DC: National Aeronautics and Space Administration, History Office, Scientific and Technical Information Branch, 1985. Retrieved: 19 November 2007.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Donald and Lake 2002
- ↑ Kunsan Airbase F-4 Phantom II
- ↑ Angelucci 1987, p.316.
- ↑ Lake 1992, p. 21.
- ↑ Knaack 1978, p. 266.
- ↑ Integrated Defense Systems: F-4 Phantoms Phabulous 40th. Boeing. Retrieved: 22 May 2007.
- ↑ "DIRECTORY: WORLD AIR FORCES". Flight International, 11-17 November 2008.pp.52-76.
- ↑ อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522