เชียงใหม่เวิลด์
โครงการ | |
---|---|
สถานะ | เปิดใช้งานบางส่วน |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | เมืองเชียงใหม่ |
เชียงใหม่เวิลด์ (อังกฤษ: Chiang Mai World) เป็นแผนงานเมกะโปรเจกต์ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[1] โดยเป็นโครงการพัฒนาเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของทักษิณ ในฐานะมหานครลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ทักษิณได้ประกาศต่อชาวเชียงใหม่หลังได้เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "คนเชียงใหม่อยากได้อะไรขอให้ฝันสุด ๆ แล้วผมจะเนรมิตฝันให้เป็นจริง"[2]
เชียงใหม่เวิลด์มีโครงการย่อยทั้งหมดประมาณ 14 โครงการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- โครงการตามข้อสั่งการพิเศษของนายกรัฐมนตรี อาทิ โครงการสวนสัตว์กลางคืน, มหกรรมพืชสวนโลก, กระเช้าลอยฟ้า เป็นต้น
- โครงการปกติของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม อาทิ ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121 เป็นต้น
แม้การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 จะทำให้โครงการในภาพรวมสะดุดลง แต่หน่วยงานเจ้าของโครงการก็ยังคงผลักดันโครงการตามแผนงานนี้เรื่อยมาจนสำเร็จเสร็จสิ้นไปทีละโครงการจนถึงปัจจุบัน
รัฐบาลทักษิณได้กำหนดให้เชียงใหม่เวิลด์เป็นนโยบายเร่งด่วน โครงการกลุ่มแรกที่เกิดขึ้นในยุคทักษิณต่างใช้ระบบ Fast Track ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงมาก จะเพิ่มหรือตัดรายละเอียดส่วนไหนออกได้ตามต้องการโดยไม่ต้องมีแผนแม่บทที่ชัดเจน ส่วนไหนออกแบบเสร็จก่อนก็ก่อสร้างได้เลยโดยไม่ต้องรอแผนงานรวม โครงการในกลุ่มนี้เดินหน้าได้เร็วมาก จนกลุ่มนักวิชาการออกมาอ้างว่า "ตัวโครงการจึงจับต้องไม่ได้ จนสังคมไม่สามารถศึกษาได้ว่าเขาจะทำอะไร มีผลกระทบขนาดไหน"[3] โครงการไนท์ซาฟารีและมหกรรมพืชสวนโลกใช้เวลาทั้งหมดเพียง 2 ปีก็แล้วเสร็จนับตั้งแต่วันแรกที่ทักษิณประกาศ
รายชื่อโครงการ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มีนาคม 2024) |
โครงการกลุ่มข้อสั่งการพิเศษ
[แก้]โครงการที่สำเร็จลุล่วง
[แก้]- เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี – มูลค่า 1,155 ล้านบาท[4] แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549
- มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอุทยานหลวงราชพฤกษ์) – มูลค่า 2,404 ล้านบาท[5] แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2549
- ศูนย์สินค้าเกษตรภาคเหนือ – มูลค่า 314 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2550
- เชียงใหม่ ซู อควาเรียม – มูลค่า 600 ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2551
- ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่ – มูลค่า 3,024 ล้านบาท[6] แล้วเสร็จ พ.ศ. 2556
- อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ – มูลค่า 652 ล้านบาท[7] แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2561 (ถูกลดขนาดของโครงการลงจากแผนตั้งต้น)
โครงการปกติของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงาน "พลเมืองเหนือ" : เชียงใหม่ใต้เงาทักษิณ สู่มหานคร "โตเดี่ยว" และ "เปลี่ยนไป" ประชาไท. 12 พฤษภาคม 2548
- ↑ เชียงใหม่ปัดฝุ่นเมกะโปรเจกต์ยุคทักษิณอีกครั้ง. เชียงใหม่ธุรกิจ. 20 ธันวาคม 2555
- ↑ เมื่อเมกะโปรเจกต์เชียงใหม่ถูกตรวจสอบ หลังกรรมการสิทธิฯ ‘On Tour’ พบภาคีฮักเจียงใหม่ ประชาไท. 19 ตุลาคม 2549
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 28 ตุลาคม 2546 อนุมัติงบประมาณโครงการ "เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี" วงเงิน 1,155.90 ล้านบาท ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ↑ 2,404 ล้านกับการเนรมิต มหกรรมพืชสวนโลก ราชพฤกษ์"49. มติชน 17 มิถุนายน 2549
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 29 กรกฎาคม 2551 อนุมัติวงเงินงบประมาณเบื้องต้นจำนวน 2,369,746,695.44 บาท และงบประมาณที่ได้รับเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี 15 พฤศจิกายน 2554
- ↑ เป็นค่าก่อสร้างอาคาร 497 ล้านบาท และโรงงานต้นแบบนวัตกรรมอาหาร 155 ล้านบาท