เกาะปู (จังหวัดกระบี่)
ปูเลากระจั๊บ | |
---|---|
เกาะปู | |
ชื่ออื่น | เกาะจำ |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | ทะเลอันดามัน |
พิกัด | 7°49′24″N 98°58′14″E / 7.8234192°N 98.9705756°E |
ประเภท | เกาะริมทวีป |
กลุ่มเกาะ | กลุ่มเกาะปู |
พื้นที่ | 19.28 ตารางกิโลเมตร (7.44 ตารางไมล์) |
ความยาว | 9.4 กม. (5.84 ไมล์) |
ความกว้าง | 3.5 กม. (2.17 ไมล์) |
ระดับสูงสุด | 403 ม. (1322 ฟุต) |
จุดสูงสุด | ผาแดง |
การปกครอง | |
จังหวัด | กระบี่ |
อำเภอ | เหนือคลอง |
ตำบล | เกาะศรีบอยา |
หมู่บ้าน | บ้านเกาะปู บ้านเกาะจำ บ้านติงไหร |
หมู่บ้านใหญ่สุด | บ้านเกาะปู (ประชากร 1,272 คน) |
ประชากรศาสตร์ | |
เดมะนิม | ชาวเกาะปู |
ประชากร | 3,144 คน (2565) |
ภาษา | อูรักลาโวยจ, หมิ่นใต้, มลายูปัตตานี, ไทยถิ่นใต้, ไทย |
กลุ่มชาติพันธุ์ | อูรักลาโวยจ, ไทยเชื้อสายจีน, ไทยเชื้อสายมลายู |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เขตเวลา | |
รหัสไปรษณีย์ | 81130 |
ทะเบียนรถ | กระบี่ |
เกาะปู หรือ เกาะจำ บ้างเขียน เกาะจัม เป็นเกาะในตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เกาะมีความกว้าง 3.5 กิโลเมตร ยาว 9.4 กิโลเมตร เนื้อที่ 19.8 ตารางกิโลเมตร สูง 403 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะโต๊ะลัง ระยะห่าง 240 เมตร[1]
ในแผนที่แบ่งเกาะเป็นสองส่วน เกาะจำเป็นพื้นที่ช่วงกลางไปจนถึงทางใต้สุดของเกาะ ส่วนพื้นที่ตอนเหนือของเกาะที่ถูกคั่นด้วยคลองคล้าเรียกว่า "เกาะปู" เล่ากันว่า เดิมเกาะแห่งนี้เรียกว่า "เกาะปู" ส่วนเกาะจำคือเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า เกาะจำนุ้ย แต่เดิมมีหมู่บ้านชาวเลอยู่บนเกาะจำนุ้ย แต่ภายหลังเกิดโรคระบาด ชาวเลจึงอพยพมาอยู่ทางตอนใต้ของเกาะปูและเรียกบริเวณใหม่ที่ย้ายไปอยู่ว่า "เกาะจำ" จึงทำให้เกาะนี้เรียกสองชื่อ[2]
ที่มาของชื่อ "เกาะจำ" ภาษาชาวเลเรียกว่า "ปูเลากระจั๊บ" ปูเลา หมายถึง เกาะ ส่วนกะจั๊บ คือต้นจาก เนื่องจากเดิมเกาะนี้มีต้นจากขึ้นอยู่มาก สามารถนำมาทำ "ตับจาก" เพื่อใช้มุงหลังคาได้ สันนิษฐานว่าคำว่า เกาะจำคงเพี้ยนมาจาก "กะจั๊บ" อีกข้อสันนิษฐานคือ บริเวณบ้านเกาะจำแห่งใหม่ที่ชาวเลอพยพไปอยู่นั้น มีชื่อเรียกว่า "ปูเลาลักอะค้อย" แปลว่า "เกาะนกออก" เป็นนกทะเลชนิดหนึ่งที่อาศัยบนเกาะนี้เป็นประจำ ชาวเลจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "เกาะจำ"[3]
เกาะจำมีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านเกาะปู หมู่บ้านเกาะจำ และหมู่บ้านติงไหร ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงทำสวนยางพารา และด้านการท่องเที่ยว มีรีสอร์ตและบังกะโล[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ (อักษร น-ม) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : เดอะ เบสท์ เพรส แอนด์ ครีเอชั่น, ๒๕๖๐. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
- ↑ ""เกาะจำ" เกาะสวยแสนสงบ ฝรั่งชอบใจ คนไทยไม่รู้จัก". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "ประวัติเกาะปู-เกาะจำ".
- ↑ "เกาะจำ". องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาน.