ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอท่าม่วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอท่าม่วง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Muang
หมู่บ้านม่วงชุม มุมมองจากวัดถ้ำเสือ
หมู่บ้านม่วงชุม มุมมองจากวัดถ้ำเสือ
คำขวัญ: 
ท่าม่วงเมืองคนดี มีวัดสวย รวยความหวาน ชลประทานเยี่ยม สวยเรี่ยมผ้าทอ นวลลอองามแท้ อาบน้ำแร่วัดวังขนาย
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอท่าม่วง
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอท่าม่วง
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด610.97 ตร.กม. (235.90 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด109,507 คน
 • ความหนาแน่น179.24 คน/ตร.กม. (464.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71110,
71000 (เฉพาะหมู่ที่ 1-2 ตำบลท่าล้อ),
71130 (เฉพาะตำบลท่าตะคร้อและหมู่ที่ 3, 6 ตำบลวังศาลา)
รหัสภูมิศาสตร์7106
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าม่วง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 71110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าม่วง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอท่าม่วงตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อำเภอท่าม่วงจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 ที่บ้านท่าไม้รวก ตำบลม่วงชุมในปัจจุบัน โดยเริ่มแรกเนื่องจากอำเภอที่ตั้งขึ้นมีอาณาเขตติดต่อกับ "วัดใต้" (วัดมโนธรรมารามในปัจจุบัน) จึงตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอใต้ ต่อมาความเจริญของลำน้ำเปลี่ยนไป ประชาชนอพยพลงมาทางใต้ เพราะบริเวณท่าไม้รวกเดิมเป็นลำน้ำคด ไม่สะดวกในการสัญจรของเรือ แพ จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่บริเวณใกล้กับวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง และตั้งชื่ออำเภอใหม่ว่า อำเภอวังขนาย

ต่อมา พระวรภักดิ์พิบูลย์ นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าอำเภอนี้ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะอำเภอตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าม่วงและอยู่ท้ายตลาดท่าม่วงซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จึงขออนุญาตเปลี่ยนชื่อจากอำเภอวังขนายเป็น อำเภอท่าม่วง ตามชื่อตำบลที่ตั้ง โดยมีผลตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2482 จากนั้นในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบัน เนื่องจากอาคารที่ว่าการอำเภอเดิมมีขนาดเล็กคับแคบและชำรุดทรุดโทรม ไม่สามารถขยายได้

  • วันที่ 1 มีนาคม 2467 โอนพื้นที่ตำบลวังศาลา อำเภอท่ามะกา ไปขึ้นกับ อำเภอวังขนาย[1]
  • วันที่ 31 มกราคม 2474 ยุบตำบลหนองขาวดอนประดู่ รวมกับตำบลหนองขาวบ้านกล้วย อำเภอวังขนาย และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบล เป็น ตำบลหนองขาว[2]
  • วันที่ 28 มีนาคม 2480 โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าม่วง ไปขึ้นกับตำบลม่วงชุม และโอนพื้นที่หมู่ 7,8 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าม่วง ไปขึ้นกับตำบลทุ่งทอง[3]
  • วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2482 โอนหมู่บ้านหนองสี่พระยา ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอท่าม่วง ไปขึ้นกับตำบลหนองสำโรง อำเภอเมืองกาญจนบุรี[4]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี เป็น อำเภอท่าม่วง[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลวังขนาย แยกออกจากตำบลท่าม่วง ตั้งตำบลทุ่งทอง แยกออกจากตำบลท่าม่วง ตั้งตำบลท่าตะคร้อ แยกออกจากตำบลพังตรุ ตั้งตำบลม่วงชุม แยกออกจากตำบลเขาน้อย[6]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าม่วง ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าม่วง[7]
  • วันที่ 31 มกราคม 2504 โอนพื้นที่หมู่ 4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลพังตรุ ไปตั้งเป็นหมู่ 6,7 ของตำบลท่าตะคร้อ[8]
  • วันที่ 18 ธันวาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลสำรอง ในท้องที่บางส่วนของตำบลพังตรุ[9]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2510 ก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ และวางศิลาฤกษ์
  • วันที่ 24 มิถุนายน 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองขาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองขาว[10]
  • วันที่ 22 กันยายน 2513 ตั้งตำบลหนองตากยา แยกออกจากตำบลพังตรุ และตำบลบ้านใหม่[11]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2515 ตั้งศูนย์การฝึก กรมการขนส่งทหารบก[12]
  • วันที่ 5 กันยายน 2517 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี เพื่อประโยชน์ในการบริหารกิจการ และการทะนุบำรุงท้องถิ่น[13] โดยขยายเขตเทศบาลเมืองเข้าเขตท้องที่บางส่วนในตำบลท่าล้อ
  • วันที่ 31 มกราคม 2527 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสำรอง เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการ และการทะนุบำรุงท้องถิ่น[14]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม 2532 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองตากยา ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองตากยา[15]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าม่วง สุขาภิบาลสำรอง สุขาภิบาลหนองขาว และสุขาภิบาลหนองตากยา เป็น เทศบาลตำบลท่าม่วงเทศบาลตำบลสำรอง เทศบาลตำบลหนองขาว และเทศบาลตำบลหนองตากยา ตามลำดับ
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2544 เปลี่ยนแปลงชื่อเขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี เป็น เขื่อนแม่กลอง

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอท่าม่วงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 120 หมู่บ้าน

1. ท่าม่วง (Tha Muang) 5 หมู่บ้าน 8. ม่วงชุม (Muang Chum) 5 หมู่บ้าน
2. วังขนาย (Wang Khanai) 7 หมู่บ้าน 9. บ้านใหม่ (Ban Mai) 11 หมู่บ้าน
3. วังศาลา (Wang Sala) 10 หมู่บ้าน 10. พังตรุ (Phang Tru) 9 หมู่บ้าน
4. ท่าล้อ (Tha Lo) 6 หมู่บ้าน 11. ท่าตะคร้อ (Tha Takhro) 7 หมู่บ้าน
5. หนองขาว (Nong Khao) 13 หมู่บ้าน 12. รางสาลี่ (Rang Sali) 15 หมู่บ้าน
6. ทุ่งทอง (Thung Thong) 8 หมู่บ้าน 13. หนองตากยา (Nong Tak Ya) 16 หมู่บ้าน
7. เขาน้อย (Khao Noi) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอท่าม่วงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าล้อ (เฉพาะบางส่วนของพื้นที่หมู่ 1) รวมถึงตำบลบ้านเหนือทั้งตำบล ตำบลบ้านใต้ทั้งตำบล บางส่วนของตำบลท่ามะขาม และบางส่วนของตำบลปากแพรก ในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี
  • เทศบาลตำบลท่าม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าม่วง (เฉพาะพื้นที่หมู่ 2–3 และบางส่วนของหมู่ 1)
  • เทศบาลตำบลสำรอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังตรุ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1, 3)
  • เทศบาลตำบลหนองขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขาว (เฉพาะพื้นที่หมู่ 4–5, 8–10, 12 และบางส่วนของหมู่ 1–3)
  • เทศบาลตำบลหนองตากยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตากยา (เฉพาะพื้นที่บางส่วนของหมู่ 1, 4–5, 7–15)
  • เทศบาลตำบลวังขนาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังขนายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลวังศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังศาลาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าล้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าล้อ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี)
  • เทศบาลตำบลม่วงชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงชุมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขาว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองขาว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าม่วง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าม่วง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพังตรุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังตรุ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสำรอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะคร้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตะคร้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรางสาลี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรางสาลี่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตากยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตากยา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองตากยา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1]ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลวังศาลา ท้องที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดราชบุรี ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี
  2. [2]ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลหนองขาว อำเภอวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งยุบมาตั้งขึ้นใหม่
  3. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอวังขนาย จังหวัดกาญจนบุรี
  4. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี
  5. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). Royal Gazette. 56 (0 ก): 354–364. April 17 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-15. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. [5] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  7. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
  8. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
  9. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสำรอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
  10. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
  11. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
  12. [11]ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙๕ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๙๗ กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อสร้างศูนย์ฝึกพลขับของกองทัพบก ]
  13. [12]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๑๗
  14. [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสำรอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
  15. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]