ข้ามไปเนื้อหา

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์
แม่พระอัสสัมชัญ
อัสสัมชัญ โดยทิเชียน, 1516–1518
ชื่ออื่น
  • อัสสัมชัญ
  • พิธีฉลองพระนางพรหมจารีย์มารี พระมารดาของพระเจ้า[1]
  • การหลับใหลของแม่พระ[2]
จัดขึ้นโดย
ประเภทศาสนาคริสต์
ความสำคัญการขึ้นสวรรค์ทั้งเป็นของพระนางมารีย์พรหมจารี
การถือปฏิบัติพิธีมิสซา
วันที่15 สิงหาคม
ความถี่ประจำปี

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์[3] (หรือชื่อภาษาไทยอื่น ๆ เช่น พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์[4] หรือ พระแม่มารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ) หรือ อัสสัมชัญ (อังกฤษ: Assumption of Mary หรือชื่อเต็ม Assumption of the Blessed Virgin Mary) ในคติของคริสตจักรโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์, ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์, คริสตจักรตะวันออก และบางคณะของแองโกล–คาทอลิก หมายถึงการยกกายและวิญญาณของพระนางมารีย์พรหมจารีขึ้นสวรรค์ ถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตบนโลกของแม่พระ การเฉลิมฉลองเทียบเท่ากันในคริสตจักรตะวันออกเรียกว่าการบรรทมของแม่พระ (Dormition)

การเฉลิมฉลองแม่พระรับยกขึ้นสวรรค์หรือวันอัสสัมชัญเป็นวันฉลองนักบุญที่สำคัญในคริสตจักรที่เฉลิมฉลองพระแม่ โดยทั่วไปตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ในหลายพื้นที่ของโลก นิกายคาทอลิกกำหนดให้วันนี้เป็นวันฉลองบังคับ การถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะเป็นที่พบได้ทั่วไปในศิลปะคริสต์ พบมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12

ตามคำสอนต้องเชื่อของโรมันคาทอลิกระบุว่าแม่พระทรง "สิ้นสุดช่วงชีวิตบนโลกใบนี้ และได้รับการยก (assumed) ทั้งกายและวิญญาณเข้าสู่ความรุ่งโรจน์นิรันดร์ในสวรรค์"[5] ตามที่กำหนดไว้โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1950 ในธรรมนูญพระสันตะปาปา Munificentissimus Deus ภายใต้หลักพระสันตะปาปาย่อมทรงไม่ผิดพลาด[6] ในขณะที่คริสตจักรคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เขื่อว่าเป็นการนอนหลับ (Dormition หรือ "การนอนหลับของแม่พระ")[7]

ศัพทมูล

[แก้]

คำว่า "assumption" มาจากภาษาอังกฤษยุคกลาง "assumpcioun" แปลว่า "การยกขึ้นสวรรค์" (a taking up into heaven) และมาจากภาษาละติน "assumptio" แปลว่า "การยก" (taking)[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Episcopal Advance. Vol. 99–101. Episcopal Diocese of Chicago. February 1970. On the fifteenth of August, the Feast of Saint Mary the Virgin, Mother of Our Lord Jesus Christ, the Episcopal Church prays: "O God, you have taken to yourself the blessed Virgin Mary, mother of your incarnate Son: Grant that we, who have been redeemed by his blood, may share with her the glory of your eternal kingdom; through Jesus Christ our Lord, who lives and reigns with you, in the unity of the Holy Spirit, one God, now and for ever. Amen.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PrayerBook
  3. สมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เก็บถาวร 2010-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ก.ย. พ.ศ. 2555
  4. สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ฯ[ลิงก์เสีย], ศูนย์วรรณกรรมซาเลเซียนแห่งประเทศไทย, เรียกข้อมูลวันที่ 25 ก.ค. พ.ศ. 2554
  5. Pope Pius XII: "Munificentissimus Deus – Defining the Dogma of the Assumption" เก็บถาวร 4 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, par. 44. Vatican, 1 November 1950
  6. Encyclopedia of Catholicism by Frank K. Flinn, J. Gordon Melton 207 ISBN 0-8160-5455-X p. 267
  7. Munificentissimus Deus, 17 เก็บถาวร 4 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. "Encyclo - Webster's Revised Unabridged Dictionary (1913)". www.encyclo.co.uk.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Duggan, Paul E. (1989). The Assumption Dogma: Some Reactions and Ecumenical Implications in the Thought of English-speaking Theologians. Emerson Press, Cleveland, Ohio.
  • Mimouni, Simon Claude (1995). Dormition et assomption de Marie: Histoire des traditions anciennes. Beauchesne, Paris.
  • Salvador-Gonzalez, José-María (2019). "Musical Resonanes in the Assumption of Mary and Their Reflection in the Italian Trecento and Quattrocento Painting". Music in Art: International Journal for Music Iconography. 44 (1–2): 79–96. ISSN 1522-7464.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]