สิบมหาอาคาร
สิบมหาอาคาร (จีน: 十大建筑) เป็นโครงการก่อสร้างอาคารสาธารณะ 10 แห่งในกรุงปักกิ่งเมื่อปี ค.ศ. 1959 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน อาคารเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าของประธานเหมา เจ๋อตง โดยอาคารส่วนใหญ่แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 10 เดือนตามกำหนดเส้นตายในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1959[1] นอกเหนือจากการก่อสร้างอาคารเหล่านี้แล้ว ยังมีการขยายพื้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน[1] และการรณรงค์มอบหมายงานศิลปะเพื่อตกแต่งอาคารส่วนใหญ่ให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดเวลาอีกด้วย มีการรณรงค์ทางศิลปะสำหรับอาคารเหล่านี้เพิ่มเติมอีกสองครั้งในปี ค.ศ. 1961 และ ค.ศ. 1964–65[2]
อาคารเหล่านี้ได้รับการออกแบบโดยคณะบุคลากรจากสถาบันออกแบบสถาปัตยกรรมปักกิ่ง ทำงานร่วมกับสำนักงานวางแผนปักกิ่งและกระทรวงการก่อสร้าง[3] สถาปนิกได้ผสมผสานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมพื้นฐานสามแบบเข้าด้วยกันอย่างเรียบง่าย ได้แก่ สมัยใหม่แบบสากล (International Style) สัจนิยมสังคมนิยม (Socialist Realism) ที่แสดงออกในสถาปัตยกรรมสตาลิน และรูปแบบประวัติศาสตร์นิยมที่อิงจากสถาปัตยกรรมจีนดั้งเดิม[3]
โครงการสิบมหาอาคารได้เปลี่ยนโฉมกรุงปักกิ่ง อาคารใหม่เหล่านี้ซึ่งสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ทันสมัย ได้ช่วยสร้างและเผยแพร่ภาพลักษณ์ของ "จีนใหม่" ในวิสัยทัศน์ของเหมา เจ๋อตง โครงการดังกล่าวได้นิยามกรุงปักกิ่งขึ้นใหม่ให้เป็นเมืองที่ทันสมัยและร่วมสมัย เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์สังคมนิยมระหว่างประเทศในอนาคต และยังคงเป็นเอกลักษณ์ของจีนอย่างชัดเจน ที่สำคัญที่สุดคือการทำให้กรุงปักกิ่งเปรียบเสมือนเมืองหลวงของมหาอำนาจระดับโลกอื่น ๆ เช่น ลอนดอน วอชิงตัน ดี.ซี. และมอสโก[2]
ในช่วงหลังมานี้ มีการรวบรวมรายชื่ออาคารสำคัญสิบแห่งของกรุงปักกิ่งที่สร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980, 1990 และ 2000 (จนถึงปัจจุบัน) อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารายชื่อดั้งเดิมในปี ค.ศ. 1959 จะยังคงได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบและนิยามที่ชัดเจนของแนวคิดนี้
อาคาร
[แก้]อาคารทั้ง 10 แห่ง ได้แก่[4][5]
- มหาศาลาประชาชน – ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นสถานที่ประชุมของสภาประชาชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดของจีน และใช้สำหรับพิธีการอื่น ๆ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน – เดิมชื่อพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติจีน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน[6]
- วังวัฒนธรรมแห่งชาติ – ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของถนนฉางอานตะวันตก เป็นอาคารขนาดกลางที่ผสมผสานองค์ประกอบการออกแบบแบบดั้งเดิมของจีน ได้รับรางวัลมากมายในฐานะตัวอย่างของการออกแบบสไตล์จีนสมัยใหม่[7]
- สถานีรถไฟปักกิ่ง – ออกแบบโดยสถาปนิก หยาง ถิงเป่า และเฉิน เติ้งอ้าว เคยเป็นสถานีรถไฟโดยสารสมัยใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในจีน[8] ให้บริการรถไฟภายในประเทศและระหว่างประเทศหลายสาย รวมถึงบริการไปยังมอสโก อูลานบาตาร์ และเปียงยาง[9] สร้างขึ้นเพื่อทดแทนสถานีรถไฟปักกิ่งเดิมที่เฉียนเหมิน ใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1901[10]
- สนามกีฬาผู้ใช้แรงงาน – เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ เคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งแรกของจีน ได้รับการปรับปรุงครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 2004 ปัจจุบันมีความจุ 66,161 ที่นั่ง[11] ถูกทุบทิ้งในปี ค.ศ. 2020 และสร้างขึ้นใหม่เป็นสนามฟุตบอลเฉพาะทางในปี ค.ศ. 2022
- หอนิทรรศการเกษตรแห่งชาติ – นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล เป็นผู้กำกับดูแลการวางแผนอาคารนี้ ใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1959 เพื่อจัดแสดงนิทรรศการความสำเร็จด้านการเกษตรแห่งชาติครบรอบ 10 ปี[12]
- บ้านรับรองเตี้ยวยฺหวีไถ – กลุ่มโรงแรมและบ้านรับรองที่สร้างอยู่บนพื้นที่ของสวนอายุ 800 ปีย้อนกลับไปถึงราชวงศ์จิน ผสมผสานองค์ประกอบการออกแบบสถาปัตยกรรมสวนจีนแบบดั้งเดิม[13][14]เดิมสงวนไว้สำหรับบุคคลสำคัญและเจ้าหน้าที่พรรคที่มาเยือน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจียง ชิง ภรรยาของเหมา เจ๋อตง) ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนเข้าชม
- โรงแรมหมินจู๋ – ตั้งอยู่บนถนนฉางอานตะวันตก เคยเป็นเจ้าภาพให้กับคณะผู้แทนต่างประเทศจำนวนมาก และมักใช้สำหรับการแถลงข่าว[15]
- โรงแรมชาวจีนโพ้นทะเล – โรงแรมชาวจีนโพ้นทะเลเดิมถูกทุบทิ้งในทศวรรษที่ 1990[16] อาคารใหม่บนพื้นที่เดียวกันปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเครือโรงแรมไพรม์[17]
- พิพิธภัณฑ์ทหารปฏิวัติประชาชนจีน – ตั้งอยู่บนถนนฟู่ซิง ในกรุงปักกิ่ง เป็นพิพิธภัณฑ์สงครามขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวในจีน การจัดแสดงเน้นไปที่สงครามในศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะสงครามกลางเมืองจีน แต่ยังครอบคลุมถึงสงครามและอาวุธโบราณและสมัยใหม่อื่น ๆ[18] อาคารหลักสูง 7 ชั้นที่ตรงกลางและมียอดแหลม ปีกด้านข้างทียื่นออกไปทั้งสองข้างสูง 4 ชั้น[19]
สถาปัตยกรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Roderick MacFarquhar. The Origins of the Cultural Revolution. Columbia University Press. 1983. v. II, p. 367. ISBN 0-231-05717-2
- ↑ 2.0 2.1 Julia F. Andrews. Painters and Politics in the People's Republic of China, 1949–1979. University of California Press. 1995.
- ↑ 3.0 3.1 Peter G. Rowe, Seng Kuan. Architectural Encounters With Essence and Form in Modern China. MIT Press. 2002. ISBN 0-262-68151-X
- ↑ The People's Daily. 聚焦中国55年:北京的十大建筑 (Focus on China's 55 years: the Ten Great Buildings of Beijing) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ Beijing People's Government. 首都之窗 – 十大建筑 (Beijing Official Website – Ten Great Buildings) เก็บถาวร 2008-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:中国革命历史博物馆 ("Ten Great Buildings": China Revolutionary History Museum) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:民族文化宫 ("Ten Great Buildings": Nationalities Cultural Palace) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:北京火车站 ("Ten Great Buildings": Beijing Railway Station) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ Beijing railway station, 北京站 – 历史的回顾 (Beijing Station – Looking back on history) เก็บถาวร 2007-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Beijing railway station, 北京站 – 车站概况 (Beijing Station – Station overview) เก็บถาวร 2008-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:北京工人体育场 ("Ten Great Buildings": Beijing Workers' Stadium) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:全国农业展览馆 ("Ten Great Buildings": National Agriculture Exhibition Hall) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:钓鱼台国宾馆 ("Ten Great Buildings": Diaoyutai State Guesthouse) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ Diaoyutai State Guesthouse. 楼苑详介 (Building details) เก็บถาวร 2007-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:民族饭店 ("Ten Great Buildings": Minzu Hotel) เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ The People's Daily. “十大建筑”:华侨大厦 ("Ten Great Buildings": Overseas Chinese Hotel) เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2004-09-30.
- ↑ Prime Hotel. Prime Hotel Beijing เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Beijing People's Government. 首都之窗 – 中国革命军事博物馆 (Beijing Official Website – Chinese People's Revolutionary Military Museum) เก็บถาวร 2008-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ People's Liberation Army Daily. 军事博物馆简介 (Introduction to the Military Museum) เก็บถาวร 2007-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน