สถานีบางขุนนนท์
บางขุนนนท์ BL04 Bang Khun Non | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มองจากถนนจรัญสนิทวงศ์ฝั่งทางรถไฟทางไกล | |||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°45′48″N 100°28′24″E / 13.7633°N 100.4732°E | ||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | ||||||||||||||||||||||
สาย | สายเฉลิมรัชมงคล สายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง) | ||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ บางขุนนนท์ (โครงการ) | ||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | สายสีน้ำเงิน: BL04 สายสีส้ม: OR02 (กำลังก่อสร้าง) | ||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562[1] | ||||||||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||||||||
2564 | 1,087,281 | ||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
|
สถานีบางขุนนนท์ (อังกฤษ: Bang Khun Non Station, รหัส BL04) เป็นสถานีรถไฟฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มในอนาคต[2] โดยสถานีตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนสุทธาวาส ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ ระหว่างสี่แยกบางขุนนนท์ (จุดบรรจบถนนจรัญสนิทวงศ์, ถนนบางขุนนนท์ และซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 หรือซอยวัดสุวรรณาราม ทางเข้าสำนักงานเขตบางกอกน้อย) และจุดตัดทางรถไฟสายตะวันตก ทางแยกถนนสุทธาวาส และถนนเลียบทางรถไฟตัดใหม่ (บางขุนนนท์-สถานีชุมทางตลิ่งชัน) ส่วนสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตั้งอยู่ใต้ถนนเลียบทางรถไฟตัดใหม่ ใกล้กับป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ในพื้นที่แขวงบางขุนนนท์, แขวงบางขุนศรี และแขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
แผนผังสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ | |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางซื่อ) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนจรัญสนิทวงศ์, แยกบางขุนนนท์, ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ |
รายละเอียดสถานี
[แก้]สัญลักษณ์ของสถานี
[แก้]ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีน้ำเงินเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีเชื่อมต่อระบบ กับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ในอนาคต)
รูปแบบของสถานี
[แก้]สถานีของสายเฉลิมรัชมงคลเป็นสถานียกระดับ ชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform) ส่วนสถานีของสายสีส้มเป็นสถานีใต้ดินในแนวตัดขวางตามแนวถนนสุทธาวาส ใช้ชานชาลากลางเนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง
เหนือชานชาลาและรางรถไฟของสถานีมีสะพานเหล็กข้ามสำหรับใช้ในงานแห่พระบรมสารีริกธาตุหรือประเพณีชักพระของวัดนางชี ที่มีขึ้นทุกปีในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 เนื่องจากตามประเพณีฯ การแห่ฯ จะล่องเรืออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปตามคลองด่านและคลองบางกอกใหญ่ เมื่อขบวนแห่จะผ่านสะพานแห่งใด ก็จะอัญเชิญฯ ขึ้นเหนือสะพานโดยใช้การชักรอกก่อนจะหย่อนกลับลงเรือที่จอดรออีกฟากของสะพาน ซึ่งด้านปลายของสะพานในสถานีจะมีอุปกรณ์ชักรอกขึ้นไปด้วยเช่นกัน[3][4]
ทางเข้า-ออกสถานี
[แก้]- 1 ถนนสุทธาวาส, วัดสุทธาวาส, ตลาดศาลาน้ำเย็น, ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ (ลิฟต์)
- 2 ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน, จุดเชื่อมต่อป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ (ลิฟต์)
- 3 สำนักงานเขตบางกอกน้อย, ถนนบางขุนนนท์
- 4 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี
[แก้]- 3 ชั้นชานชาลา
- 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร และพื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนในอนาคต
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[5] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ - ศุกร์ | 05:43 | 23:17 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
06:02 | 23:17 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | - | 23:08 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ | จันทร์ - ศุกร์ | 05:47 | 00:20 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:56 | 00:20 |
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
[แก้]- รถไฟทางไกลสายตะวันตก เชื่อมต่อที่ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]ถนนจรัญสนิทวงศ์
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
68 (3) | อู่แสมดำ | บางลำพู | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
สมุทรสาคร | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||||
80 (1) | วัดศรีนวลธรรมวิมล | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
สน.หนองแขม | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | รถบริการตลอดคืน | |||
189 (1) | กระทุ่มแบน (วัดบางยาง) | ||||
198 (3) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) | BTS บางหว้า | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ผ่านสถานีเฉพาะขาไปบางขุนนท์ฝั่งเดียว มีรถให้บริการน้อย | |
509 (2) | อู่บรมราชชนนี | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) |
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ (มุ่งหน้าแยกบางขุนนนท์) : สาย 40 42(4-10) 56 57 68 80 108 175 189 198 509
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ (มุ่งหน้าแยกไฟฉาย) : สาย 40 42 56 57 68 80 108 175 189 509
- ถนนบางขุนนนท์ : สาย 57 79 รถสองแถวสายศิริราช - บางขุนนนท์ และ ตลาดบางขุนศรี - สวนผัก
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- วัดสุทธาวาส
- วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
- วัดใหม่ยายแป้น
- ป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์
- ตลาดศาลาน้ำเย็น
- สำนักงานเขตบางกอกน้อย
- สถานีตำรวจนครบาลบางกอกน้อย
- โรงงานผลิตน้ำธนบุรี และสำนักงานประปาสาขาบางกอกน้อย การประปานครหลวง
- ตลาดบางขุนศรี
- แม็คโคร สาขา จรัญสนิทวงศ์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัลสนิทวงศ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "MRT สีน้ำเงิน เปิดครบทุกสถานี นั่งฟรีถึงปีหน้า". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23.
- ↑ "สถานีบางขุนนนท์ จุดเชื่อมต่อแห่งอนาคต". เรนเดอร์ไทยแลนด์ดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-15. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รฟม. ร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระวัดนางชี ส่งเสริม–อนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า". BLT Bangkok. กรุงเทพมหานคร: BLT Bangkok. 2019-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
- ↑ "โครงสร้างที่ใช้รองรับรอกไฟฟ้า เพื่อใช้ใน "งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ" หรือ "งานชักพระวัดนางชี"". BKKTrains. 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่จากเว็บไซต์บีอีเอ็ม เก็บถาวร 2021-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน