วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/บทความการ์ตูนญี่ปุ่น
แนวปฏิบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือการเขียนในวิกิพีเดียภาษาไทย นั่นเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปที่บรรณาธิการควรพยายามปฏิบัติตาม แม้ว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีที่สุดโดยใช้สามัญสำนึก และอาจมีข้อยกเว้นเป็นครั้งคราว การแก้ไข "สาระสำคัญ" ใดๆ ในหน้านี้ควรสะท้อนถึงความเห็นพ้อง หากมีข้อสงสัยให้พูดคุยกันก่อนในหน้าพูดคุย |
คู่มือการเขียน (MoS) |
---|
สารบัญ |
นี้คือ คู่มือการเขียนสำหรับการ์ตูนญี่ปุ่น โดยครอบคลุมถึงอนิเมะ มังงะ และบทความที่เกี่ยวข้องกับการ์ตูนญี่ปุ่น โดยหลักการหลักอ้างอิงตามคู่มือหลักของวิกิพีเดีย โดยดูเพิ่มเติมได้จากเมนูด้านขวามือ สำหรับการแก้ไขในหน้านี้ กรุณาตรวจสอบนโยบายก่อนหน้า และเสนอนโยบายในหน้า วิกิพีเดีย:สภาการ์ตูน
ขอบเขต
[แก้]คู่มือการเขียนนี้ประยุกต์ใช้กับบทความที่เกี่ยวกับการ์ตูนญี่ปุ่นและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง และเป็นส่วนย่อยของคู่มือการเขียนหัวข้อเฉพาะของการเขียนเกี่ยวกับเรื่องแต่ง
สำหรับคำแนะนำทั่วไปเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไข ดู วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน
สำหรับการอภิปราย ช่วยเหลือ และการดำเนินการแก้ไขในบทความการ์ตูนญี่ปุ่น ดูที่ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิการ์ตูนญี่ปุ่น
ผู้แก้ไขควรคำนึงถึงทราบแนวทางอื่นที่แนะนำใน วิกิพีเดีย:โครงการวิกิภาพยนตร์ ที่เกี่ยวข้องกับตอนของสื่อรวมถึงมังงะ
ชื่อบทความและการแก้ความกำกวม
[แก้]ตั้งชื่อบทความเป็นภาษาไทยด้วยการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ถ้าการ์ตูนญี่ปุ่นมีการแปลเป็นภาษาไทยให้ใช้ชื่อภาษาไทยที่เป็นทางการ หากมีชื่อทางการหลายชื่อให้ใช้ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในกลุ่มผู้ใช้ภาษาไทย
ถ้าหลายบทความมีชื่อเหมือนกัน ให้ใช้ระเบียบตามการแก้ความกำกวม
- บทความภาพยนตร์อนิเมะ – ชื่อ (ภาพยนตร์)
- บทความภาพยนตร์ชุดอนิเมะ – ชื่อ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)
- บทความมังงะ – ชื่อ (มังงะ)
- บทความไลต์โนเวล – ชื่อ (นวนิยาย)
- บทความวิดีโอเกม – ชื่อ (วิดีโอเกม)
- บทความวิชวลโนเวล – ชื่อ (วิชวลโนเวล)
- ละครฉบับคนแสดง/โทกูซัตสึ – ชื่อ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)
- บทความเพลง – ชื่อ (เพลง)
การเปลี่ยนทาง
[แก้]สร้างการเปลี่ยนทางสำหรับชื่ออื่น ๆ เสมอ โดยเฉพาะถ้าชื่อนั้นใช้มาครอน (เครื่องหมายแสดงสระเสียงยาว) หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่พิมพ์ได้ยากบนแป้นพิมพ์มาตรฐาน โปรดทราบว่าการเปลี่ยนทางสามารถสร้างไปยังส่วนย่อยเฉพาะของหน้าได้ในกรณีจำเป็น
รายชื่อ
[แก้]- ชื่อบทความเกี่ยวกับตัวละครให้เขียน รายชื่อตัวละครใน{ชื่อเรื่อง} เช่น รายชื่อตัวละครในมาจิเรนเจอร์
- ชื่อบทความเกี่ยวกับตอนให้เขียน รายชื่อตอนใน{ชื่อเรื่อง} เช่น รายชื่อตอนในน้องสาวของผมไม่น่ารักขนาดนั้นหรอก
ชื่อตัวละคร ผู้แต่ง และสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในเรื่อง
[แก้]- ชื่อบุคคลจริง ได้แก่ผู้แต่ง แอนิเมเตอร์ นักพากย์ เป็นต้น ให้เขียนทับศัพท์ตามหลักการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น พ.ศ. 2561 โดยใช้ชื่อนำหน้านามสกุล และในกรณีที่จำเป็นอาจจะวงเล็บชื่อภาษาญี่ปุ่นและโรมาจิโดยเรียงนามสกุลนำหน้าชื่อ เช่น เค็ง อากามัตสึ (ญี่ปุ่น: 赤松健; โรมาจิ: Akamatsu Ken) อากิ โทโยซากิ (ญี่ปุ่น: 豊崎 愛生; โรมาจิ: Toyosaki Aki) เป็นต้น
- ชื่อตัวละครและสถานที่ที่สมมติขึ้นมาในเรื่องเขียนอ้างอิงตามผู้ถือลิขสิทธิ์ภาษาไทย (ซึ่งอาจจะแตกต่างจากชื่อที่สะกดตามหลักการทับศัพท์ฯ) โดยตัวละครญี่ปุ่นมักจะเป็นนามสกุลนำหน้าชื่อ เช่น อุจิวะ ซาสึเกะ (ญี่ปุ่น: うちはサスケ; โรมาจิ: Uchiha Sasuke) และตัวละครจากประเทศอื่นมักจะเป็นชื่อนำหน้านามสกุลเช่น เนกิ สปริงฟีลด์ (ญี่ปุ่น: ネギ・スプリングフィールド; โรมาจิ: Negi Supringufīrudo)
การระบุชื่อภาษาญี่ปุ่นและโรมาจิ
[แก้]การระบุชื่อภาษาญี่ปุ่นและโรมาจิให้ใช้แม่แบบ:ญี่ปุ่น โดยระบุชื่อภาษาญี่ปุ่นในพารามิเตอร์แรก โรมาจิในพารามิเตอร์ที่สอง ในกรณีที่จำเป็นสามารถเพิ่มเติมการสะกดตามหลักการทับศัพท์ได้ในพารามิเตอร์ที่สาม และคำอธิบายเสริมในพารามิเตอร์ที่สี่ ถ้าเป็นการระบุเพื่อแนะนำ เช่น ระบุชื่อตัวละคร หรือในส่วนสรุปย่อหน้าแรกกรณีที่เป็นชื่อบทความ ให้ระบุชื่อภาษาญี่ปุ่น โรมาจิ และพารามิเตอร์อื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร
- ตัวอย่างของสรุปย่อหน้าแรกในกรณีชื่อบทความ
'''นาโอโกะ ยามาดะ''' ({{ญี่ปุ่น|山田 尚子|Yamada Naoko}}) เป็น[[แอนิเมชัน|แอนิเมเตอร์]] ผู้กำกับซีรีส์โทรทัศน์และ[[ผู้กำกับภาพยนตร์|ภาพยนตร์]][[ชาวญี่ปุ่น]]...
ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ดังนี้
นาโอโกะ ยามาดะ (ญี่ปุ่น: 山田 尚子; โรมาจิ: Yamada Naoko) เป็นแอนิเมเตอร์ ผู้กำกับซีรีส์โทรทัศน์และภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น...
โดยชื่อบทความต้องเป็นตัวหนา
- ตัวอย่างของการระบุเพื่อแนะนำชื่อของสิ่งที่สร้างขึ้นมาในเรื่อง
...โดยยุยตั้งชื่อเล่นให้กับกีตาร์ว่า "กีตะ" ({{ญี่ปุ่น|ギー太|Giita}}) เธอนั้นทึ่ม เรียนไม่เก่ง...
ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ดังนี้
...โดยยุยตั้งชื่อเล่นให้กับกีตาร์ว่า "กีตะ" (ญี่ปุ่น: ギー太; โรมาจิ: Giita) เธอนั้นทึ่ม เรียนไม่เก่ง...
อย่างไรก็ตาม ถ้าชื่อนั้นเป็นชื่อของบุคคลที่มีตัวตนจริงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างผลงาน เช่น ผู้แต่ง นักพากย์ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อภาษาญี่ปุ่นหรือโรมาจิ ดังตัวอย่างนี้
...เขียนเรื่องและวาดภาพโดย[[อิซูมิ สึบากิ]] เผยแพร่ในนิตยสารออนไลน์...
ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ดังนี้
...เขียนเรื่องและวาดภาพโดยอิซูมิ สึบากิ เผยแพร่ในนิตยสารออนไลน์...