วอร์เนอร์บราเธอส์
ตราสัญลักษณ์ที่เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2023 เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของวอร์เนอร์บราเธอร์ส | |
สำนักงานสตูดิโอของวอร์เนอร์บราเธอส์ในเบอร์แบงก์, แคลิฟอร์เนีย | |
ชื่อทางการค้า | Warner Bros. |
---|---|
ชื่อเดิม |
|
ประเภท | แผนก |
อุตสาหกรรม | บันเทิง |
ก่อนหน้า | บริษัทวอร์เนอร์ฟีเชอส์ |
ก่อตั้ง | 4 เมษายน 1923 |
ผู้ก่อตั้ง | |
สำนักงานใหญ่ | 4000 ถนนวอร์เนอร์, , สหรัฐ |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | แอนน์ ซาร์นอฟฟ์ (ประธานและซีอีโอ) |
ผลิตภัณฑ์ | |
รายได้ | 13.866 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2017) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 1.761 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2017) |
พนักงาน | ประมาณ 8,000 คน (2014) |
บริษัทแม่ | วอร์เนอร์มีเดีย |
แผนก |
|
บริษัทในเครือ | |
เว็บไซต์ | www |
เชิงอรรถ / อ้างอิง [1][2][3][4] |
บริษัทวอร์เนอร์บราเธอส์เอ็นเทอร์เทนเมนต์ (อังกฤษ: Warner Bros. Entertainment Inc.) (หรือรู้จักกันในชื่อ วอร์เนอร์บราเธอส์ หรืออักษรย่อ WB) เป็นกลุ่มบริษัทผลิตสื่อมวลชนและความบันเทิงขนาดใหญ่สัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ วอร์เนอร์บราเธอส์สตูดิโอส์คอมเพล็กซ์ ใน เบอร์แบงก์, แคลิฟอร์เนีย เป็นแผนกของวอร์เนอร์มีเดียของเอทีแอนด์ที ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1923 โดยพี่น้องวอร์เนอร์ได้แก่ แฮร์รี, อัลเบิร์ต, แซมและแจ็ก วอร์เนอร์ หลังบริษัทก่อตั้งก็ได้กลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกัน ก่อนจะมีการกระจายไปยังสื่อแอนิเมชัน, โทรทัศน์และวิดีโอเกม เป็นหนึ่งใน "บิกไฟว์" ของสตูดิโอภาพยนตร์อเมริกันรายใหญ่และเป็นสมาชิกของสมาคมภาพยนตร์ (เอ็มพีเอ)
บริษัทเป็นที่รู้จักกันดีในส่วนของแผนกผลิตภาพยนตร์ วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์กรุป ประกอบด้วย วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์, นิวไลน์ซินีมา, เดอะวอร์เนอร์แอนิเมชันกรุป, แคสเซิลร็อคเอ็นเทอร์เทนเมนต์และดีซีฟิล์มส์ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่ผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ ได้แก่ วอร์เนอร์บราเธอส์เทเลวิชัน, สตูดิโอสร้างแอนิเมชัน วอร์เนอร์บราเธอส์แอนิเมชันและการ์ตูนเน็ตเวิร์กสตูดิโอส์, สำนักพิมพ์หนังสือการ์ตูน ดีซีคอมิกส์, บริษัทพัฒนาและจัดจำหน่ายวิดีโอเกม วอร์เนอร์บราเธอส์อินเทอแรกทีฟเอ็นเทอร์เทนเมนต์, ช่องโทรทัศน์เคเบิล การ์ตูนเน็ตเวิร์ก, อดัลต์สวิม, บูมเมอแรงและเทิร์นเนอร์คลาสสิกมูฟวี และเครือข่ายโทรทัศน์ เดอะซีดับเบิลยู ซึ่งถือหุ้นส่วน 50% ร่วมกับไวอาคอมซีบีเอส วอร์เนอร์บราเธอส์ยังมีแผนกอื่น ๆ ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการตีพิมพ์, การขายสินค้า, เพลง, ละครเวทีและสวนสนุก[5] บักส์ บันนี ตัวละครการ์ตูนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการ์ตูนชุด ลูนีตูนส์ เป็นตัวนำโชคอย่างเป็นทางการของบริษัท
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อตั้ง
[แก้]ชื่อของบริษัทมาจากพี่น้องผู้ก่อตั้งวอร์เนอร์ (เกิดนามสกุล วอนสกอลาเซอร์ หรือ วอนซาล ก่อนการแผลงเป็นอังกฤษ) :[6][7] ประกอบด้วย แฮร์รี, อัลเบิร์ต, แซมและแจ็ก วอร์เนอร์ แฮร์รี, อัลเบิร์ตและแซมอพยพมากับพ่อแม่ชาวยิวโปแลนด์ของพวกเขาตั้งแต่ยังเด็ก[8][9][10][11] ไปยังแคนานาจาก คราสไนซิเอลซ์, คองเกรสโปแลนด์, ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย เช่นเดียวกับในครอบครัวผู้อพยพอื่น ๆ เด็กบางคนค่อย ๆ ได้รับชื่อที่มาจากการแผลงเป็นอังกฤษของภาษายิดดิชของพวกเขา ชมูเอล วอนซาล กลายเป็น ซามูเอล วอร์เนอร์ ชื่อเล่น แซม[12]
แจ็ก น้องชายคนเล็กเกิดที่ ลอนดอน, ออนทาริโอ พี่ชายคนโตสามคนเริ่มทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ หลังได้เครื่องฉายภาพยนตร์ ซึ่งพวกเขาฉายภาพยนตร์ในเมืองเหมืองแร่ของรัฐเพนซิลเวเนียและรัฐโอไฮโอ ในช่วงแรก[13] แซมและอัลเบิร์ต วอร์เนอร์ ลงทุน 150 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเสนอ ไลฟ์ออฟแอนอเมริกันไฟเออร์แมน และ เดอะเกรตเทรนรอบเบอรี พวกเขาเปิดโรงภาพยนตร์แห่งแรกชื่อว่า เดอะแคสเคด ใน นิวแคสเซิล, เพนซิลเวเนีย เมื่อปี ค.ศ. 1903
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Company history". Warnerbros.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2015. สืบค้นเมื่อ April 9, 2014.
- ↑ "2017 Annual Report" (PDF). Time Warner. 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2018. สืบค้นเมื่อ April 26, 2019.
- ↑ Patten, Dominic; Yamato, Jen. "Warner Bros Layoffs Long Planned But "Accelerated" By Failed Fox Bid". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2014. สืบค้นเมื่อ September 6, 2014.
- ↑ "Warner Archive Collection podcast". Warnerbros.com. April 8, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ December 17, 2016.
- ↑ "Experiences | Warner Bros. Resorts". warnerbros.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2020. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
- ↑ Warner Sperling, Cass (Director) (2008). The Brothers Warner (DVD film documentary). Warner Sisters, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 17, 2016.
- ↑ McMorris, Bill (January 29, 2009). "Journey of discovery: Warner documentary the result of a twenty-year effort". Santa Barbara News-Press. สืบค้นเมื่อ May 27, 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Jacobson, Lara (2018-06-28). "The Warner Brothers Prove Their Patriotism". Voces Novae. 10 (1). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2019. สืบค้นเมื่อ October 30, 2019.
- ↑ Hixson, Walter L. (2003). The American Experience in World War II: The United States and the road to war in Europe. Taylor & Francis. p. 28. ISBN 978-0-415-94029-0.
- ↑ Cocks, Geoffrey (2004). The Wolf at the Door: Stanley Kubrick, History, & the Holocaust. Peter Lang. p. 41. ISBN 978-0-8204-7115-0.
- ↑ Meyer, Carla (2013-03-17). "California Hall of Fame to induct the four Warner brothers". California Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-30.
- ↑ "Wielcy Polacy – Warner Bros czyli bracia Warner: Aaron (Albert), Szmul (Sam) i Hirsz (Harry) Wonsal oraz Jack (Itzhak) Wonsal – Białczyński". 22 April 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2017.
- ↑ Green, Fitzhugh (1929). The Film Finds Its Toungue. New York: G.P. Putnam's Sons. p. 41.