ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหากษัตริย์
แห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์
ราชาธิปไตยในอดีต
ตราแผ่นดิน
ครองราชย์ยาวนานที่สุด
พระเจ้าเจมส์ที่ 6

24 กรกฎาคม 1567 – 27 มีนาคม 1625
(57 ปี 246 วัน)

ปฐมกษัตริย์ พระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1
องค์สุดท้าย สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์
สถานพำนัก ราชสำนักสกอตแลนด์
เริ่มระบอบ 843 (ตามความเชื่อ)
สิ้นสุดระบอบ 1 พฤษภาคม 1707
(พระราชบัญญัติสหภาพ)

พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ตามธรรมเนียม พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอตพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 (ซีเนียด แม็คอัลปิน) ผู้ทรงสถาปนารัฐเอกราชขึ้นในปีพ.ศ. 1386 ความแตกต่างระหว่างราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรของชาวพิคท์เป็นผลผลิตมาจากความเชื่อในสมัยกลางยุคหลัง และความสับสนในความเปลี่ยนแปลงทางการเรียกชื่อ เช่น Rex Pictorum (พระมหากษัตริย์แห่งชาวพิคท์) ได้กลายเป็น ri Alban (พระมหากษัตริย์แห่งอัลบา) ภายใต้สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2 เมื่อการบันทึกทางประวัติศาสตร์สลับจากภาษาละตินมาเป็นภาษาท้องถิ่นในรอบช่วงสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งเมื่อคราวคำว่า อัลบา ในภาษาแกลิคสก็อต ได้มาถึงราชอาณาจักรของชาวพิคท์มากกว่าบริเตนใหญ่ (ความหมายเก่า)[1]

ราชอาณาจักรของชาวพิคท์เพิ่งกลายเป็นถูกเรียกว่า ราชอาณาจักรอัลบาในภาษาแกลิค ที่ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในภาษาสกอตและภาษาอังกฤษว่า Scotland (สกอตแลนด์) คำนี้ยังคงอยู่ในภาษาทั้งสองจนกระทั่งทุกวันนี้ ด้วยช่วงยุคหลังคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในที่ช่วงหลังสุด พระมหากษัตริย์สกอตได้ใช้คำว่า rex Scottorum หรือ พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต เพื่ออ้างอิงในภาษาละติน พระอิสริยยศ "พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต" ได้สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2250 เมื่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ถูกรวมเข้ากับราชอาณาจักรอังกฤษกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์จึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์และอังกฤษและทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ถึงแม้ว่าราชอาณาจักรทั้งสองจะมีพระมหากษัตริย์ร่วมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2146 (ดูที่การรวมราชบัลลังก์) พระปิตุลาของพระนางคือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ทรงได้ประกอบพิธีราชาภิเษกในสกอตแลนด์ที่เมืองสโคนในปี พ.ศ. 2194

ตราแผ่นดิน

[แก้]

ราชวงศ์อัลปิน (พ.ศ. 1388 - พ.ศ. 1577)

[แก้]

รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินได้เริ่มต้นขึ้นและเป็นถูกเรียกว่าราชวงศ์อัลปินตามแนวคิดโลกสมัยใหม่ สายพระราชสันตติวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินได้ถูกแบ่งออกเป็นสองสาย พระมหามงกุฎจะถูกสลับกันระหว่างสายทั้งสอง การเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของสายหนึ่งๆมักจะผลุนผลันจากสงครามหรือถูกลอบปลงพระชนม์โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อัลปิน ในรัชกาลของพระองค์ พระองค์ประสบความสำเร็จในการสู้รบกับฝ่ายต่อต้านและไม่ทรงมีพระราชโอรส แต่ก็ทรงสามารถผ่านราชบัลลังก์ไปยังพระราชโอรสของเจ้าหญิงบีท็อค ผู้เป็นพระราชธิดา ให้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 ที่ทรงประกาศเริ่มต้นราชวงศ์ดันคีลด์

พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรสและรัชทายาท สวรรคต ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์
สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1
"ผู้พิชิต"[2]
(Kenneth MacAlpin I)

พ.ศ. 1386/1388 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1401
พ.ศ. 1353
พระโอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตา
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 3 พระองค์
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1401
ชินเบลาชอย
พระชนมพรรษาราว 48 พรรษา
โอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตา
สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 1
(Donald I)

พ.ศ. 1401 - 13 เมษายน พ.ศ. 1405
- พ.ศ. 1355
พระโอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตา
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 1 พระองค์
13 เมษายน พ.ศ. 1405
ชินเบลาชอย หรือ ราทินวารัลมอนด์
พระชนมพรรษาราว 50 พรรษา
โอรสในอัลปิน กษัตริย์แห่งดาล เรียตาและอนุชาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1
สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1
"ผู้อุดมด้วยเหล้าองุ่น"[3]
(Constantine I)

พ.ศ. 1405 - พ.ศ. 1420
ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 1 พระองค์
พ.ศ. 1420
อัทโทลล์
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1
สมเด็จพระเจ้าอีด
(Áed)

พ.ศ. 1420 - พ.ศ. 1421
- ก่อนพ.ศ. 1401
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาทที่น่าเป็นไปได้ 1 พระองค์
พ.ศ. 1421
สตรัททาลัน
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1
สมเด็จพระเจ้ากีริค
"บุตรแห่งโชคชะตา"[4]
(Giric)

พ.ศ. 1421 - พ.ศ. 1432
- ราวพ.ศ. 1421
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 1
ไม่ปรากฏหลักฐาน พ.ศ. 1432
ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 1
สมเด็จพระเจ้าโอเชียด
(Eochaid)

*พ.ศ. 1421 - พ.ศ. 1432?
- ราวพ.ศ. 1421
พระโอรสในรุนแห่งอัลท์คลัท
ไม่ปรากฏหลักฐาน พ.ศ. 1432
ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
†นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1
สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2
"ผู้บ้าคลั่ง" หรือ "ผู้วิปริต"[5]
(Donald II)

พ.ศ. 1432 - พ.ศ. 1443
ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาท 1 พระองค์
พ.ศ. 1443
ฟอร์เรส หรือ ปราสาทดันน็อททาร์
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1
สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2
"ผู้วัยกลางคน"[6]
(Constantine II)

พ.ศ. 1443 - พ.ศ. 1486
ก่อนพ.ศ. 1422
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอีด
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาท 3 พระองค์หรือมากกว่านี้
พ.ศ. 1495
เซนต์แอนดรูว์
พระชนมพรรษาราว 73 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าอีด
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1
"แดงอันตราย"[7]
(Malcolm I)

พ.ศ. 1486 - พ.ศ. 1497
ราวพ.ศ. 1443
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาท 3 พระองค์
พ.ศ. 1497
ที่สวรรคตไม่แน่นอน
พระชนมพรรษาราว 54 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 2
สมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ
"ผู้รุกราน"[8]
(Indulf[9])

พ.ศ. 1497 - พ.ศ. 1505
ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาท 3 พระองค์
พ.ศ. 1505
คัลเลน หรือ เซนต์แอนดรูว์
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2
สมเด็จพระเจ้าดัฟ
"ผู้ดุดัน" หรือ "องค์ดำ"[10]
(Dub)

พ.ศ. 1505 - พ.ศ. 1510
- ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1
ไม่ปรากฏหลักฐาน
มีรัชทายาท 1 พระองค์
พ.ศ. 1510?
ฟอร์เรส
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1
สมเด็จพระเจ้าคุยเลน
"องค์ขาว"[11]
(Cuilén)

พ.ศ. 1510 - พ.ศ. 1514
- ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ
ไม่ปรากฏหลักฐาน
มีรัชทายาท 1 พระองค์
พ.ศ. 1514
อบิงตัน
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ
สมเด็จพระเจ้าอัมลีป
(Amlaíb)

*พ.ศ. 1516 - พ.ศ. 1520
- ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ
ไม่ปรากฏหลักฐาน พ.ศ. 1520
ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าอินดัล์ฟ
สมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2
"ผู้สังหารพี่น้อง"[12]
(Kenneth II)

พ.ศ. 1514/1520 - พ.ศ. 1538
ก่อนพ.ศ. 1497
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาทที่เป็นไปได้ 3 พระองค์
พ.ศ. 1538
แฟตเตอร์ไคร์น
พระชนมพรรษาราว 41 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1
สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 3
(Constantine III)

พ.ศ. 1538 - พ.ศ. 1540
ก่อนพ.ศ. 1514
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าคุยเลน
ไม่ปรากฏหลักฐาน พ.ศ. 1540
ราทินวารัลมอนด์
พระชนมพรรษาราว 26 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าคุยเลน
สมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 3
"ผู้นำ" หรือ "องค์น้ำตาล"[13]
(Kenneth III)

พ.ศ. 1540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 1548
ก่อนพ.ศ. 1510
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าดัฟ
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาทที่น่าจะเป็นไปได้ 3 พระองค์
25 มีนาคม พ.ศ. 1548
มอนซีไวร์ด
พระชนมพรรษาราว 38 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าดัฟ
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2
"ผู้ทำลาย"[14]
(Malcolm II)

พ.ศ. 1548 - พ.ศ. 1577
ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาทที่น่าจะเป็นไปได้ 3 พระองค์
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 1577
กลามิส
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
โอรสในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2

* หลักฐานในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าโอเชียดไม่เป็นที่แน่ชัด พระองค์อาจจะไม่เคยดำรงเป็นพระมหากษัตริย์จริงๆ ถ้าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ร่วมกับสมเด็จพระเจ้ากีริค ส่วนสมเด็จพระเจ้าอัมลีปทรงเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะในการอ้างถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์ในปีพ.ศ. 1520 ที่ซึ่งมีการบันทึกว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอัลบา (ก่อนที่จะเรียกว่าสกอตแลนด์) นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันว่ายังคงเป็นพระมหากษัตริย์ในปีพ.ศ. 1515 ถึงพ.ศ. 1516 สมเด็จพระเจ้าอัมลีปต้องได้รับพระราชอำนาจในระหว่างปีพ.ศ. 1516 ถึงพ.ศ. 1520

สมเด็จพระเจ้าโอเชียดทรงเป็นพระโอรสใน รุน กษัตริย์แห่งสตรัทไคลเดอ แต่พระราชมารดาของพระองค์เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 1

ราชวงศ์ดันคีลด์ (พ.ศ. 1577 - พ.ศ. 1829)

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ผู้เป็นพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา (พระองค์ยังทรงเป็นรัชทายาทที่สืบสายสัตติวงศ์มาจากสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 ในฐานะที่ทรงเป็นพระอัยกาฝ่ายพระราชบิดาของพระองค์คือ ดันแคนแห่งอโทลล์ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1[15] ราชวงศ์ดันคีลด์มีความสืบเนื่องมาจากราชวงศ์อัลปิน) หลังจากภายในรัชกาลที่ไม่ประสบความสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าดันแคนทรงถูกปลงพระชนม์ในสนามรบโดยสมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธ ผู้ทรงครองราชย์อย่างยาวนานและค่อนข้างประสบความสำเร็จ ในช่วงการต่อสู้ระหว่าง พ.ศ. 1600 และ พ.ศ. 1601 พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 คือ สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ได้กำจัดและปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธและพระราชโอรสเลี้ยงซึ่งเป็นองค์รัชทายาทของพระเจ้าเม็คเบ็ธคือ สมเด็จพระเจ้าลูลาช และทรงทำการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ความขัดแย้งของพระราชวงศ์ยังไม่จบสิ้น สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 เสด็จสวรรคตในสมรภูมิ เจ้าชายโดนัลด์ แบน พระอนุชาของพระองค์ได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในฐานะ สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3 ทรงขับไล่พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ออกไปจากสกอตแลนด์ สงครามกลางเมืองในพระราชวงศ์ได้เกิดขึ้น ด้วยสมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3 และเจ้าชายเอ็ดมันด์ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ถูกต่อต้านโดยพระโอรสชาวอังกฤษของสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 นำโดยเจ้าชายดันแคน ซึ่งตั้งตนเป็น สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 2 และต่อมาคือเจ้าชายเอ็ดการ์ ซึ่งตั้งตนเป็น สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ ในที่สุดพระเจ้าเอ็ดการ์ทรงได้รับชัยชนะ พระองค์ได้ส่งพระปิตุลาและพระเชษฐาไปยังสำนักสงฆ์ หลังจากรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1 ราชบัลลังก์สกอตแลนด์ได้เปลี่ยนผ่านไปตามกฏของบุตรหัวปี ย้ายจากบิดาถึงโอรสหรือที่เป็นไปไม่ได้จากเชษฐาสู่อนุชา

พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรสและรัชทายาท สวรรคต ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์
สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1
"ผู้ป่วย"[16]
(Duncan I)

พ.ศ. 1577 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 1583
ราว พ.ศ. 1544
พระโอรสในครีนันแห่งดันคีลด์ กับ เจ้าหญิงบีท็อค
เจ้าหญิงซูเทน
มีรัชทายาท 3 พระองค์
14 สิงหาคม พ.ศ. 1583
พิทกาเวนี
พระชนมพรรษาราว 39 พรรษา
นัดดาในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2
สมเด็จพระเจ้าแม็คเบ็ธ
"กษัตริย์แดง"[17]
(Macbeth)

พ.ศ. 1583 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 1600
ไม่ปรากฏปีที่ประสูติ
พระโอรสในฟินด์ลิชแห่งมอเรย์ กับ เจ้าหญิงโดนาดา
เจ้าหญิงกรูโอช
หลังพ.ศ. 1575
ไม่มีรัชทายาท
15 สิงหาคม พ.ศ. 1600
ลัมพานาน หรือ สโคน
ไม่ทราบพระชนมพรรษาที่ชัดเจน
นัดดาในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2
สมเด็จพระเจ้าลูลาช
"ผู้โชคร้าย"[17] "ผู้โง่เขลา"[18]
(Lulach)

15 สิงหาคม พ.ศ. 1600 - 17 มีนาคม พ.ศ. 1601
- ก่อน พ.ศ. 1576
พระโอรสในกิลล์ โคมาเกนแห่งมอเรย์ กับ เจ้าหญิงกรูโอช
ไม่ปรากฏพระนาม
มีรัชทายาท 2 พระองค์
17 มีนาคม พ.ศ. 1601
ไรนี, อเบอร์ดีนแชร์
พระชนมพรรษาราว 25 พรรษา
นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเคนเนธที่ 3
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3
"ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่"[19]
(Malcolm III)

พ.ศ. 1601 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 1636
26 มีนาคม พ.ศ. 1574
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 กับ เจ้าหญิงซูเทน
เจ้าหญิงอินกีบีออร์ก ฟินน์สด็อทเทียร์
พ.ศ. 1601?
รัชทายาท 1 พระองค์

เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์
พ.ศ. 1613
รัชทายาท 8 พระองค์
13 พฤศจิกายน พ.ศ. 1636
อัล์นวิก
พระชนมพรรษา 62 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1
สมเด็จพระเจ้าโดนัลด์ที่ 3
"ผู้เที่ยงธรรม"
(Donald III)

พ.ศ. 1636 - พ.ศ. 1640
ก่อน พ.ศ. 1583
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1 กับ เจ้าหญิงซูเทน
ไม่ปรากฏพระนาม
รัชทายาท 1 พระองค์
พ.ศ. 1642
อันกัส
พระชนมพรรษาราว 59 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 1
สมเด็จพระเจ้าดันแคนที่ 2
(Duncan II)

พ.ศ. 1637
ก่อน พ.ศ. 1603
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงอินกีบีออร์ก ฟินน์สด็อทเทียร์
เจ้าหญิงเอเธลรีดาแห่งนอร์ธัมเบรีย
พ.ศ. 1637
รัชทายาท 1 พระองค์
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 1637
ไม่ปรากฏสถานที่สวรรคต
พระชนมพรรษาราว 34 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3
สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์
"ผู้กล้าหาญ"[20]
(Edgar)

พ.ศ. 1640 - 8 มกราคม พ.ศ. 1650
ราวพ.ศ. 1617
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์
ไม่ทรงอภิเษกสมรส 8 มกราคม พ.ศ. 1650
เอดินบะระ
พระชนมพรรษาราว 33 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3
สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1
"ผู้โหดเหี้ยม"[21]
(Alexander I)

พ.ศ. 1650 - 23 เมษายน พ.ศ. 1667
ราว พ.ศ. 1621
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์
เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งนอร์มังดี
พ.ศ. 1650
ไม่มีรัชทายาท
23 เมษายน พ.ศ. 1667
สเตอร์ลิง
พระชนมพรรษาราว 44 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3
สมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1
"ผู้เป็นนักบุญ"
(David I)

เดือนเมษายนหรือพฤษภาคม พ.ศ. 1667 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1696
พ.ศ. 1627
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 กับ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเวสเซ็กซ์
มาทิลดา เคาน์เตสแห่งฮันทิงดอน
พ.ศ. 1655
รัชทายาท 3 พระองค์
24 พฤษภาคม พ.ศ. 1696
คาร์ไลล์
พระชนมพรรษาราว 69 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 3
สมเด็จพระเจ้ามัลคอล์มที่ 4
(Malcolm IV)

24 พฤษภาคม พ.ศ. 1696 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 1708
ช่วงระหว่าง 23 เมษายนกับ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1684
พระโอรสในเจ้าชายเฮนรี เอิร์ลที่ 3 แห่งฮันทิงดอน กับ อาดาเดอวารีน
ไม่ทรงอภิเษกสมรส 9 ธันวาคม พ.ศ. 1708
เจดบะระ
พระชนมพรรษาราว 24 พรรษา
นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1
สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1
"ราชสีห์"
(William I)

9 ธันวาคม พ.ศ. 1708 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 1757
ราว พ.ศ. 1686
พระโอรสในเจ้าชายเฮนรี เอิร์ลที่ 3 แห่งฮันทิงดอน กับ อาดาเดอวารีน
แอร์ม็งการ์ดเดอโบมงต์
พ.ศ. 1729
รัชทายาท 4 พระองค์
4 ธันวาคม พ.ศ. 1757
สเตอร์ลิง
พระชนมพรรษาราว 71 พรรษา
นัดดาในสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 1
สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2
(Alexander II)

4 ธันวาคม พ.ศ. 1757 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 1792
- 24 สิงหาคม พ.ศ. 1741
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 กับ แอร์ม็งการ์ดเดอโบมงต์
เจ้าหญิงโจนแห่งอังกฤษ
21 มิถุนายน พ.ศ. 1764
ไม่มีรัชทายาท
มารีเดอกูซี
15 พฤษภาคม พ.ศ. 1782
รัชทายาท 1 พระองค์
6 กรกฎาคม พ.ศ. 1792
เคอร์เรอรา
พระชนมพรรษาราว 51 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1
สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3
(Alexander III)

6 กรกฎาคม พ.ศ. 1792 - 19 มีนาคม พ.ศ. 1829
4 กันยายน พ.ศ. 1784
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 กับ มารีเดอกูซี
เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งอังกฤษ
ราว พ.ศ. 1794
รัชทายาท 3 พระองค์
เจ้าหญิงโยล็องด์แห่งโดร์
15 ตุลาคม พ.ศ. 1828
รัชทายาท 1 พระองค์ (สิ้นพระชนม์ตั้งแต่อยู่ในพระครรภ์)
19 มีนาคม พ.ศ. 1829
คิงฮอร์น
พระชนมพรรษาราว 44 พรรษา
โอรสในสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2

ราชวงศ์สแวร์ (พ.ศ. 1829 - พ.ศ. 1833)

[แก้]
พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรสและรัชทายาท สวรรคต ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์กาเร็ต
"ราชนารีแห่งนอร์เวย์"
(Margaret)

25 พฤศจิกายน พ.ศ. 1829 - 26 กันยายน พ.ศ. 1833
เมษายน พ.ศ. 1544
พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์กับสมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ต
ไม่ทรงอภิเษกสมรส 26 กันยายน พ.ศ. 1833
ออร์กนีย์
พระชนมพรรษาราว 7 พรรษา
นัดดาในสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3

ราชวงศ์เบลเลียล

[แก้]
พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรสและรัชทายาท สวรรคต ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์
สมเด็จพระเจ้าจอห์น
"ผู้ปิดบังว่างเปล่า"
(John Balliol)

17 พฤศจิกายน พ.ศ. 1835 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1839
พ.ศ. 1792
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งบัลลอนกับสมเด็จพระราชินีเดโวกัวลา
สมเด็จพระราชินีอีซาเบลล่าแห่งวาเลนเน
มีรัชทายาท 1 พระองค์
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 1857
แคว้นปีการ์ดี
พระชนมพรรษาราว 64 พรรษา
อนุชาในสมเด็จพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1

ราชวงศ์บรูซ (1306–1371)

[แก้]
พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ อภิเษกสมรสและรัชทายาท สวรรคต ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์
โรเบิร์ตที่ 1[22]
the Bruce
(Raibeart a Briuis)
1306-1329
11 กรกฎาคม 1274
ปราสาททูร์นเบอรี่, อายเชียร์
บุตรของโรเบิร์ต เด บรูซ, ลอร์ดอันนานเดลที่ 6กับมาร์จอรี, เคาน์เตสแคร์ริก[23]
อิซาเบลลาแห่งมาร์
1295
พระธิดา 1 องค์

เอลิซาเบธแห่งบะระ
ริตเติล, เอสเซก, อังกฤษ
1302
รัชทายาท 4 พระองค์
7 มิถุนายน 1329
Manor of Cardross, Dunbartonshire
พระชนมพรรษา 54 พรรษา
พระราชปทินัดดา (ลื่อ) ในเดวิดแห่งฮันติงดัน (พระอนุชาวิลเลียมที่ 1)
(มาจากการเลือกตั้ง)
เดวิดที่ 2[24]
(Dàibhidh Bruis)
1329-1371
5 มีนาคม 1324
พระราชวังดันเฟิร์มไลน์, ไฟฟ์
พระราชโอรสในพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 กับเอลิซาเบธแห่งบะระ
โจนแห่งอังกฤษ
เบริก-อะพอน-ทวีด
17 กรกฎาคม 1328
ไร้รัชทายาท

มาร์กาเร็ต ดัมมอน
อินช์มูดาช, ไฟฟ์
20 กุมภาพันธ์ 1364
ไร้รัชทายาท
22 กุมภาพันธ์ 1371
ปราสาทเอดินบะระ
พระชนมพรรษา 46 พรรษา
พระราชโอรสในพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 (โดยสิทธิของบุตรหัวปี)

การอ้างสิทธิเป็นที่ถกเถียง

ราชวงศ์เบลเลียล (1332–1356)

[แก้]
พระนาม พระรูป พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต การกล่าวอ้าง
เอ็ดเวิร์ด เบลเลียล[25]
1332-1356
ปฏิปักษ์กับพระเจ้าเดวิดที่ 2
1283
พระโอรสในจอห์น เบลเลียล กับ อิซาเบลลาแห่งวาแรน
ไม่มี 1367
ดอนคาสเตอร์, ยอร์กเชียร์, อังกฤษ
พระชนมพรรษาราว 83-84 พรรษา
พระราชโอรสในพระเจ้าจอห์น, อังกฤษส่งมาเป็นตัวเลือกเพื่อแทนที่พระเจ้าเดวิดที่ 2 ที่กำลังลี้ภัย

ราชวงศ์สทิวเวิร์ต (1371–1651)

[แก้]

โรเบิร์ตแห่งสทิวเวิร์ตเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 ผ่านทางพระราชธิดาคือเจ้าหญิงมาจอรี ประสูติ ค.ศ. 1316, พระองค์มีพระชนม์มากกว่าสมเด็จพระเจ้าเดวิดที่ 2 พระมาตุลาของพระองค์ ดังนั้น, พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว ขณะนั้นมีพระชนม์ 55 พรรษาทำให้ไม่ทรงสามารถทำให้ราชบัลลังก์เข้มแข็งได้ ปัญหาดังกล่าวยังเกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3 พระราชโอรสแห่งพระองค์ ซึ่งครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษาในค.ศ. 1390 และทรงทุกข์ทรมานในวาระสุดท้ายจากพระอาการบาดเจ็บในอุบัติเหตุขณะทรงม้า ทั้ง 2 พระองค์จึงตามด้วยคณะผู้สำเร็จราชการเนื่องมาจากการทรงพระเยาว์ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับราชสมบัติต่อ ๆ มารวม 5 พระองค์ ดังนั้น สมัยราชวงศ์สทิวเวิร์ตจึงถูกมองว่าเป็นสมัยที่เฉื่อยชา ในระหว่างที่ขุนนางแย่งชิงอำนาจจากพระมหากษัตริย์ตามด้วยช่วงเวลาแห่งการปกครองโดยกษัตริย์ ในระหว่างพระองค์พยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่สร้างขึ้นโดยชนกลุ่มน้อยของตัวเองและผลกระทบระยะยาวของการปกครองในรัชกาลก่อน การปกครองสก็อตแลนด์เริ่มยุ่งยากยิ่งขึ้น ในขณะที่ขุนนางมีอำนาจจนเริ่มคุมยากขึ้นเรื่อย ๆ ความพยายามในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ที่จะหยุดยั้งความวุ่นวายในสิ้นสุดลงในการที่พระองค์ถูกปลงพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 3 สวรรคตในสงครามกลาเมืองกับพวกขุนนาง นำโดนพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ผู้ปกครองอย่างเข้มงวดและปราบปรามพวกขุนนาง สวรรคตในยุทธการที่ฟลอตเดน พระชายา พระนางมาการ์เร็ต ทิวดอร์ ได้รับการแต่งตั้งให้สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 ผู้ถูกปลดโดยกลุ่มขุนนางที่เคียดแค้น และพระชายาในพระองค์แมรี่แห่งกิส, รับช่วงในการปกครองสก็อตแลนด์โดยสำเร็จราชการแทนพระราชธิดา สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 เท่านั้น โดยการแบ่งและเอาชนะกลุ่มขุนนาง โดยการแจกจ่ายสินบนฝรั่งเศสด้วยข้างเสรีนิยม ในที่สุดสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 พบว่าพระนางไม่สามารถปกครองสกอตแลนด์ด้วยต้องเผชิญกับความเหนือชั้นของชนชั้นสูงและความดื้อรั้นของประชากร, ผู้นับถือนิกายคัลแวง และไม่ชื่นชอบนิกายคาทอลิกที่พระนางนับถือ พระนางถูกบังคับให้สละราชสมบัติและลี้ภัยไปอังกฤษ ตลอด 18 ปีทรงถูกคุมขังในที่ต่าง ๆ และถูกประหารชีวิตที่สุด ด้วยการต่อต้านสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ หลังการสละราชสมบัติ พระราชโอรสในพระนางกับ เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์ พระอนุวงศ์ในราชวงศ์สทิวเวิร์ต ครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6

พระเจ้าเจมส์ที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติอังกฤษและไอร์แลนด์ในพระนามสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ในค.ศ. 1603, เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระญาติสวรรคต นับแต่นั้น, แม้ว่ามงกุฎทั้ง 2 ของอังกฤษและสก็อตแลนด์จะถือว่าถูกรวมกัน พระราชบัลลังก์ยังมีรากฐานสำคัญอยู่ที่อังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 ทำให้พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับสงครามกลางเมือง เป็นเห็นให้เกิดความขัดแย้งยาวนานถึง 8 ปีและจบโดยการสำเร็จโทษพระองค์ จากนั้นรัฐสภาอังกฤษได้กำหนดให้สถาบันกษัตริย์สิ้นสุดลง รัฐสภาสก็อตแลนด์หลังจากใคร่ครวญได้ปฏิเสธความผูกพันกับอังกฤษและประกาศว่า และประกาศสถาปนาพระราชโอรสและรัชทายาทในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เป็นสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ จนกระทั่ง ค.ศ.1651 เมื่อกองทัพของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ผนวกสก็อตแลนด์และขับไล่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ออกไป

พระนาม พระรูป พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต ความสัมพันธ์ทางราชวงศ์
สมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2[26]
สทิวเวิร์ต
(Raibeart II Stiùbhairt)
1371-1390
2 มีนาคม 1316
เพสลีย์, เรนฟริวเชียร์
บุตรใน วอลเทอร์ สทิวเวิร์ต สทิวเวิร์ตใหญ่ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์กับมาร์จอรี บรูซ
เอลิซาเบธ มูร์
1336 (uncertain canonicity)
1349 (with Papal dispensation) รัชทายาท 10 พระองค์

ยูเฟเมีย เดอ รอสส์
2 พฤษภาคม 1355
รัชทายาท 4 พระองค์
19 เมษายน 1390
ปราสาทดันโดนัลด์, ไอย์เชียร์
พระชนมพรรษา 74 พรรษา
พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี)
สมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3[27] (born John Stewart)
พระราชาผู้อ่อนแอ
(Raibeart III Stiùbhairt, An Righ Bhacaigh)
1390-1406
ราว 1337
วังสโคน เพิร์ธ
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 กับเอลิซาเบธ มูร์
สมเด็จพระราชินีอานาเบลลา ดรัมมอนด์
1367
รัชทายาท 7 พระองค์
4 เมษายน1406
ปราสาทรอธเซย์
พระชนมพรรษาประมาณ 69 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 (สิทธิของบุตรหัวปี)
พระเจ้าเจมส์ที่ 1[28]
(Seumas I Stiùbhairt)
1406-1437
ปลายกรกฎาคม 1394
พระราชวังดันเฟิร์มลิน, ไฟฟ์
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3 กับ สมเด็จพระราชินีอานาเบลลา ดรัมมอนด์
สมเด็จพระราชินีโจน บัวฟอร์ท
มหาวิหาร เซาท์วาร์ก
2 กุมภาพันธ์ 1424
รัชทายาท 8 พระองค์
21 กุมภาพันธ์ 1437
แบล็กเฟรียส์, เพิร์ธ
พระชนมพรรษาประมาณ 42 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าโรเบิร์ตที่ 3 (สิทธิของบุตรหัวปี)
พระเจ้าเจมส์ที่ 2[29]
Fiery Face
(Seumas II Stiùbhairt)
1437-1460
16 ตุลาคม 1430
อารามฮอลีรูด, เอดินบะระ
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 กับสมเด็จพระราชินีโจน บัวฟอร์ท
สมเด็จพระราชินีแมรี่ แห่งเกลเดอร์
อารามฮอลีรูด
3 กรกฎาคม 1449
รัชทายาท 7 พระองค์
3 สิงหาคม 1460
ปราสาทร็อกซ์เบิร์ก
พระชนมพรรษา 29 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี)
พระเจ้าเจมส์ที่ 3[30]
(Seumas III Stiùbhairt)
1460-1488
10 กรกฎาคม 1451
ปราสาทสเตอร์ลิง หรือ ปราสาทเซนต์แอนดรูว์
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 กับสมเด็จพระราชินีแมรี่แห่งเกลเดอร์
สมเด็จพระราชินีมากาเร็ต แห่งเดนมาร์ก
อารามฮอลีรูด
13 กรกฎาคม 1469
รัชทายาท 3 พระองค์
11 มิถุนายน 1488
เซาชีเบิร์น
พระชนมพรรษา 36 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (สิทธิของบุตรหัวปี)
พระเจ้าเจมส์ที่ 4[31]
(Seumas IV Stiùbhairt)
1488-1513
17 มีนาคม 1473
ปราสาทสเตอร์ลิง
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 3 กับสมเด็จพระราชินีมากาเร็ต แห่งเดนมาร์ก
สมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ต ทิวดอร์
อารามฮอลีรูด
8 สิงหาคม 1503
รัชทายาท 6 พระองค์
9 กันยายน 1513
ทุ่งฟล็อตเดน, นอร์ทัมเบอร์แลนด์, อังกฤษ
พระชนมพรรษา 40 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 3 (สิทธิของบุตรหัวปี)
สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5[32]
(Seumas V Stiùbhairt)
1513-1542
15 เมษายน 1512
พระราชวังลินลิธโก, เวสต์โลเทียน
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 4 กับสมเด็จพระราชินีมากาเร็ต ทิวดอร์
สมเด็จพระราชินีมาดาเล แห่งวาลัวซ์
อาสนวิหารน็อทร์-ดาม, ปารีส, ฝรั่งเศส
1 มกราคม 1537
ไม่มีรัชทายาท

แมรี่แห่งกิส
อาสนวิหารน็อทร์-ดาม, ปารีส, ฝรั่งเศส
18 พฤษภาคม 1538
รัชทายาท 3 พระองค์
14 ธันวาคม 1542
พระราชวังฟอล์คแลนด์, ไฟฟ์
พระชนมพรรษา 30 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 4 (สิทธิของบุตรหัวปี)
สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1[33]
(Màiri Stiùbhairt)
1542-1567
8 ธันวาคม 1542
พระราชวังลินลิธโก
พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5 กับแมรี่แห่งกิส
พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
24 เมษายน 1558
ไม่มีรัชทายาท

เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์
พระราชวังฮอลีรูด, เอดินบะระ
9 กรกฎาคม 1565
รัชทายาท 1 พระองค์

เจมส์ เฮปเบิร์น, เอิร์ลที่ 4 แห่งบอธเวล
พระราชวังฮอลีรูด
15 พฤษภาคม 1567
ไม่มีรัชทายาท
8 กุมภาพันธ์ 1587
ปราสาทฟอธริงเฮย์, นอร์แทมป์ตันเชอร์, อังกฤษ
พระชนมพรรษา 44 พรรษา

(ถูกสำเร็จโทษ)

พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 5

(สิทธิของบุตรหัวปี)

พระเจ้าเจมส์ที่ 6[34]
(Seumas VI Stiùbhairt)
1567-1625
19 มิถุนายน 1566
ปราสาทเอดินบะระ
พระราชโอรสใน เฮนรี สจวต ลอร์ดดาร์นลีย์กับสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1
แอนน์แห่งเดนมาร์ก
วังโอลด์บิชอป, ออสโล, นอร์เวย์
23 พฤศจิกายน 1589
รัชทายาท 7 พระองค์
27 มีนาคม 1625
ธีโอบอลด์ เฮาส์, ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์, อังกฤษ
พระชนมพรรษา 58 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี)
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1[35]
(Teàrlach I Stiùbhairt)
1625-1649
19 พฤศจิกายน 1600
พระราชวังดันเฟิร์มลิน, ดันเฟิร์มลิน
พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 กับแอนน์แห่งเดนมาร์ก
เฮนเรียตตา มาเรีย แห่งฝรั่งเศส
มหาวิหารเซนต์ออกุสติน, แคนเทอร์เบอร์รี่, อังกฤษ
13 มิถุนายน 1625
รัชทายาท 9 พระองค์
30 มกราคม 1649
พระราชวังไวต์ฮอล, เวสต์มินสเตอร์, อังกฤษ
พระชนมพรรษา 48 พรรษา

(ถูกสำเร็จโทษ)

พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 (สิทธิของบุตรหัวปี)
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2[36]
(Teàrlach II Stiùbhairt)
1649-1651
29 พฤษภาคม 1630
พระราชวังเซนต์เจมส์, เวสต์มินสเตอร์, อังกฤษ
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กับ เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส
แคทเธอรีนแห่งบรากันซา
พอร์ตสมัท, อังกฤษ
14 พฤษภาคม 1662
ไม่มีรัชทายาท
6 กุมภาพันธ์ 1685
พระราชวังไวต์ฮอล, เวสต์มินสเตอร์, อังกฤษ
พระชนมพรรษา 54 พรรษา
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 (สิทธิของบุตรหัวปี)

ราชวงศ์สทิวเวิร์ต (ฟื้นฟู) (ค.ศ. 1660-1707)

[แก้]

หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษราชวงศ์สทิวเวิร์ตก็ได้กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์อีกครั้งหนึ่ง แต่สิทธิของสกอตแลนด์ไม่เป็นที่นับถือเมื่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงยุบรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์และแต่งตั้งพระอนุชาเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คขึ้นไปเป็นข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์ ต่อมาเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1685 แต่ความเป็นโรมันคาทอลิกของพระองค์ไม่เป็นที่ยอมรับกันในอังกฤษและพระองค์ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์สามปีต่อมา เมื่อรัฐบาลอังกฤษอัญเชิญพระราชธิดาของพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระสวามีวิลเลิมที่ 3 แห่งออเรนจ์จากเนเธอร์แลนด์มาครองราชย์แทน หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เป็นพระมหากษัตริย์คู่แห่งสกอตแลนด์ในพระนามสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งสกอตแลนด์

เมื่อความพยายามในการแสวงหาอาณานิคมของสกอตแลนด์ภายใต้แผนการแดเรียน (Darien Scheme) ในการโต้ตอบความพยายามของอังกฤษ ประสบความล้มเหลวและทิ้งสกอตแลนด์ให้อยู่ในฐานะล้มละลาย ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์พระราชธิดาองค์ที่สองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 (เจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ) ขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์มีพระราชโอรสธิดาหลายพระองค์แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่มีพระชนมายุยืนกว่าพระองค์ ถ้าเสด็จสวรรคตผู้ที่ใกล้ราชบัลลังก์ที่สุดก็คือเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตพระอนุชาต่างพระมารดาผู้เป็นโรมันคาทอลิกผู้ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสก็จะได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระองค์ รัฐสภาแห่งอังกฤษจึงหันไปสนับสนุนเจ้าหญิงโซเฟียแห่งฮาโนเวอร์ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทางพระราชธิดาเจ้าหญิงอลิซาเบ็ธ สทิวเวิร์ตให้เป็นรัชทายาท แต่รัฐสภาแห่งสกอตแลนด์สนับสนุนเจ้าชายเจมส์ และขู่อังกฤษว่าจะเพิกถอนตัวจากสหภาพเพื่อจะได้เลือกประมุขของตนเอง เพื่อที่จะรักษาความเป็นสหภาพอังกฤษก็วางแผนรวมสองอาณาจักรเข้าด้วยกันอย่างเป็นทางการเป็นราชอาณาจักรแห่งเกรตบริเตนโดยมีพระมหากษัตริย์ร่วมกันเพียงองค์เดียว ในที่สุดทั้งสองรัฐสภาก็อนุมัติข้อตกลง (ฝ่ายสกอตแลนด์จำยอมเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจจากความพยายามในการแสวงหาอาณานิคมที่ประสบความล้มเหลว) หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักร

ภาพ พระนาม พระราชวงศ์ พระราชสมภพ/ทรงราชย์/สวรรคต
พระเจ้าชาลส์ที่ 2
Charles II of England
(ฟื้นฟู)
(Teàrlach II Stiùbhairt)
โอรสในชาลส์ที่ 1 พระราชสมภพ: 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630
ทรงราชย์: 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660-6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685
ราชาภิเษก: 1 มกราคม ค.ศ. 1651
สวรรคต: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685
พระเจ้าเจมส์ที่ 7
(เจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ)
James II of England
(Seumas VII Stiùbhairt)
โอรสในชาลส์ที่ 1 พระราชสมภพ: 14 ตุลาคม ค.ศ. 1633
ทรงราชย์: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685-11 เมษายน ค.ศ. 1689
สวรรคต: 16 กันยายน ค.ศ. 1701
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2
(แมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ)
Mary II of England
(Mairi II Stiùbhairt)
พระราชธิดาใน
เจมส์ที่ 2
พระราชสมภพ: 30 เมษายน ค.ศ. 1662
ทรงราชย์: 11 เมษายน ค.ศ. 1689-28 ธันวาคม ค.ศ. 1694
ครองร่วมกับวิลเลียมที่ 3
สวรรคต: 28 ธันวาคม ค.ศ. 1694
พระเจ้าวิลเลียมที่ 2,
(also วิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ
)
William III of England
(Uilleam Orains, "William of Orange")
พระนัดดาใน
ชาลส์ที่ 1
พระสวามีใน
แมรีที่ 2
พระราชสมภพ: 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650
ทรงราชย์: 11 เมษายน ค.ศ. 1689-8 มีนาคม ค.ศ. 1702
ครองร่วมกับแมรีที่ 2
สวรรคต: 8 มีนาคม ค.ศ. 1702
สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์
Anne of Great Britain
(Anna Stiùbhairt)
พระราชธิดาใน
เจมส์ที่ 2
พระราชสมภพ: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1665
ทรงราชย์: 8 มีนาคม ค.ศ. 1702-1 สิงหาคม ค.ศ. 1714
พระราชบัญญัติสหภาพรวมสกอตแลนด์และอังกฤษ
ก่อตั้งเป็นบริเตนใหญ่
สวรรคต: 1 สิงหาคม ค.ศ. 1714

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1707 หลังจากสกอตแลนด์รวมกับอังกฤษเป็นบริเตนใหญ่ บรรดาศักดิ์ พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต และ พระมหากษัตรีย์แห่งชาวสกอต ก็กลายเป็นบรรดาศักดิ์ที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นพระมหากษัตริย์ของสกอตแลนด์หลังจากนั้นจึงรวมอยู่ในรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Broun, Scottish Independence. pp. 71–97.
  2. Skene, Chronicles, p. 83.
  3. Skene, Chronicles, p. 85.
  4. Skene, Chronicles, p. 87.
  5. Hudson, Celtic Kings, p. 58.
  6. Skene, Chronicles, p. 91; Hudson, Celtic Kings, p. 65.
  7. Skene, Chronicles, p. 93.
  8. Skene, Chronicles, p. 94.
  9. His name is a Gaelicization of the Norse name Hildufr (or perhaps English Eadulf); it occurs in various contemporary Gaelic forms, such as Iondolbh, found in the Duan Albanach; Ildulb is used because by some historians because it correctly represents the name Hildulfr in Gaelic orthography; Eadwulf would perhaps be Idulb, hence that form is also used sometimes. The name never came into wider use in the Scottish world, or the Gaelic world more generally, and has no modern form. The name "Indulf" is a spelling produced by later medieval French influence; Hudson, Celtic Kings, p, 89.
  10. Duan Albanach, 23 here; as Dub means "Black", "Dub the Black" is tautologous.
  11. Skene, Chronicles, p. 95.
  12. Skene, Chronicles, p. 96.
  13. Former probable because later English (speaking) sources called him "Grim"; Old Irish donn has similar meaning to Old Irish greimm, which means "power" or "authority"; see Skene, Chronicles, p. 98; Hudson, Celtic Kings, p. 105.
  14. Skene, Chronicles, pp. 99–100.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-13. สืบค้นเมื่อ 2013-05-23.
  16. Skene, Chronicles, p. 101.
  17. 17.0 17.1 Skene, Chronicles, p. 102.
  18. Anderson, Early Sources, vol. i, p. 603.
  19. This name was probably only originally applied to Mael Coluim IV, Mael Coluim III's grandson, and then later confused; see Duncan, Kingship of the Scots, pp. 51–52, 74–75; Oram, David I, p. 17, note 1. Cenn Mór certainly means "great chief" rather than "big head", as sometimes thought.
  20. Anderson, Early Sources, vol. ii, p. 141.
  21. This nickname however is not attested for another three centuries, in the work of Andrew of Wyntoun.
  22. "Robert I (r. 1306-1329)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  23. Robert The Bruce. Publisher: Heinemann. ISBN 0-431-05883-0.
  24. "Robert I (r. 1329-1371)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  25. "Edward Balliol (r. for periods 1332-1356)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  26. "Robert II (r. 1371-1390)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  27. "Robert III (r. 1390-1406)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  28. "James I (r. 1406-1437)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  29. "James II (r. 1437-1460)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  30. "James III (r. 1460-1488)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  31. "James IV (r. 1488-1513)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  32. "James V (r. 1513-1542)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  33. "Mary, Queen of Scots (r. 1542-1567)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  34. "James VI and I (r. 1567-1625)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  35. "Charles I (r. 1625-1649)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  36. "Charles II (r. 1660-1685)". royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.

ดูเพิ่ม

[แก้]