รัฐมณีปุระ
รัฐมณีปุระ | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: นิงตูโขงโคปีนาถมนเทียร, กังคลาชา, The Henglep, การร่ายรำแบบมณีปุระ, ทะเลสาบโลกตัก | |
ประเทศ | อินเดีย |
ก่อตั้ง | 21 มกราคม 1972† |
เมืองหลวง | อิมผาล |
อำเภอ | 16 |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าการรัฐ | นชมา เหปตุลละ[1] |
• มุขยมนตรี | เอ็น. พิเรน สิงห์ (BJP)[2] |
• นิติบัญญัติ | ระบบสภาเดี่ยว (60 ที่นั่ง) |
• รัฐสภา | ราชยสภา 1 โลกสภา 2 |
• ศาลสูง | ศาลสูงมณีปุระ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 22,327 ตร.กม. (8,621 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 23 |
ประชากร (2011[3]) | |
• ทั้งหมด | 2,855,794 คน |
• อันดับ | ที่ 23 |
• ความหนาแน่น | 130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+05:30 (IST) |
รหัส ISO 3166 | IN-MN |
เอชดีไอ (2018) | 0.696[4] ปานกลาง · ที่ 15 |
การรู้หนังสือ | 79.85% (ที่ 16) |
ภาษาทางการ | ภาษามณีปุระ (เมเต)[5][6] |
เว็บไซต์ | www.manipur.gov.in |
† It elevated from the status of Union-Territories by the North-Eastern Areas (Reorganisation) Act 1971 | |
สัญลักษณ์ | |
ตรา | กังคลชา |
ภาษา | มณีปุระ (เมเต) |
เพลง | Sana Leibak Manipur (Manipur, Land of Gold) |
สัตว์ | ซังไก (Rucervus eldii eldii) |
สัตว์ปีก | ไก่ฟ้าหางลายขวาง (Syrmaticus humiae) |
ดอกไม้ | Shirui lily (Lilium mackliniae) |
ต้นไม้ | Uningthou (Phoebe hainesiana) |
มณีปุระ เป็นรัฐในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเมืองหลวงคือเมืองอิมผาล[7] อาณาเขตติดต่อกับรัฐนาคาแลนด์ทางเหนือ; รัฐมิโซรัมและประเทศพม่า (รัฐชีน) ทางใต้; รัฐอัสสัมทางตะวันตก และประเทศพม่า (เขตซะไกง์) ทางตะวันออก รัฐมีพื้นที่รวม 22,327 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเกือบ 3 ล้านคน ซึ่งมีชาวกระแซ (เมเต) เป็นกลุ่มหลัก และยังมีชาว Pangals หรือ Pangans (มุสลิมมณีปุระ), ชนเผ่านาคา, ชนเผ่า Kuki/Zo เป็นต้น มณีปุระตั้งอยู่ตรงรอยต่อของจุดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของเอเชีย เป็นเวลามากกว่า 2,500 ปีมาแล้ว[8] ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่จุดเชื่อมต่อของอนุทวีปอินเดียกับเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน เอเชียตะวันออก ไซบีเรีย ไมโครนีเซีย และพอลินีเชีย[9][10]
ศาสนา
[แก้]ศาสนาฮินดู
[แก้]จากการสำรวจสำมะโนประชากรของอินเดียปี 2554 ประชากรรัฐมณีปุระประมาณ 41.39% นับถือศาสนาฮินดูและ 41.29% นับถือศาสนาคริสต์
ชาว Meitei เป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐมณีปุระ นับถือศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่และอาศัยกระจุกตัวกันในหุบเขามณีปุระ และที่เหลือประมาณ 14% ของชาว Meitei ปฏิบัติลัทธิซานามาห์ (Sanamahism) ส่วนในเขตอื่น ๆ ได้แก่ Bishnupur, Thoubal, Imphal East และ Imphal West มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูเฉลี่ย 67.62% (ช่วง 62.27–74.81%) ตามข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2554 [12]
ไวษณพนิกายฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติของราชอาณาจักรมณีปุระ ในปีค.ศ. 1704 เมื่อกษัตริย์ Charairongba ยอมรับไวษณพนิกายและเปลี่ยนชื่อเป็น Pitambar Singh [13] อย่างไรก็ตามวัดฮินดูแห่งแรกถูกสร้างขึ้นก่อนหน้านี้มาก โดยพบแผ่นทองแดงที่ขุดจากเมือง Phayeng มีอายุย้อนหลังไปถึงปีค.ศ. 763 (รัชสมัยของพระเจ้าคงเตชา) มีจารึกเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดูเป็นคำภาษาสันสกฤต [14] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 กษัตริย์ Meidingu Khumomba ได้สร้างวิหารหนุมาน [15] วัดวิษณุที่ละมังดงสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1474 (ในรัชสมัยของกษัตริย์คิยัมภา) โดยพราหมณ์จากรัฐฉาน ตามตำนานวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งของสัญลักษณ์พระวิษณุที่มอบให้แก่กษัตริย์ คิยัมภา โดยกษัตริย์เขคคัมภาแห่งรัฐฉาน และ Phurailatpam Shubhi Narayan เป็นนักบวชพราหมณ์คนแรกของวัดนี้ [16]
ศาสนาคริสต์
[แก้]ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีประชากรใหญ่เป็นอับดับสองในรัฐมณีปุระ มีประมาณ 41% ของประชากรรัฐมณีปุระ มิชชันนารีโปรเตสแตนต์เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในมณีปุระในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการจัดตั้งโรงเรียนคริสเตียน 2 - 3 แห่งซึ่งเปิดสอนการศึกษาแบบตะวันตก โรงเรียนคาทอลิกเช่น Little Flower School in Imphal, Don Bosco High School ใน Imphal, St. Joseph's Convent และ Nirmalabas High School ยังคงเปิดดำเนินการในมณีปุระ ประชากรส่วนใหญ่ในเขตภูเขานับถือศาสนาคริสต์ [12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Guv Dr Najma Heptulla presents Ustad Bismillah Khan Puraskar". United News of India. 19 August 2019. สืบค้นเมื่อ 18 October 2019.
- ↑ BJP leader Biren Singh sworn in as Manipur Chief Minister เก็บถาวร 15 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, India Today (15 March 2017)
- ↑ "Manipur Population Sex Ratio in Manipur Literacy rate data". census2011.co.in. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2015.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "At a Glance « Official website of Manipur". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2016.
- ↑ Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2000 เก็บถาวร 8 ธันวาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Census of India, 2001
- ↑ Manipur: Treatise & Documents, Volume 1, ISBN 978-8170993995, Introduction
- ↑ Naorem Sanajaoba (editor), Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization, Volume 4, Chapter 1: NK Singh, ISBN 978-8170998532
- ↑ Naorem Sanajaoba (editor), Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization, Volume 4, Chapter 4: K Murari, ISBN 978-8170998532
- ↑ "Trade connection of Manipur with Southeast Asia in Pre British period Part 2 by Budha Kamei". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018.
- ↑ "Population by religion community - 2011". Census of India, 2011. The Registrar General & Census Commissioner, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2015.
- ↑ 12.0 12.1 "Census of India : C-1 Population By Religious Community". censusindia.gov.in. Archived from the original on 13 September 2015. Retrieved 1 September 2015. https://www.censusindia.gov.in/2011census/C-01.html
- ↑ https://shodhganga.inflibnet.ac.in/bitstream/10603/93320/11/11_chapter%204.pdf
- ↑ 14.139.13.47:8080/jspui/bitstream/10603/249207/6/06_chapter-ii.pdf
- ↑ Sanajaoba, Naorem (1988). Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization. ISBN 9788170998532
- ↑ https://www.sahapedia.org/the-vaishnava-temples-of-manipur-historical-study