ธารทอง ทองสวัสดิ์
ธารทอง ทองสวัสดิ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2538–2543) ประชาธิปัตย์ (2543–2547) มหาชน (2547–2549) เพื่อแผ่นดิน (2550–?) |
รองศาสตราจารย์ ธารทอง ทองสวัสดิ์ (เกิด 26 ธันวาคม พ.ศ. 2492) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 2 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำปาง และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ประวัติ
[แก้]รองศาสตราจารย์ ดร. ธารทอง ทองสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง เป็นบุตรสาวคนเดียวของ นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง กับ นางเทียมจันทร์ ทองสวัสดิ์ หรือ เทียมจันทร์ วานิชขจร อดีตรองนางสาวไทย อันดับ 2 ปี พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต (การต่างประเทศและการทูต) เกียรตินิยม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิงห์ดำ รุ่น 20 ปริญญาโท M.P.A. (รัฐประศาสนศาสตร์.) จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทอร์ และ M.A. (เศรษฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก Ph.D. (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]รองศาสตราจารย์ ดร.ธารทอง เป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] ก่อนเข้าสู่การเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติพัฒนา ในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย[2] นอกจากนี้ยังมีผลักดันกฎหมายสิทธิ์สตรีหลายฉบับ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัคร ส.ส. จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ก็ได้ลงสมัคร ส.ส.จังหวัดลำปาง สังกัด พรรคมหาชน แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในในปี พ.ศ. 2549 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา โดยได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 1[3][4]
ในปี 2550 ดร.ธารทอง ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง ในสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วารสารยุโรปศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=2130[ลิงก์เสีย]
- ↑ ลูกสาว “ปู่เท่ง” จูงมืออดีตผู้ว่าฯลำปาง คว้าเก้าอี้ ส.ว.ลำปาง
- ↑ ตารางออกอากาศ แนะนำตัว ส.ส. แบบแบ่งเขต จ.ลำปาง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
{อายุขัย|2492}}
- บุคคลจากอำเภอเสริมงาม
- นักการเมืองจากจังหวัดลำปาง
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำปาง
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคมหาชน
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- บุคคลจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเยล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์