ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติบึงกาฬ

พิกัด: 18°19′48″N 103°33′43″E / 18.33000°N 103.56194°E / 18.33000; 103.56194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานบึงกาฬ
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ - กองทัพไทย
พื้นที่บริการจังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย
ที่ตั้งบ้านดอนปอ ตำบลโนนสว่าง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย
เปิดใช้งานพ.ศ. 2572
พิกัด18°19′48″N 103°33′43″E / 18.33000°N 103.56194°E / 18.33000; 103.56194
แผนที่
แผนที่

ท่าอากาศยานบึงกาฬ เป็นโครงการก่อสร้างสนามบินแห่งแรกและจะเป็นท่าอากาศยานที่ทันสมัยที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทยและในจังหวัดบึงกาฬ[1] ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้มีการก่อสร้างจากทางรัฐบาล โดยพลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้เสนอแผนการจัดสร้างท่าอากาศยานแห่งแรกในจังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 ในโอกาสที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดอุดรธานี เพื่อประชุมการดำเนินงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[2]

ที่ตั้งท่าอากาศยาน

[แก้]
แบบอาณาเขตบริเวณสถานที่ก่อสร้างท่าอากาศยานจังหวัดบึงกาฬ

สถานที่ก่อสร้างท่าอากาศยานตั้งอยู่ ณ ที่ บ้านดอนปอ ตำบลโนนสว่าง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ระยะห่างจากตัวจังหวัดบึงกาฬ ประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองคาย - บึงกาฬ โดยได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติบึงกาฬจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับงบประมาณศึกษาเบื้องต้นประมาณ 18 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมของสถานที่ในการก่อสร้าง[3]

ประวัติการก่อสร้าง

[แก้]

การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ที่ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานที่ประชุม ได้เสนอให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยาน จังหวัดบึงกาฬ เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว จากปัจจุบันที่การเดินทางด้วยเครื่องบินมีศูนย์กลางอยู่ที่ จังหวัดอุดรธานี[4]

กระทรวงมหาดไทยเตรียมพื้นที่ไว้ 2 แปลง 4,714 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา ถ้าดำเนินการจะใช้งบราว 2,000 ล้านบาท เริ่มช่วงปี พ.ศ. 2562 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง ช่วงแรกอาจจะขาดทุน แต่อนาคตจะเป็นสนามบินที่มีคนนิยมมาก โดยเฉพาะอยู่ริมแม่น้ำโขง แม่น้ำสำคัญที่สุดของอาเซียน ซึ่งเป็นถนนเลียบริมโขง เส้นทางจักรยาน ผ่านธรรมชาติ ผ่านวัฒนธรรม อยู่ระหว่างการศึกษาในขณะนี้

พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า

การเตรียมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาคอีสานตอนบนต้องให้ความสำคัญกับประเทศลาว ซึ่งถือเป็นจุดที่ต้องผ่านไปสู่ประเทศจีนและประเทศเวียดนาม ที่ผ่านมาได้หารือกับประเทศลาวในการกำหนดพื้นที่เชื่อมโยงไว้ 4 จุด ประกอบด้วย จังหวัดหนองคาย ซึ่งจะมีทั้งถนนและรถไฟ จังหวัดมุกดาหาร ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี และที่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งจะต้องมีสนามบิน และในเร็วๆ นี้จะมีการหารือกับประเทศเวียดนามต่อไป

— พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง

[5]

โครงการพื้นฐานมีความจำเป็นต้องเร่งรัด ทางบกแผนพัฒนาเส้นทางตะวันตก - ตะวันออกตอนบน แม่สอด - จังหวัดมุกดาหาร ตอนกลางท่าเรือทวาย - ชายแดนกัมพูชา และตอนใต้ของจังหวัดสตูล - จังหวัดสงขลา ตลอดจนโครงข่ายถนนเชื่อมแต่ละจังหวัด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]