ข้ามไปเนื้อหา

ต้มจิ๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้มจิ๋ว
ชื่ออื่นต้มจิ่ว
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภูมิภาคภาคกลาง
ผู้สร้างสรรค์พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเนื้อวัว, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ

ต้มจิ๋ว หรือ ต้มจิ่ว เป็นอาหารไทยโบราณ เป็นต้มรสเผ็ดร้อน เค็มนำเปรี้ยว ใส่ใบโหระพาและหอมหัวใหญ่ นิยมต้มกับเนื้อวัวที่ติดเอ็นหรือเนื้อน่องลาย ใส่อบเชย มันฝรั่งหรือมันเทศ และมะเขือเทศ โรยหอมเจียว ลักษณะคล้ายซุปหางวัว[1] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ จะสุวรรณ์ ระบุว่าเสน่ห์ของต้มจิ๋วอยู่ที่รสเปรี้ยว "...จากเนื้อมะม่วง หั่นเป็นลูกเต๋า เนื้อหมู หรือเนื้อวัวหั่นเต๋า หอมหัวใหญ่ มันฝรั่งหั่นเต๋า ถ้าทำอาหารถวายต้องชิ้นพอคำ ในหนึ่งช้อนต้องมีทุกอย่างครบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของต้มจิ๋ว"[2]

หม่อมหลวงอารชว วรวรรณ ให้ข้อมูลว่าต้มจิ๋วเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นสูตรอาหารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท โดยเขากล่าวไว้ว่า "...เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น ทรงสนพระทัยประกอบเครื่องเสวยถวายสมเด็จพระบรมราชชนกทั้งในยามทรงประชวรและทรงพระสำราญ เครื่องปรุงทรงเลือกที่มีคุณค่าทางอาหารและเป็นยาในตัว..."[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สุมล ว่องวงศ์ศรี. จานอร่อยจากปู่ย่า สูตรโบราณ ๑๐๐ ปี. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2557, หน้า 174.
  2. 2.0 2.1 ปิ่นอนงค์ ปานชื่น (31 พฤษภาคม 2559). "อาหารโบราณ 4 แผ่นดิน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)