สารประกอบ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม
ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ [อัลลอย] (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้
ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound)
ประเภทของสารประกอบ
- กรด
- เบส
- สารประกอบไอออนิก (ionic compound)
- ออกไซด์
- สารประกอบอินทรีย์
ประเภทสารประกอบจำแนกตามพันธะภายในสารประกอบ
- พันธะโคเวเลนต์ (Covalent Bond) เป็นพันธะที่มีการใช้อิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกันเพื่อให้ครบตามกฎออกเตต (Octet's Rule) คือมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดครบ 8 ตัว ซึ่งยังมีพันธะโคเวเลนต์อีกชนิดหนึ่งคือ พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ (Coordinate Covalent Bond) ซึ่งเกิดจากการที่อะตอมหนึ่งให้อิเล็กตรอนทั้ง 2 ตัวแก่อิเล็กตรอนอีกตัวหนึ่งใช้ร่วมกัน สารประกอบเหล่านี้เรียกว่า สารประกอบโคเวเลนต์ (Covalent Compound)
- พันธะไอออนิก (Ionic Bond) เป็นพันธะที่เกิดจากการเสียและรับอิเล็กตรอนของอะตอมและเกิดแรงทางไฟฟ้าซึ่งกันและกันระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ เกิดเป็นโครงผลึกขนาดยักษ์ ไม่มีโมเลกุล ซึ่งไอออนบวกและไอออนลบนี้จะเป็นอะตอมหรือกลุ่มอะตอมก็ได้ สารประกอบเหล่านี้เรียกว่า สารประกอบไอออนิก (Ionic Compound)
- พันธะโครงผลึกร่างตาข่าย เป็นพันธะที่แข็งแรงที่สุด และเป็นพันธะที่ไม่มีโมเลกุล พบในสารประเภท ทราย คาร์โบรันดัม เพชร แกรไฟต์ เป็นต้น