สถานีรถไฟน้ำตก
สถานีรถไฟน้ำตก | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีรถไฟน้ำตก | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | บ้านท่าเสา หมู่ 3 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 3 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ที่จอดรถ | หน้าสถานี | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
สถานะ | ปลายทางสำหรับรถไฟธรรมดา | ||||||||||||||||
รหัสสถานี | 4077 (าต.) | ||||||||||||||||
ประเภท | ชั้น 2 | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 | ||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||
2564 | ประมาณ 50 คน/วัน | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟน้ำตก (อังกฤษ: Nam Tok Railway Station) เดิมชื่อ สถานีท่าเสา อยู่ในเส้นทางรถไฟสายใต้ (ช่วงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก - สถานีรถไฟน้ำตก) หรือทางรถไฟสายตะวันตก โดยเป็นสถานีรถไฟปลายทางสำหรับการเดินรถเชิงสังคมมาถึงแค่สถานีนี้ (ยกเว้นรถไฟเชิงพาณิชย์) ซึ่งเป็น 1 ใน 6 สถานีรถไฟของเส้นทางนี้ที่เป็นระดับสถานีชั้น 2
สถานีรถไฟน้ำตก ตั้งอยู่ระหว่างสถานีบ้านพุพง หรือป้ายหยุดรถไฟบ้านพุพง กับสถานีรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย หรือที่หยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย
สถานีรถไฟน้ำตกมีจำนวนย่านทางรถไฟ 4 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 1 ทาง ทางตัน 2 ทาง (อยู่บนเนินเขาบริเวณย่านสถานี) รางติดชานชาลา 1 ทาง
ประวัติ
สถานีรถไฟน้ำตก เดิมชื่อ สถานีท่าเสา สร้างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรกวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ในช่วงที่ 3 ของการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายน้ำตก (หนองปลาดุก-น้ำตก)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 การก่อสร้างรถไฟสายไทยพม่า (ทางรถไฟสายมรณะ)
ในสมัยนั้นสถานีรถไฟน้ำตกยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นหนึ่งในสถานีรถไฟในอนาคตของการฟื้นฟูทางรถไฟสายหนองปลาดุก - น้ำตก ในยุคหลังต่อมา โดยช่วงนั้นทางประเทศไทยยอมให้จักรวรรดิญี่ปุ่นโดยปริยาย เพื่อขอสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า เพื่อขนส่งยุทโธปกร เสบียงและอาวุธ เพื่อให้กองทัพแนวหน้าของญี่ปุ่นที่ทำสงครามอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตรประเทศอังกฤษที่ชายแดนประเทศพม่า-อินเดียโดยรัฐบาลญี่ปุ่นยืมเงินจากรัฐบาลไทยจำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรที่เกณฑ์จากสิงคโปร์และกรรมกรชาวเอเชีย ที่กองทัพญี่ปุ่นนำมาเพื่อมาสร้างใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า
การแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ของจักรวรรดิญี่ปุ่น
หลังการพ้ายแพ้สงครามทางฝ่ายสัมพันธมิตรของอังกฤษได้ยึดและรื้อทางรถไฟสายนี้ออก โดยทางรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก ส่วนเส้นทางที่เหลือจากสถานีน้ำตกไทรโยคน้อย - สถานีรถไฟด่านพระเจดีย์สามองค์ ยากต่อการฟื้นฟูจากภูมิประเทศ และบางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์
การฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก-สถานีรถไฟน้ำตก และการก่อสร้างสถานีรถไฟน้ำตก
การฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-น้ำตกใหม่ก่อให้เกิดสถานีรถไฟที่มากขึ้น สำหรับการคมนาคมของคนในท้องถิ่นซึงต่างจากสมัยสงคามโลกครั้งที่ 2 โดยการฟื้นฟูช่วงแรกจากสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก - สถานีรถไฟกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร ได้แล้วเสร็จเปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ช่วงที่ 2 สถานีรถไฟกาญจนบุรี - สถานีรถไฟวังโพ ระยะทาง 61 กิโลเมตร โดยในช่วงนี้มีสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำแควใหญ่ สะพานเลียบแม่น้ำแควน้อย และภูเขาถ้ำกระแซ ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นฟู โดยแล้วเสร็จและเปิดการเดินรถเมื่อเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 และช่วงที่ 3 ส่วนที่เหลืออีก 16 กิโลเมตร จากสถานีรถไฟวังโพ - สถานีรถไฟน้ำตก (สถานีรถไฟท่าเสา เดิม) นั้นได้สร้างพร้อมกับทางรถไฟช่วงที่ 2 แต่เนื่องจากการปรับปรุงสะพานเหล็กตอนถ้ำชะนีและฟื้นฟูทางบริเวณผ่านหน้าผาอย่างยากลำบาก จึงได้ล่าช้ากว่ากำหนด แล้วเสร็จจึงได้เปิดการเดินรถอย่างเป็นทางการตลอดสายเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการสร้างป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อยเพื่อเป็นการโปรโมท์การท่องเที่ยวอีกด่วย ซึ่งปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงคราม แล้วยังเป็นเส้นทางรถไฟสำหรับท่องเที่ยวระดับต้นๆอีกด้วยเมื่อมีการพูดถึง[1]
การเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟน้ำตก
จากการกล่าวข้างต้นว่าสถานีรถไฟน้ำตกนั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-น้ำตก ซึ่งไม่ใช่สถานีรถไฟไฟเดิมจากสงครามโลกครั้งที่2 โดยปกติแล้วการตั้งชื่อสถานีรถไฟนั้นจะตั้งจากชื่อของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยในช่วงแรกสถานีรถไฟน้ำตก ได้ใช้ชื่อว่าสถานีรถไฟท่าเสา แต่ยังไม่มีการเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งเมื่อ 8 เมษายน พ.ศ. 2496 ตามคำสั่งที่ก.113/3050 ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสถานีรถไฟน้ำตกและเปิดเดินรถเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 สาเหตุเนื่องจากชื่อสถานีรถไฟท่าเสาเดิมคล้องกับสถานีรถไฟท่าเสา (ที่หยุดรถไฟท่าเสา ในปัจจุบัน) ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ในเส้นทางสายเหนือ และเพื่อให้คล้องกับสถานที่ไกล้เคียงของสถานีรถไฟน้ำตก คือน้ำตกเขาพัง ที่ห่างจากสถานีประมาณ 1 กิโลเมตร จึงใช้ชื่อว่าน้ำตกที่ใช้จนถึงปัจจุบัน[2]
ตารางเดินรถสถานีรถไฟน้ำตก
- ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2564
เที่ยวไป
มีจำนวน 5 ขบวน หยุดสถานี 5 ขบวน
ขบวนรถ | ต้นทาง | น้ำตก | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ท485 | ชุมทางหนองปลาดุก | 06.08 | ปลายทาง | น้ำตก | 08.20 | ||
น909 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.30 | 11.25 | น้ำตกไทรไยคน้อย | 11.30 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
ธ257 | ธนบุรี | 07.45 | ปลายทาง | น้ำตก | 12.35 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
เที่ยวกลับ
มีจำนวน 4 ขบวน หยุดสถานี 4 ขบวน
ขบวนรถ | ต้นทาง | น้ำตก | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ธ260 | น้ำตก | 05.20 | ต้นทาง | ธนบุรี | 09.50 | ||
ธ258 | น้ำตก | 12.55 | ต้นทาง | ธนบุรี | 17.40 | ||
น910 | น้ำตกไทรไยคน้อย | 14.25 | 14.20 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 19.25 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
ท486 | น้ำตก | 15.30 | ต้นทาง | ชุมทางหนองปลาดุก | 17.33 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
อ้างอิง
- ↑ ตำนานแห่งรถไฟไทย สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563
- ↑ รีวิวรถนำเที่ยว : แลน้ำตกไทรโยค บนเส้นทางสายมรณะสืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีรถไฟน้ำตก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์