ธีรัจชัย พันธุมาศ
ธีรัจชัย พันธุมาศ | |
---|---|
ธีรัจชัย ใน พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 18 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 227 วัน) | |
ก่อนหน้า | เขตเลือกตั้งใหม่ |
เขตเลือกตั้ง | เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงลำต้อยติ่ง, แขวงลำผักชี, และแขวงโคกแฝด), เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลำปลาทิว), และเขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ) |
คะแนนเสียง | 36,884 |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2507 กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2545–2549) มัชฌิมาธิปไตย (2550–2551) รักษ์สันติ (2554–2561) อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
อาชีพ | ทนายความ นักการเมือง |
ธีรัจชัย พันธุมาศ (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2507) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 18 สังกัดพรรคประชาชน และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง
ประวัติ
ธีรัจชัยเกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ในกรุงเทพมหานคร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมและศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา จากนั้นได้ศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต (NIDA)[1]
งานการเมือง
ธีรัจชัยเริ่มทำงานด้วยการเป็นทนายความตั้งแต่ พ.ศ. 2534[1] จากนั้นเข้าสู่การเมืองด้วยการทำงานในฝ่ายกฎหมายของพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2545[2] และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึงปี พ.ศ. 2546 จึงย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2548[1][3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ธีรัจชัยลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่ง สส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 6 ลำดับที่ 4 สังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ธีรัจชัยลงสมัครรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร เขต 15 สังกัด พรรครักษ์สันติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2561 ธีรัจชัยได้เข้าร่วมพรรคอนาคตใหม่ และลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 47 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก[5] เขามีผลงานโดดเด่นในการอภิปรายคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563[6] ภายหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาขยับไปลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานคร เขต 18 และได้รับเลือกตั้ง[7]
ภายหลังพรรคก้าวไกลถูกยุบเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม เขา ได้ย้ายสังกัดไปพรรคประชาชนเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ใน ปีเดียวกัน[8]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ธีรัจชัยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล → พรรคประชาชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[9]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 ธีรัจชัย พันธุมาศ. (2551). ภาวะผู้นำของโจโฉในวรรณกรรมสามก๊ก. [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า ได้จาก: https://www.kpi-lib.com/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=mmvw&db=Main&skin=S&mmid=5186&bid=12876
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2023-05-30). "เปิดประวัติ "ธีรัจชัย พันธุมาศ" ตัวเต็งประธานสภาฯ". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "ธีรัจชัยพันธุมาศ". election66.moveforwardparty.org.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ "ธีรัจชัย ยันติดคุกออสเตรเลีย 4 ปีขาดคุณสมบัติเป็น รมต. – ธรรมนัส โต้แปลคำพิพากษามั่ว". workpointTODAY.
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง สส. ทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566". ectreport66.ect.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
- ↑ "บ้านใหม่ก้าวไกล ยักไหล่-ไปต่อ "พรรคประชาชน"". Thai PBS.
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๕๖๒. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2563