ทีบส์
Waset طيبة Θῆβαι | |
ที่ตั้ง | ลักซอร์ เขตผู้ว่าการลักซอร์ ประเทศอียิปต์ |
---|---|
ภูมิภาค | อียิปต์ตอนบน |
พิกัด | 25°43′14″N 32°36′37″E / 25.72056°N 32.61028°E |
ประเภท | ที่อยู่อาศัย |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | ทีบส์โบราณและสุสาน |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | I, III, VI |
ขึ้นเมื่อ | 1979 (สมัยที่ 3) |
เลขอ้างอิง | 87 |
ภูมิภาค | รัฐอาหรับ |
ทีบส์ (อังกฤษ: Thebes; อาหรับ: طيبة; กรีกโบราณ: Θῆβαι, Thēbai) มีชื่อเรียกในอียิปต์โบราณว่า วาเซต (Waset) เป็นนครอียิปต์โบราณริมแม่น้ำไนล์ โดยอยู่ห่างจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ซากโบราณสถานปัจจุบันตั้งอยู่ในนครลักซอร์ของประเทศอียิปต์ ทีบส์เคยเป็นเมืองหลักในคทาโนเม (Sceptre nome) อียิปต์ตอนบนที่ 4 และเป็นเมืองหลวงในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางถึงราชอาณาจักรใหม่ เมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้นูเบียและทะเลทรายตะวันออก ซึ่งมีทรัพยากรแร่และเส้นทางการค้าที่มีความสำคัญ เมืองนี้เคยเป็นศูนย์กลางลัทธิ และเป็นเมืองที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดของอียิปต์โบราณหลายสมัย พื้นที่เมืองทีบส์ครอบคลุมทั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ที่เป็นที่ตั้งของวิหารแห่งคาร์นักและลักซอร์ และทางฝั่งตะวันตกที่มีสุสานส่วนตัวขนาดใหญ่ สุสานหลวง และกลุ่มสุสาน ใน ค.ศ. 1979 ซากทีบส์โบราณได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1]
ภูมินามวิทยา
|
|
|
|
ชื่อภาษาอียิปต์ของทีบส์คือ wꜣs.t แปลว่า "นครแห่ง wꜣs" คทายาวของฟาโรห์ที่มีหัวเป็นสัตว์และฐานปลายง่าม ในช่วงปลายสมัยราชอาณาจักรใหม่ มีชื่อเรียกเป็น niwt-'imn แปลว่า "นครแห่งอามุน" หัวหน้าเทพทั้งสามแห่งทีบส์ (Theban Triad) ส่วนสมาชิกที่เหลือคือมุตกับคนชู ชื่อเมืองทีบส์ยังปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภายใต้ชื่อ "Nōʼ ʼĀmôn" (נא אמון) ในหนังสือนาฮูม[5] และ "No" (נא) ในหนังสือเอเสเคียล[6] กับเยเรมีย์[7][8]
บางครั้งมีการอ้างว่าทีบส์เป็นรูปแผลงเป็นละตินจาก กรีกโบราณ: Θῆβαι ที่แผลงเป็นกรีกจากภาษาอียิปต์ดีมอติกว่า tꜣ jpt ("วิหาร") ซึ่งสื่อถึง jpt-swt ปัจจุบันวิหารนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า คาร์นัก ("หมู่บ้านที่ป้องกันแน่นหนา") ที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโฮเมอร์กล่าวถึงเมโตรปลิสด้วยชื่อเมืองเอง และอักษรดีมอติกยังไม่ปรากฏจนกระทั่งในสมัยต่อมา ทำให้มีผู้สงสัยในศัพทมูลวิทยานี้ โดยข้อมูลจากอีเลียดของโฮเมอร์[9] ระบุว่า ชาวกรีกเรียกทีบส์ของอียิปต์เป็น "ทีบส์ ร้อยประตู" (Θῆβαι ἑκατόμπυλοι, Thēbai hekatómpyloi) เพื่อแยกจาก "ทีบส์ เจ็ดประตู" (Θῆβαι ἑπτάπυλοι, Thēbai heptápyloi) ที่Boeotia ประเทศกรีซ[n 1]
หมายเหตุ
อ้างอิง
- ↑ "Ancient Thebes with its Necropolis". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
- ↑ Adolf Erman and Hermann Grapow: Wörterbuch der ägyptischen Sprache. Akademie Verlag, Berlin 1971. p. 259.
- ↑ Erman/Grapow: Wörterbuch der ägyptischen Sprache, p. 211.
- ↑ Erman/Grapow: Wörterbuch der ägyptischen Sprache, pp. 54,479.
- ↑ นาฮูม 3:8
- ↑ เอเสเคียล 30:14–16
- ↑ เยเรมีย์ 46:25
- ↑ Huddlestun, John R. “Nahum, Nineveh, and the Nile: The Description of Thebes in Nahum 3:8–9.” Journal of Near Eastern Studies, vol. 62, no. 2, 2003, pp. 97–98.
- ↑ Iliad, IV.406 และ IX.383.
- ↑ Description of Greece, IX.16 §1.
แหล่งข้อมูลอื่น
- More information on ancient Thebes, a World Cultural Heritage site
- Theban Mapping Project
- Ramesseum/Ancient Thebes Digital Media Archive (photos, laser scans, panoramas) เก็บถาวร 2011-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, data from an Egyptian Supreme Council of Antiquities/CyArk research partnership
- ICOMOS Heritage at Risk 2001/2002