ญะฮันนัม
ญะฮันนัม (อาหรับ: جهنم) ในศาสนาอิสลามมักสื่อถึงสถานที่ลงโทษผู้ปฏิเสธศรัทธาในชีวิตหลังความตาย การลงโทษจะหนักหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบาปกรรมที่ทำตอนยังมีชีวิต[1] ส่วนในอัลกุรอาน ญะฮันนัมมักถูกอ้างอิงในชื่อ อันนาร (النار ("ไฟ")),[2] ญะฮีม (جحيم ("ไฟที่ลุกโชน"))[3], ฮุฏอมะฮ์ (حطمة ("สิ่งที่แตกเป็นชิ้นๆ"))[4], ฮาวิยะฮ์ (هاوية ("เหวลึก"))[5], ละซอ (لظى), ซะอีร์ (سعير ("ประกายไฟ"))[6], ซะก็อร (سقر)[7][8] และเป็นชื่อของประตูนรกต่าง ๆ[9]
หลักฐาน
ชาวมุสลิมส่วนใหญ่รู้เรื่องนี้มาจากคำภีร์อัลกุรอาน รายงานจากEinar Thomassen นักวิชาการที่พบข้อมูลเกี่ยวกับญะฮันนัม/นรกอยู่เกือบ 500 แห่ง (โดยมีชื่อที่แตกต่างกัน) ในอัลกุรอาน[10]
กุรอาน
ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงนรกไว้หลายแบบ อัน-นาร (ไฟ) ถูกใช้ไป 125 ครั้ง, ญะฮันนัม 77 ครั้ง, ญะฮีม (ประกายไฟ) 26 ครั้ง[11] และอธิบายถึงคุณลักษณะของนรกไว้หลายแบบ[12] เช่น มีความโหดร้าย, น้ำเดือด[13] ลมร้อน และควันดำ[14] เสียงตะคอกและเสียงน้ำเดือด[15] ซึ่งทำให้ผู้อยู่ในนั้นหมดหวังและร้องไห้[16] ผิวที่ถูกไหม้ถูกเปลี่ยนเป็นผิวใหม่เพือที่จะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวด,[17] การดื่มน้ำที่เป็นหนอง และความตายปรากฏทุกด้านแต่พวกเขากลับไม่ตาย[18] พวกเขาถูกขึงด้วยโซ่ยาว 70 ศอก[19] ใส่เสื้อที่ทำมาจากไฟ และมีไฟล้อมรอบหน้าของพวกเขา[20] แล้วถูกราดน้ำเดือดไว้บนหัว ทำให้ผิวหนังและสิ่งที่อยู่ด้านในละลาย และถูกแขวนด้วยตะขอเหล็กเพื่อที่จะดึงพวกเขากลับถ้าพวกเขาพยายามที่จะหนี[21] พวกเขายอมรับการทำผิด และการวิงวอนขอการให้อภัยนั้นไม่เป็นที่ตอบรับ[22][23][24]
มีการอธิบายถึงญะฮันนัมว่า มันอยู่ใต้สวรรค์[25][26] มี 7 ประตู แต่ละประตูจะมีไว้สำหรับกลุ่มหนึ่ง[9]ของผู้ทำบาป. ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงผู้ทำความผิดที่ "ถูกลงโทษตามผลกรรมที่ตนก่อไว้"[27] ส่วนพวกหน้าไหว้หลัวหลอกจะอยู่ในนรกชั้นที่ต่ำที่สุด[11][28]
ภาพลักษณ์ของญะฮันนัม
นรกญะฮันนัมมักถูกกล่าวว่าเป็นเหวที่มีลมที่แผดเผาและมีสะพานอัซ-ซิรอตอยู่ด้านบน โดยที่ประตูนรกจะมีเทวทูตมาลิกและบรรดาเทวทูตของท่านคุมอยู่ และในส่วนลึกของญะฮันนัมจะมีต้นซักกูมที่มีผลเหมือนหัวปิศาจ และผู้ที่ทำบาปจะถูกทรมานโดยซะบานิยะฮ์ ส่วนอัลกุรอาน 4:168 และอัลกุรอาน 37:23 กล่าวถึงเส้นทางที่พาไปนรก[11] [6]
สถานที่ตั้งของนรก
นักวิชาการมีความคิดที่ต่างกันเกี่ยวกับที่ตั้งของนรก. บางคนเชื่อว่ามันอยู่ที่บ่อซัลเฟอร์ในฮัดเราะเมาต์ ส่วนบางคนเชื่อว่ามันอยู่ในเทือกเขาแห่งฮินโนม. ในศิลปะเปอร์เซีย ประตูสู่นรกอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า วาดีญะฮันนัม ในประเทศอัฟกานิสถาน[29]
ตลอดกาลหรือชั่วคราว
บรรดาอุลามายังไม่มีข้อยอมรับอีกว่าพวกเขาจะอยู่ในนรกตลอดกาลหรือไม่. บางอายะฮ์ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงความเป็นอมตะในสวรรค์กับนรก. [Note 1] อัลกุรอาน 7:23 กุรอาน อายะฮ์ที่10:107 กล่าวว่าวันหนึ่งญะฮันนัมจะถูกทำลาย[30] ซึ่งจะทำให้ชาวนรกอาจได้รับการพักฟื้นหรือไม่มีอยู่อีกต่อไป แนวคิดของการทำลายล้างของนรกเรียกว่า ฟะนาอ์ อัล-นาร์[31]
ความเชื่อส่วนใหญ่ของชาวมุสลิมคือ ชาวมุสลิมอยู่ในนรกแค่ชั่วคราว แต่ชนชาติอื่นจะอยู่ในนรกถาวร[32][33]
ข้อความ
มีหลักฐานจากอัลกุรอาน อายะฮ์ที่25:12: "เมื่อนรกญะฮันนัมเป็นพวกเขาจากที่ไกล ๆ พวกเขาก็จะได้ยินเสียงคุไหม้และเสียงเดือดพล่านของมัน".[34] และในฮะดีษหนึ่งกล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสกับญะฮันนัมว่า เจ้าเต็มแล้วหรือ? มันได้ตอบว่า: "จะมีคนมาเพิ่มอีกไหม?"[35]
ญะฮันนัมตามนิกายซุนนี
ชาวซุนนีได้แบ่ง ญะฮันนัม เป็น 7 ชั้น ได้แก่:
- ไฟสำหรับชาวมุสลิมที่มีบาป
- เพลิงสำหรับชาวคริสต์ที่มีบาป
- ปลายทางที่ชั่วคราวสำหรับชาวยิวที่มีบาป
- ไฟที่โชติช่วงสำหรับคนทรยศ
- สถานที่สำหรับพวกแม่มดและหมอดู
- เตาไฟสำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธา
- เหวที่ไร้ที่สิ้นสุดสำหรับพวกหน้าไว้หลังหลอก (ชาวมุสลิมที่ภายนอกดูเหมือนศรัทธา แต่ในใจกลับปฏิเสธ)[36]
ฮะดีษ
ในฮะดีษได้กล่าวถึงลักษณะของ"ญะฮันนัม" อยู่หลายประการ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีหินถูกโยนลงในนั้น มันจะใช้เวลา 70 ปีก่อนที่จะถึงด้านล่าง[37] (ถ้านำไปใช้ในเครื่องคิดเลข หลุมนี้จะมีความลึกมากกว่า 190,000,000 กม. ซึ่งมีระยะทางไกลกว่าระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก)[Note 2] ความกว้างของกำแพงนรกจะมีความยาวเท่ากับการเดินเท้าเป็นเวลา 40 ปี[37] มาลิกในฮะดีษได้กล่าวว่าท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่าไฟใน ญะฮันนัม มีความร้อนมากกว่าไฟบนโลกถึง 70 เท่า[38] และไฟนั้น "ดำยิ่งกว่าน้ำมันดิน".[39]
บางคนถูกสัญญาไว้ว่าจะอยู่ในนรกแล้ว โดยมีบันทึกไว้ในฮะดีษและอัลกุรอาน เช่น: ฟิรเอาน์ (ฟาโรห์ในหนังสืออพยพ), ภรรยาของนบีนูฮ์กับลูฏ และอบูละฮับกับภรรยาของเขา (เป็นศัตรูกับศาสดามุฮัมมัด)[ต้องการอ้างอิง]
ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า ชาวนรกส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เพราะพวกเธอมักจะนินทา, ชอบคาดเดา และพูดพล่อย[40][41]
ในฮะดีษหนึ่งกล่าวว่า ในทุกๆ หนึ่งคนจาก 1,000 คนในวันกิยามะฮ์ จะมี 999 จะต้องอยู่ในไฟนรก ส่วนหนึ่งคนนั้นจะเข้าสวรรค์[42][43][44]
ในฮะดีษที่บันทึกโดยมุสลิมไว้ว่า ศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่าคนที่ฆ่าตัวตายจะอยู่ในญะฮันนัมตลอดกาล[45]
การใช้ภาชนะที่ทำมาจากเหล็กมีค่ามีส่วนในการตกนรก ตามฮะดีษที่กล่าวว่า: "ใครที่ดื่มจากภาชนะที่ทำมาจากเงิน เขาได้นำไฟนรกเข้าไปในท้องแล้ว"[46] หรือทรมานแมวจนตาย: "หญิงคนหนึ่งกำลังถูกทรมานและถูกนำเข้าไปในนรก เพราะว่าเธอขังแมวของเธอไว้ข้างในกรงจนมันตายเพราะความหิวโหย"[47][48]
มีอย่างน้อยฮะดีษหนึ่งได้กล่าวถึงการเลี่ยงนรกไว้ว่า: "... จะไม่มีใครเข้านรก ถ้าในใจของเขามีความศรัทธาเล็กน้อย”[Note 3]
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ↑
- " และบรรดาผู้ที่ตามได้กล่าวว่า หากว่าเรามีโอกาสกลับไปอีกครั้งหนึ่ง เราก็จะปลีกตัวออกจากพวกเขาบ้าง เช่นเดียวกับที่พวกเขาได้ปลีกตัวออกจากพวกเรา ในทำนองเดียวนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงให้พวกเขาเห็นงานต่างๆ ของพวกเขาเป็นที่น่าเสียใจแก่พวกเขา และทั้งพวกเขาจะไม่ได้ออกจากไฟนรกด้วย" S. 2:167 Arberry
- แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น หากพวกเขามีสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมด และมีเยี่ยงนั้นอีกรวมกัน เพื่อจะใช้มันไถ่ตัวให้พ้นจากการลงโทษในวันกิยามะฮ์แล้ว มันก็จะไม่ถูกรับจากพวกเขา และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันเจ็บแสบ เขาเหล่านั้นปรารถนาที่จะออกจากไฟนรก แต่พวกเขาก็หาได้ออกจากมันไปได้ไม่ และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษที่คงอยู่ตลอดไป S. 5:36-37
- ดังนั้น พวกเจ้า (ชาวนรก) จงลิ้มรสเถิด เนื่องด้วยพวกเจ้าได้ลืมการชุมนุมกันในวันนี้ของพวกเจ้า แท้จริงเราก็ลืมพวกเจ้าด้วย และพวกเจ้าจงลิ้มรสการลงโทษอย่างตลอดกาลตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เถิด" S. 32:14
- นั่นคือ การตอบแทนแก่เหล่าศัตรูของอัลลอฮฺ คือ ไฟนรก สำหรับพวกเขาจะพำนักอยู่ในนรกนั้นตลอดกาลเป็นการตอบแทนตามที่พวกเขาปฏิเสธสัญญาณต่าง ๆ ของเรา S. 41:28
- ↑ โดยยึดตามแรงโน้มถ่วงของโลก และความเร็วปลายที่เร็ว 89.5 เมตร/วินาที ระยะทางประมาณ 197,708,364,000 เมตร หรือประมาณ 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ (AU - ระยะทางเฉลี่ยระหว่างดวงอาทิตย์และโลก)
- ↑ ฮะดีษอัตติรมีซีย์ (1999), อบูดาวูด (4091) และอิบน์มาญะฮ์ (59) รายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบน์ มัสอูด กล่าวว่าท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ็อลฯ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)) กล่าวว่า: “จะไม่มีใครเข้าสวรรค์ ถ้าในใจของเขามีความปฏิเสธเพียงเล็กน้อย และจะไม่มีใครเข้านรก ถ้าในใจของเขามีความศรัทธาเพียงเล็กน้อยเช่นกัน”[49]
อ้างอิง
- ↑ Tom Fulks Heresy? the Five Lost Commandments Strategic Book Publishing 2010 ISBN 978-1-609-11406-0 page74
- ↑ "Islamic Terminology". สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
- ↑ อัลกุรอาน 2:119
- ↑ อัลกุรอาน 104:4
- ↑ อัลกุรอาน 101:9
- ↑ 6.0 6.1 อัลกุรอาน 67:5
- ↑ "A Description of Hellfire (part 1 of 5): An Introduction". Religion of Islam. สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
- ↑ "The Names of Hell-Fire". IslamCan.com. สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
- ↑ 9.0 9.1 Rustomji, Nerina (2009). The Garden and the Fire: Heaven and Hell in Islamic Culture. Columbia University Press. pp. 118–9. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ Thomassen, Einar (2009). "Islamic Hell". Numen: International Review for the History of Religions. 56 (2/3).
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Kaltner, John, บ.ก. (2011). Introducing the Qur'an: For Today's Reader. Fortress Press. pp. 228–9. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
- ↑ Smith, Jane Idleman; Haddad, Yvonne Yazbeck (1981). The Islamic Understanding of Death and Resurrection. State University of New York Press. pp. 85–86.
- ↑ อัลกุรอาน 55:55
- ↑ อัลกุรอาน 56:42-43
- ↑ อัลกุรอาน 67:7-8
- ↑ อัลกุรอาน 11:106
- ↑ อัลกุรอาน 4:56
- ↑ อัลกุรอาน 15:16-17
- ↑ อัลกุรอาน 69:30-32
- ↑ อัลกุรอาน 14:50
- ↑ อัลกุรอาน 67:7
- ↑ Kaltner, John, บ.ก. (2011). Introducing the Qur'an: For Today's Reader. Fortress Press. p. 233. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
- ↑ อัลกุรอาน 26:96-102
- ↑ อัลกุรอาน %3Averse%3D24 41 :24
- ↑ verse 7:50 states "The companions of the Fire will call to the Companions of the Garden: ‘Pour down to us water or anything that God doth provide’".อัลกุรอาน 7:50
- ↑ Ali, Abdullah Yusuf (2001). The Qur'an. Elmhurst, New York: Tahrike Tarsile Qur'an, Inc. pp. 353–4.
- ↑ อัลกุรอาน 6:132
- ↑ อัลกุรอาน 4:145
- ↑ Christian Lange Locating Hell in Islamic Traditions BRILL 978-90-04-30121-4 p. 12-13
- ↑ F. E. Peters The Monotheists: Jews, Christians, and Muslims in Conflict and Competition, Volume II: The Words and Will of God Princeton University Press 2009 ISBN 978-1-400-82571-4 page 145
- ↑ Christian Lange Locating Hell in Islamic Traditions BRILL 978-90-04-30121-4 p. 12
- ↑ A F Klein Religion Of Islam Routledge 2013 ISBN 978-1-136-09954-0 page 92
- ↑ Saalih al-Munajjid (Supervisor), Muhammad. "200252: Is there any mention in the Islamic texts of a minimum period that sinners among the people of Tawheed will spend in Hell?". Islam Question and Answer. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ AMATULLAH. "Paradise and Hell". Islamicity. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
- ↑ Ali, Abdullah Yusuf (2001). The Qur'an. Elmhurst, New York: Tahrike Tarsile Qur'an, Inc. p. 1415.
- ↑ A F Klein Religion Of Islam Routledge 2013 ISBN 978-1-136-09954-0 page 92
- ↑ 37.0 37.1 Elias, Afzal Hoosen. "Conditions and Stages of Jahannam (Hell)" (PDF). discoveringIslam.org. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
- ↑ Imam Malik. "Chapter 57 Hadith number 1".
- ↑ Imam Malik. "Chapter 57 Hadith 2".
- ↑ Sahih al-Bukhari, 2:18:161 (Volume 2, Book 18, Hadith number 161)
- ↑ Sahih al-Bukhari, 1:6:301 (Volume 1, Book 6, Hadith number 301)
- ↑ Sahih al-Bukhari, 4:55:567 (Volume 4, Book 55, Hadith number 567)
- ↑ อัลกุรอาน 56:39-55
- ↑ al-Ghazali (1989). The Remembrance of Death and the Afterlife. The Islamic Text Society.
- ↑ Sahih Muslim. "001:199". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-02-20.
- ↑ Imam Malik. "Chapter 49 Hadith 11".
- ↑ Sahih al-Bukhari, 3 :40:323
- ↑ Parshall, Phil (1989). "8. Hell and Heaven". The Cross and the Crescent Understanding the Muslim Mind and Heart (PDF). Global Mapping International. p. 132. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014.
- ↑ Muhammad Saalih al-Munajjid (2013-10-13). "170526: Commentary on the hadeeth, "No one who has an atom's weight of faith in his heart will enter Hell"". Islam Question and Answer. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
หนังสือ และบทความต่าง ๆ
- Ghazali, Abu Hamid Muhammad (1989). On the Remembrance of Death and the Afterlife. Winter, T. J. (Translator). Cambridge, U.K.: Islamic Texts Society.
- Kaltner, John, บ.ก. (2011). Introducing the Qur'an: For Today's Reader. Fortress Press. pp. 228–234. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
- Rustomji, Nerina (2009). The Garden and the Fire: Heaven and Hell in Islamic Culture. Columbia University Press. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.