ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอาการระยะคิวทียาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
กลุ่มอาการระยะคิวทียาว
(Long QT syndrome)
ภาพแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ (จังหวะเต้นไซนัส) แสดงคลื่น ช่วง และระยะต่างๆ
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10I45.8
ICD-9426.82
DiseasesDB11104
eMedicinemed/1983
MeSHD008133

กลุ่มอาการระยะคิวทียาว (อังกฤษ: Long QT syndrome) เป็นโรคที่พบน้อยชนิดหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีการนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงต่อการมี torsade de pointes (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง) ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติแต่ละครั้งอาจทำให้มีอาการต่างๆ กัน ตั้งแต่รู้สึกใจสั่น หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ทันทีเนื่องจากการมีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นไม่เป็นจังหวะ (ventricular fibrillation) ซึ่งการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติแต่ละครั้งอาจเกิดจากเหตุกระตุ้นได้หลายอย่าง ขึ้นกับชนิดย่อยของโรค[1]

ชื่อกลุ่มอาการระยะคิวทียาว มาจากลักษณะปรากฏในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) ซึ่งจะพบมีช่วง QT ยาวกว่าปกติ

อ้างอิง

  1. Morita H, Wu J, Zipes DP (August 2008). "The QT syndromes: long and short". Lancet. 372 (9640): 750–63. doi:10.1016/S0140-6736(08)61307-0. PMID 18761222.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)