การสังหารหมู่ที่หนานจิง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
การสังหารหมู่ที่หนานจิง (การข่มขืนกระทำชำเราหนานจิง) | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองในสงครามโลกครั้งที่สอง | |
ทหารญี่ปุ่นกำลังสังหารชาวจีนโดยการฝังทั้งเป็น[1] | |
สถานที่ | สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) นครหนานจิงและบริเวณโดยรอบ |
วันที่ | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 |
เป้าหมาย | ทหารและพลเรือนจีน |
ประเภท | สังหารหมู่ |
ตาย | |
เจ็บ | ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลพบว่ามีสตรีชาวจีน 20,000 คนถูกข่มขืนกระทำชำเราโดยทหารญี่ปุ่นในช่วงเดือนแรกของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมถึงความรุนแรงทางเพศที่รุนแรงซึ่งผู้เสียหายส่วนใหญ่ถูกข่มขืนกระทำชำเราและสังหาร นอกจากนี้ศาลทหารยังพบว่ากองทัพญี่ปุ่นวางเพลิงต่อเนื่องเป็นเวลาหกสัปดาห์และหนึ่งในสามของเมืองหนานจิงถูกลอบวางเพลิงโดยทหารญี่ปุ่น |
ผู้ก่อเหตุ | ญี่ปุ่น |
ผู้โจมตี | 大日本帝国陆军 |
การสังหารหมู่นานกิง | |||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 南京大屠殺 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 南京大屠杀 | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||
คันจิ | 1. 南京大虐殺 2. 南京事件 | ||||||||
|
การสังหารหมู่ที่หนานจิง (อังกฤษ: Nanking Massacre หรือ Nanjing Massacre) หรือรู้จักกันในนามการข่มขืนกระทำชำเราหนานจิง (อังกฤษ: Rape of Nanking) เป็นการสังหารหมู่และการข่มขืนกระทำชำเรายามสงคราม (war rape) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลาหกสัปดาห์หลังญี่ปุ่นยึดนครหนานจิง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในช่วงนี้ พลเรือนและทหารจีนที่ถูกปลดอาวุธหลายแสนคนถูกทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นฆ่า[8][9] ทั้งยังเกิดการข่มขืนกระทำชำเราและฉกชิงทรัพย์อย่างกว้างขวาง[10][11] นักประวัติศาสตร์และพยานประเมินว่ามีผู้ถูกฆ่าระหว่าง 250,000 ถึง 300,000 คน[12] ผู้ก่อการสังหารหมู่หลายคน ซึ่งขณะนั้นถูกตราว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม ภายหลังถูกไต่สวนและตัดสินว่ามีความผิด ณ ศาลชำนาญพิเศษอาชญากรรมสงครามนานกิง และถูกประหารชีวิต ในการนี้ เจ้าชายยาซูฮิโกะ อาซากะ พระอนุวงศ์ญี่ปุ่น อันเป็นผู้ก่อการสำคัญคนหนึ่ง ทรงรอดจากการฟ้องคดีอาญา เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้ความคุ้มครองไว้ก่อน
เหตุการณ์นี้ยังเป็นประเด็นพิพาททางการเมือง เพราะนักลัทธิแก้ประวัติศาสตร์ (historical revisionist) และนักชาตินิยมญี่ปุ่นบางคนแย้งหลายแง่มุมของเหตุการณ์ดังกล่าว[9] โดยอ้างว่า การสังหารหมู่มีการบรรยายเกินจริงหรือแต่งขึ้นทั้งหมดเพื่อจุดประสงค์ด้านโฆษณาชวนเชื่อ ผลของความพยายามของนักชาตินิยมที่จะปฏิเสธหรืออ้างความชอบธรรมในอาชญากรรมสงคราม ทำให้เกิดข้อโต้เถียงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ยังเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับชาติอื่นในเอเชีย-แปซิฟิก เช่น เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์
การประเมินยอดผู้เสียชีวิตในการสังหารหมู่อย่างแม่นยำนั้นทำไม่ได้ เพราะบันทึกทหารญี่ปุ่นเกี่ยวกับการสังหารจำนวนมากถูกทำลายหรือเก็บไว้เป็นความลับโดยเจตนาไม่นานหลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นในปี 1945 ศาลทหารพิเศษระหว่างประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์กว่า 200,000 คน[13] ทางการจีนประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตราว 300,000 โดยอิงการประเมินของศาลชำนัญพิเศษอาชญากรรมสงครามนานกิง การประเมินจากนักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีหลากหลายตั้งแต่ 40,000 ถึง 200,000 คน นักลัทธิแก้ประวัติศาสตร์บางคนปฏิเสธว่าไม่มีการสังหารหมู่เป็นระบบกว้างขวางเกิดขึ้นเลย โดยอ้างว่าการเสียชีวิตทั้งหมดมีคำธิบายทางทหาร เป็นอุบัติเหตุ หรือเป็นเหตุการณ์ความทารุณที่ไม่ได้รับอนุญาตที่ไม่เกี่ยวข้องกัน[14][15]
แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะยอมรับการกระทำการฆ่าพลเรือนจำนวนมาก การฉกชิงทรัพย์และความรุนแรงอื่นโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นหลังนานกิงแตก[16][17] ทว่า เสียงข้างน้อยกลุ่มเล็กแต่ทรงอิทธิพลทั้งในรัฐบาลและสังคมญี่ปุ่นแย้งว่า ยอดผู้เสียชีวิตนั้นแท้จริงเป็นทหารและไม่มีอาชญากรรมเกิดขึ้น การปฏิเสธการสังหารหมู่กลายเป็นส่วนสำคัญของลัทธิชาตินิยมญี่ปุ่น[18] ในญี่ปุ่น ความเห็นสาธารณะต่อการสังหารหมู่มีหลากหลาย และมีน้อยคนที่ปฏิเสธการสังหารหมู่ทั้งหมด[18] กระนั้น ความพยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่าของนักลัทธิแก้ที่จะสนับสนุนประวัติศาสตร์เหตุการณ์ของลัทธิแก้ได้สร้างข้อโต้เถียงซึ่งปรากฏในสื่อระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจีน เกาหลีใต้และชาติอื่นในเอเชียตะวันออก เป็นระยะ[19]
การบุกนานกิงของญี่ปุ่น
กองทัพญี่ปุ่นใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศที่ว่า นานกิงนั้นถูกขนาบด้วยแม่น้ำถึงสองด้าน ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของโค้งแม่น้ำแยงซี ซึ่งเมื่อไหลมาจากทางเหนือแล้วก็เลี้ยวผ่านไปทางตะวันออก กองทัพญี่ปุ่นภายใต้การนำของพลเอกนากาจิมะ เคซาโกะ สามารถเดินทัพจากทางตะวันออกเฉียงใต้มาบรรจบกันที่ด้านหน้าของนานกิงในรูปครึ่งวงกลม โดยใช้แม่น้ำเป็นกำแพงธรรมชาติล้อมเมืองหลวงแห่งนี้ รวมทั้งสกัดการฝ่าหนีออกไป
ปลายเดือนพฤศจิกายน ทหารญี่ปุ่นสามกองทัพดาหน้าเข้าหานานกิง ทัพหนึ่งมุ่งตะวันตกทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำแยงซี ทหารกองนี้เข้ามาทางแม่น้ำไป๋เหมา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ โดยเดินทัพมาทางรถไฟสายนานกิง-เซี่ยงไฮ้
ทัพที่สองเตรียมตัวบุกจู่โจมนานกิงทั้งทางน้ำและทางบกอยู่ที่ทะเลสาบอ้ายหู ทัพนี้เคลื่อนจากเซี่ยงไฮ้ลงมาทางตะวันตก และเดินทัพอยู่ทางทิศใต้ของทัพของนาคาจิมา โดยผู้นำทัพนี้คือ พลเอกมัตสึอิ อิวาเนะ
ทัพที่สามภายใต้การนำของพลโทยานากาวะ ไฮซูเกะ เดินห่างจากทัพของพลเอกมัตสึอิลงไปทางใต้และหักเลี้ยวเข้าหานานกิงจากทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ก่อนที่จะบุกถึงนานกิงนั้นทหารญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีเมืองซูโจวและฆ่าทุกคนที่พบ การบุกเข้าเมืองซูโจวครั้งนี้ทำให้จำนวนประชากรลดลงจาก 350,000 คนลงเหลือไม่ถึง 500 คน
จนถึงรุ่งสางของวันที่ 13 ธันวาคม กองทัพญี่ปุ่นสามารถบุกผ่านประตูเมืองนานกิงเข้ามาได้
หลังจากกองทัพญี่ปุ่นบุกนานกิง
หลังจากกองทัพญี่ปุ่นบุกเข้านานกิงได้เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเข้าปลดอาวุธทหารจีนที่ยอมแพ้และยอมตกเป็นเชลย โดยมีคำสั่งต่อทหารญี่ปุ่นว่าให้กำจัดคนจีนและเชลยทุกคนที่จับได้ และจากที่ประชุมตกลงว่า จะทำการแบ่งเชลยออกเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน และจะถูกนำออกมาจากที่คุมขังเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 50 คน เพื่อนำไปประหาร ใช้ทหารกองร้อยที่ 1, 2 และ 5 โดยกองร้อยที่ 1 ใช้พื้นที่บริเวณนาข้าวและบริเวณพื้นที่ลุ่มทางตะวันตกเฉียงใต้ของกองร้อยที่ 2 และกองร้อยที่ 5 ใช้พื้นที่บริเวณนาข้าวทางตะวันออกเฉียงใต้ของที่ตั้งกอง
คำสั่งนั้นเป็นไปอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเหี้ยมโหดโดยปราศจากเมตตาเพราะไม่สามารถหาอาหารให้เชลยทั้งหมดได้ โดยสามารถช่วยขจัดปัญหาเรื่องอาหาร และลดการตอบโต้ได้
ญี่ปุ่นใช้วิธีการหลอกลวงเชลยเพื่อนำไปประหารหลายวิธีด้วยกัน เช่น ให้สัญญาว่าจะปฏิบัติอย่างดีหากไม่ต่อต้าน หลอกให้เข้ามอบตัว แบ่งผู้ชายออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละร้อยหรือสองร้อย แล้วหลอกไปยังจุดต่าง ๆ ที่นอกตัวเมืองเพื่อฆ่าทิ้ง
ทั้งหมดนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างง่ายดายกว่าที่ฝ่ายญี่ปุ่นคาด การต่อต้านมีเพียงบางจุด เพราะทหารจีนส่วนใหญ่ทิ้งอาวุธและทิ้งเมืองไปก่อนแล้ว
การดำเนินการกับเชลยศึกจีน
6 สิงหาคม ค.ศ. 1937 เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นไม่สามารถหาอาหารมาให้แก่เชลยศึกอย่างเพียงพอได้ จึงคิดทำการสังหารเชลยศึกเสีย แต่กฎหมายระหว่างประเทศในขณะนั้นได้ให้การคุ้มครองแก่เชลยศึกอยู่ ทางจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงได้มีรับสั่งแก่ทหารทุกนายให้ยกเลิกการใช้คำว่าเชลยศึกกับชาวจีนที่ถูกจับได้ และนำเชลยศึกเหล่านั้นไปทำการสังหารที่บริเวณแม่น้ำแยงซี การสังหารเชลยศึกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม (ซึ่งถูกเรียกว่า String Gorge Massacre) ทหารญี่ปุ่นใช้เวลาในช่วงเช้าเพื่อมัดเชลยศึกเหล่านั้นเข้าด้วยกันเป็นจำนวนหลายแถว และเปิดฉากยิงใส่ด้วยปืนกล เชลยศึกที่ถูกมัดอยู่ไม่สามารถหนีได้ ทำได้เพียงกรีดร้องเท่านั้น เชลยศึกราว 57,500 คนถูกสังหาร
เชลยศึกบางส่วน ถูกทหารญี่ปุ่นมัดเข้าด้วยกัน และให้เชลยศึกเหล่านั้นเหยียบกับระเบิด เพื่อสังหารหมู่ บ้างก็มัดเชลยเหล่านั้นเข้าด้วยกันแล้วจุดไฟเผา
การทารุณกรรม
ทหารญี่ปุ่นทำการทารุณกับชาวนานกิงเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจได้เช่น ฝังทั้งเป็น โดยจะขุดหลุม และฝังเชลยให้โผล่ขึ้นมาแค่เพียงหน้าอกหรือแค่คอ เพื่อจะได้รับทุกข์ทรมานต่างอีกหลายอย่าง เช่น ฉีกเป็นชิ้น ๆ ทหารญี่ปุ่นคว้านตับไตไส้พุง ตัดหัวหรือสับเหยื่อเป็นชิ้น ๆ แล้วโยนให้สุนัขกิน ตอกเชลยไว้กับแผ่นไม้แล้วให้รถถังแล่นทับ ใช้เป็นที่ซ้อมเสียบดาบปลายปืน ควักลูกตา หั่นจมูกและใบหูก่อนเผาทั้งเป็น
การสังหารพลเรือน
หลังทหารจีนทั้งหมดยอมแพ้ ก็เท่ากับไม่เหลือใครที่จะปกป้องพลเรือนในตัวเมือง ทหารญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้ามา ยึดอาคารที่ทำการรัฐบาล ธนาคารและโรงเก็บสินค้า ยิงผู้คนตามท้องถนนอย่างไม่เลือกหน้า โดยใช้ทั้งปืนพก ปืนกล ปืนเล็กยาว ยิงเข้าไปในฝูงคนที่มีทั้งทหารที่บาดเจ็บ หญิงชรา และเด็ก ๆ โดยทหารญี่ปุ่นฆ่าพลเรือนทุกมุมเมือง ไม่ว่าจะตามตรอกเล็ก ๆ หรือถนนสายใหญ่ ในสนามเพลาะ หรือแม้แต่ในอาคารที่ทำการรัฐบาล
การข่มขืนกระทำชำเรา
หญิงชาวจีนถูกข่มขืนกระทำชำเราเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 20,000 คน ไม่ว่าจะเป็นหญิงสาว คนท้อง หรือคนแก่[21] ทหารญี่ปุ่นข่มขืนกระทำชำเราชนิดไม่เลือกหน้า ไล่ตั้งแต่ชาวนา เด็กนักเรียน ครู พนักงานระดับบริหาร คนงาน อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งแม่ชี ต่างก็เลี่ยงไม่พ้นการถูกข่มขืนกระทำชำเราทั้งสิ้น โดยผู้หญิงคนหนึ่งจะตกไปอยู่ในมือของทหารประมาณ 15 ถึง 20 คน[22] บางคนในจำนวนนี้ถูกเรียงคิวจนถึงแก่ความตาย แต่กฎของกองทัพที่ว่าห้ามข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิงของฝ่ายตรงกันข้ามนั้น ทำให้ทหารสังหารเหยื่อเสียเมื่อเสร็จธุระ[23]
พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ได้กระทำกันเฉพาะในหมู่พลทหาร แม้ระดับนายทหารก็ไม่เว้น บางคนไม่เพียงสนับสนุนการข่มเหง แต่ยังเตือนให้พลทหารจัดการเหยื่อเมื่อเสร็จธุระเพื่อกำจัดหลักฐาน
หญิงในนานกิงถูกข่มขืนกระทำชำเราชนิดไม่เลือกที่และไม่เลือกเวลา ประมาณว่าหนึ่งในสามของการข่มขืนกระทำชำเราทั้งหมดเกิดขึ้นตอนกลางวันแสก ๆ และไม่มีสถานที่แห่งใดปลอดจากการข่มขืนกระทำชำเรา เช่น คนท้อง หญิงชรา ในเรือนแม่ชี ในโบสถ์ แม้แต่ในโรงเรียน
นอกจากนั้นคนเฒ่าคนแก่ยังไม่สามารถใช้ความชราเป็นเกราะคุ้มกันการข่มขืนกระทำชำเราได้ ผู้เฒ่าต่างต้องเผชิญทารุณกรรมทางเพศอย่างถ้วนหน้าและซ้ำซาก ย่ายายวัยแปดสิบจำนวนมากถูกข่มขืนกระทำชำเราจนตายคาที่ และอย่างน้อยก็ถูกยิงตายเพราะปฏิเสธการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
เขตปลอดภัยนานกิง
เขตปลอดทหารสำหรับพลเรือนจีนจัดตั้งขึ้นเมื่อ (22 พฤศจิกายน 1937) วันพักรบของญี่ปุ่น ก่อนยุทธการที่นานกิงวันพักรบของญี่ปุ่น เขตปลอดทหารเพื่อความปลอดภัยถูกสร้างโดย ยอน ราเบอ นักธุรกิจเยอรมันสมาชิกพรรคนาซี ร่วมกับโรเบิร์ต โอ วิลสัน แพทย์ชาวอเมริกันและชาวตะวันตกคนอื่น ๆ โดยขอความร่วมมือจากนายกเทศมนตรีเมืองนานกิงให้อพยพชาวเมืองเข้าไปในเขตปลอดภัย เขตปลอดภัยมีหน้าที่ในการช่วยชีวิตของพลเรือนหลายพันคนของจีนให้รอดพ้นจากการถูกสังหารหมู่
หลังสงคราม
แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่สองจบลงไปแล้วด้วยความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่จากการกระทำสังหารหมู่ชาวจีนในนานกิงครั้งนั้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ญี่ปุ่นตกต่ำอย่างถาวรไม่อาจฟื้นฟูขึ้นมาได้เลย เพราะชาวจีนโกรธแค้นญี่ปุ่นเป็นอย่างมากจึงได้ทำการต่อต้านญี่ปุ่นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ปัจจุบันญี่ปุ่นจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและรักสันติสุขมากขึ้นก็ตาม แม้ว่านายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหรือจักรพรรดิญี่ปุ่นมากล่าวขอโทษด้วยตนเองก็ไม่อาจทำให้ชาวจีนยกโทษให้ ในเนื้อหาหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นยังถูกบิดเบือนด้วยการข้ามการกระทำอันโหดร้ายในนานกิงครั้งนั้นและบอกเพียงว่า เพียงแค่ยึดนานกิงเท่านั้น ทำให้ชาวจีนไม่พอใจและไม่ไว้ใจต่อญี่ปุ่นมาก
วัฒนธรรมสมัยนิยม
ภาพยนตร์
- ภาพยนตร์เรื่อง Black Sun: The Nanking Massacre สะท้อนถึงเหตุการณ์ของการสังหารหมู่นานกิงโดยกองทัพญี่ปุ่น
- ภาพยนตร์เรื่อง Don't Cry, Nanking หรือ สงครามอำมหิตปิดตาโลก เป็นภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1995 บอกเล่าเรื่องราวความอำมหิตของกองทัพญี่ปุ่นที่กระทำต่อชาวนานกิงในช่วงปี ค.ศ. 1937 จนกลายเป็นหนึ่งในโศกนาฎกรรมของโลก โดยเล่าผ่านชีวิตครอบครัวของแพทย์ชาวจีนกับภรรยาตั้งครรภ์ชาวญี่ปุ่นพร้อมลูกสาวที่เดินทางกลับมายังเมืองนานกิง ก่อนจะพบว่าบ้านเมืองได้ถูกยึดครองทำลายและฆ่าล้างอย่างโหดร้ายโดยกองทัพญี่ปุ่น
อ้างอิง
- ↑ 军事委员会政治部编印 (1938-07). 《日寇暴行实录》. “南京寇军活埋我同胞之惨状”. 汉口. p. 35.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "The Nanking Atrocities: Fact and Fable". Wellesley.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-03-06.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Nanking Atrocities – In the 1990s". nankingatrocities.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2013.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Bob Tadashi Wakabayashi, บ.ก. (2008). The Nanking Atrocity, 1937–38: Complicating the Picture. Berghahn Books. p. 362. ISBN 1845451805.
- ↑ "论南京大屠杀遇难人数 认定的历史演变" (PDF). Jds.cass.cn. สืบค้นเมื่อ 2016-03-16.
- ↑ "近十年" 侵华日军南京大屠杀"研究述评" (PDF). Jds.cass.cn. สืบค้นเมื่อ March 16, 2016.
- ↑ "Modern China" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 6, 2016. สืบค้นเมื่อ May 30, 2014.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Levene, Mark and Roberts, Penny. The Massacre in History. 1999, page 223-4
- ↑ 9.0 9.1 Totten, Samuel. Dictionary of Genocide. 2008, 298–9.
- ↑ Iris Chang, The Rape of Nanking, p. 6.
- ↑ Lee, Min (March 31, 2010). "New film has Japan vets confessing to Nanjing rape". Salon/Associated Press.
- ↑ "Scarred by history: The Rape of Nanjing". BBC News. April 11, 2005.
- ↑ "Judgement: International Military Tribunal for the Far East". Chapter VIII: Conventional War Crimes (Atrocities). November 1948.
- ↑ Fogel, Joshua A. The Nanjing Massacre in History and Historiography. 2000, page 46-8.
- ↑ Dillon, Dana R. The China Challenge. 2007, page 9-10
- ↑ "Q8: What is the view of the Government of Japan on the incident known as the "Nanjing Massacre"?". Foreign Policy Q&A. Ministry of Foreign Affairs of Japan.
- ↑ "I'm Sorry?". NewsHour with Jim Lehrer. 1998-12-01.
- ↑ 18.0 18.1 Yoshida, Takashi. The Making of the "Rape of Nanking". 2006, page 157-8.
- ↑ Gallicchio, Marc S. The Unpredictability of the Past. 2007, page 158.
- ↑ 11.html "Image 11". สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Paragraph 2, p. 1012, Judgment International Military Tribunal for the Far East
- ↑ "Japanese Imperialism and the Massacre in Nanjing: Chapter X: Widespread Incidents of Rape". Museums.cnd.org. สืบค้นเมื่อ 2011-03-06.
- ↑ "A Debt of Blood: An Eyewitness Account of the Barbarous Acts of the Japanese Invaders in Nanjing," 7 February 1938, Dagong Daily, Wuhan edition