ข้ามไปเนื้อหา

แอร์บัส เอ380

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์บัส เอ380

เอ380 พยุหะคีรี ของการบินไทย
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานลำตัวกว้างสองชั้น
ชาติกำเนิดยุโรป
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักเอมิเรตส์
สิงคโปร์แอร์ไลน์
ลุฟต์ฮันซา
ควอนตัส
จำนวนที่ผลิต222 ลำ (เมื่อ ก.พ. 2561)
ประวัติ
สร้างเมื่อพ.ศ. 2546–ปัจจุบัน
เริ่มใช้งาน25 ตุลาคม 2550
โดยสิงคโปร์แอร์ไลน์
เที่ยวบินแรก27 เมษายน 2548

เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เปิดตัว

A380 ลำแรกที่เสร็จสมบูรณ์ที่ "งานแสดง A380" ในเมืองตูลูซของฝรั่งเศส

A380 รู้จักมาเป็นเวลาหลายปีในขณะที่มีแอร์บัสมีแผนการผลิต แอร์บัส A3XX โดยจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเริ่มให้บริการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550

A380 ได้เปิดตัวในงานของเมืองตูลูสในฝรั่งเศสในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายเลขอนุกรมของผู้ผลิต (MSN - Manufacturer's serial number) คือ 001 และรหัสทะเบียน F-WWOW.

ข้อมูลทั่วไป

เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่นี้ ในเบื้องต้นจะผลิตขาย 2 แบบด้วยกัน คือA380-800 เป็นแบบ 2 ชั้นสมบูรณ์แบบ สามารถจุผู้โดยสารได้ 555 คน ในชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ หรือถึง 800 คน ในชั้นประหยัด ในระยะการบิน 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กิโลเมตร) และแบบA380-800F เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกโดยเฉพาะ บรรทุกสัมภาระได้ 150 ตัน สำหรับพิสัยการบินระยะ 5,600 ไมล์ (10,400 กิโลเมตร)

การผลิต

เครื่องบินแอร์บัส เอ380 สีเครื่องเอมิเรตส์แอร์ไลน์ ที่นำมาแสดงในงาน ดูไบแอร์โชว์ พ.ศ. 2548

เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศใน ยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย, บริษัท BAE Systems สร้างส่วนของปีก, บริษัท CASA ของสเปน สร้างส่วนของแพนหาง, เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการเองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent

สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และบริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และ PW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 ปอนด์ เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ระบบไฮดรอลิก

ระบบไฮดรอลิกของ A380 จะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการใช้ระบบ 3000 psi. (ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000 psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน

  • บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:
    • บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง
    • บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่
    • บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน (evacuation systems) และระบบล้อประธาน (main landing gear) สำหรับ A380
    • บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัวเอง

การสั่งซื้อและการส่งมอบ

ยอดสั่งซื้อและยอดส่งมอบ เอ380 แบ่งตามปี
2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 ทั้งหมด
ยอดสั่งซื้อสุทธิ เอ380-800 78 34 10 10 24 33 9 4 32 19 9 42 13 2 −2 4 −70 251
เอ380F 7 10 10 −17 −10 0
ยอดส่งมอบ เอ380-800 1 12 10 18 26 30 25 30 27 28 15 12 8 4 5 251

ยอดรวมสั่งซื้อและส่งมอบแล้ว

ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2021[1][2]

คำสั่งซื้อ

ส่งมอบแล้ว

การส่งมอบ

การกำหนดการเดิมนั้น สิงคโปร์แอร์ไลน์จะได้รับเครื่องบินแอร์บัส เอ380 เครื่องแรก ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2549 แควนตัสจะได้รับในช่วงต้นปีพ.ศ. 2550 และเอมิเรตส์จะได้รับก่อนปีพ.ศ. 2551 แต่เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้ทันตามกำหนดการ ทำให้แอร์บัสต้องเลื่อนวันส่งมอบออกไป

จนในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แอร์บัสก็ประกาศเลื่อนการส่งมอบเป็นครั้งที่ 3 ทำให้คาดว่าจะสามารถส่งมองเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และจะเพิ่มอัตราการผลิตให้ได้ 13 ลำในปีพ.ศ. 2551, 25 ลำ ในปีพ.ศ. 2552 และเต็มอัตราการผลิตที่ 45 ลำ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ส่วนเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นลูกค้าใหญ่ที่สุดของ เอ380 จะได้รับเครื่องบินลำแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 และผลจากการล่าช้าทำให้หลายสายการบินยกเลิกคำสั่งซื้อ และหันไปเลือกคู่แข่งโบอิง 747-8 สำหรับเครื่องบินโดยสาร และโบอิง 777F สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้า

สำหรับเครื่องบินลำแรกที่จะส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์นั้นได้ลงสีเป็นลายเครื่องของสิงคโปร์แอร์ไลน์เรียบร้อยแล้ว[3] ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกาศว่าจะใช้ในเส้นทางบินระหว่างลอนดอน และซิดนีย์ โดยผ่าน สิงคโปร์ เส้นทางการบินย่อของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ อาจครอบคลุม เส้นทาง สิงคโปร์ - ซานฟรานซิสโก โดยผ่าน ฮ่องกง และบินตรงไปยังปารีส และแฟรงค์เฟิร์ต ส่วนแควนตัส ก็ได้ประกาศเช่นกัน ว่าในตอนแรกจะใช้เครื่องบินนี้ บินในเส้นทางบิน ลอสแองเจิลลิส ไปซิดนีย์

แอร์บัสแถลงว่า ในที่สุดแล้ว ตนจะสามารถผลิตและส่งมอบเครื่องบินได้เดือนละ 4 ลำ[4]

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเมืองตูลูซ แอร์บัสได้ส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 ลำแรก ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ซึ่งจะเริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เส้นทาง สิงคโปร์-ซิดนีย์


ยุติการผลิต

Airbus ประกาศยุติการผลิตเครื่องบิน แอร์บัส เอ380 อย่างเป็นทางการ หลักจากสิ้นสุดการผลิตให้แก่สายการบินเอมิเรตส์ ภายในปี 2021 เนื่องจากยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า และความต้องการโดยสารเริ่มมีการกระจายตัว[5]สาเหตุจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิด

สายการบิน

ในปัจจุบันมีเครื่องบินรุ่น เอ380 ทั้งหมด 184 ลำในประจำการกับ 13 สายการบิน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2016)[6]


เครื่องบินแอร์บัส รุ่น เอ380 ของสายการบินเอติฮัดแอร์เวย์ กำลังเดินทางออกจากท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์

เส้นทางที่สำคัญ

เส้นทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดที่ใช้เครื่องรุ่น เอ380 ทำการบินคือจากท่าอากาศยานนานาชาติดูไบไปยังท่าอากาศยานนานาชาติคูเวต ซึ่งมีระยะทางเพียง 861 ก.ม. หรือ 535 ไมล์ ของสายการบินเอมิเรตส์[21] แต่แอร์ฟรานซ์เคยทำการบินที่สั้นกว่ามาก โดยใช้บินจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกลไปยังท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ซึ่งมีระยะทางเพียง 344 ก.ม. หรือ 214 ไมล์ ในช่วงปีค.ศ. 2010[22]

ส่วนเส้นทางที่มีระยะทางยาวที่สุดได้แก่ สายการบินควอนตัส ซึ่งทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติซิดนีย์ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ ซึ่งมีระยะทางถึง 13,804 ก.ม. หรือ 8,677 ไมล์[23][24]


เอมิเรตส์เป็นสายการบินที่มีฝูงบินรุ่น เอ380 มากถึง 76 ลำในประจำการ ข้อมูลเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2559[6]

ข้อมูลจำเพาะ

แผนภาพเปรียบเทียบอากาศยานขนาดใหญ่ 4 รุ่น:
  แอร์บัส A380-800
ผังที่นั่งของ A380-800, จัดแบบ 519 ที่นั่ง (ชั้นล่าง 331, ชั้นบน 188)
ภาพตัดลำตัวของ A380 บริเวณที่นั่งชั้นประหยัด
A380-800 A380F
นักบิน สองนาย
ที่นั่ง
ฉบับผู้ผลิต
544 (สามชั้นโดยสาร)
644 (สองชั้นโดยสาร)
853 (หนึ่งชั้นโดยสาร)
12 ห้องบรรทุก
ความยาว 72.72 m (238 ft 7 in)[25]
ช่วงกว้างปีก 79.75 m (261 ft 8 in)[25][26]
ความสูง 24.09 m (79 ft 0 in)[25]
ฐานล้อ 31.88 m (104 ft 7 in)[27]
รอยล้อ 12.46 m (40 ft 11 in),[25] 14.34 m (47 ft 1 in)[27][26]
มิติภายนอก กว้าง: 7.14 m (23 ft 5 in)
สูง: 8.41 m (27 ft 7 in)
จุดกว้างสุดห้องโดยสาร
6.50 m (21 ft 4 in) ชั้นล่าง
5.80 m (19 ft 0 in) ชั้นบน[27]
ความยาวห้องโดยสาร 49.9 m (163 ft 9 in) ชั้นล่าง
44.93 m (147 ft 5 in) ชั้นบน
พื้นที่ปีก 845 m2 (9,100 sq ft)
อัตราส่วนมิติปีก 7.5
มุมลู่ลมปีก 33.5°
น้ำหนักทะยานสูงสุด 575,000 kg (1,268,000 lb) 590,000 kg (1,300,000 lb)
น้ำหนักร่อนลงสูงสุด 394,000 kg (869,000 lb) 427,000 kg (941,000 lb)
น้ำหนักปลอดเชื้อเพลิง 369,000 kg (814,000 lb) 402,000 kg (886,000 lb)
น้ำหนักบรรทุกเปล่า 276,800 kg (610,200 lb) 252,200 kg (556,000 lb)
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 89,200 kg (196,700 lb) 149,800 kg (330,300 lb)
ปริมาตรห้องเก็บสัมภาระ 184 ลบ.ม. [28] 1,134 ลบ.ม. [28]
ความเร็วปฏิบัติการสูงสุด
มัค 0.89[27]
(945 กม/ชั่วโมง)
ความเร็วที่ทำได้สูงสุด
มัค 0.96[29]
(1,050 กม/ชั่วโมง)
ความเร็วปฏิบัติการ มัค 0.85[30][31]
(900 กม./ชั่วโมง)
ระยะวิ่งทะยานขึ้น
ที่น้ำหนักทะยานสูงสุด
2,950 m (9,680 ft)[25]
ความเร็วร่อนลงจอด 240–250 กม/ชั่วโมง[32][31]
พิสัยการบิน 15,200 กิโลเมตร[27][25] 10,400 กิโลเมตร[33]
เพดานบินใช้งาน 13,136 m (43,100 ft)[34]
ความจุถังเชื้อเพลิง 320,000 ลิตร
เครื่องยนต์ (4 ×) GP7270 (A380-861)
Trent 970/B (A380-841)
Trent 972/B (A380-842)
GP7277 (A380-863F)
Trent 977/B (A380-843F)
แรงขับ (4 ×) 332 kN (75,000 lbf) – GP7270[35]
348 kN (78,000 lbf) – Trent 970/B[36]
356.84 kN (80,220 lbf) – Trent 972/B
340 kN (76,000 lbf) – GP7277
340 kN (76,000 lbf) – Trent 977/B

ที่มา: Airbus A380 specifications[27][25]

การบินทดสอบ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ลำทดสอบหมายเลข F-WXXL เที่ยวบินที่ AIB 002 มีกำหนดมาบินทดสอบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ลงจอดเวลาประมาณ 13:00 น. และเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 7 ธันวาคม เวลาประมาณ 12:00 น

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เที่ยวบินพิเศษ AIB-701 เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้โดยสารประกอบด้วยสื่อมวลชนและแขกรับเชิญเพื่อสาธิตการบินในทวีปเอเชียและประเทศไทย ในขณะใช้รถลากจูงออกจากอาคารจอดเครื่องบิน ปลายปีกของเครื่องบินได้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกับประตูโรงจอดเสียหายเล็กน้อย บริเวณใบส่งตัวรับลมปลายปีก หรือ วิงเล็ต วิศวกรตรวจสอบแล้วเห็นว่าอาจทำให้อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความปลอดภัยระหว่างการบิน จึงถอดชิ้นส่วนนั้นออก และทำการบินไปจังหวัดเชียงใหม่ตามปกติ [37][38]

การบินไทย

เอ380-800 ลำแรกของการบินไทย บินถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในช่วงเช้าวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555 โดยเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเที่ยวบินพิเศษ ทีจี8936 บินตรงจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย โดยมีกัปตันทศพล ภูริวัฒนะ และกัปตันชวาล รัตนวราหะ ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 พร้อมด้วยนักบินกรพรหม แสงอร่าม และนักบินวิรัช เทพารักษ์ ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 2 เครื่องบินลำนี้ได้รับนามพระราชทานว่า ศรีรัตนะ[39]

เครื่องบินเอ380 ได้รับการออกแบบภายในบางส่วนจาก บริษัท โซดิแอค แอโรสเปซ (Zodiac Aerospace) โดยมีวิศวกรไทย นายธนิก นิธิพันธวงศ์ เป็นผู้รับผิดชอบการออกแบบ ส่วนประกอบภายในดังกล่าวคือช่วงของบันได (Cabin Stairs) ทางขึ้น-ลงระหว่างชั้นผู้โดยสาร เน้นการออกแบบที่หรูหรา อลังการให้เหมาะสมกับตัวเครื่อง ควบคู่กันไปกับความแข็งแกร่งมั่นคง สามารถรองรับจำนวนการใช้งานและปริมาณของผู้โดยสารตามขนาดของเครื่องบิน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Orders & Deliveries summary". Airbus. 30 พฤศจิกายน 2019.
  2. "Historical Orders and Deliveries 1974–2009". Airbus S.A.S. มกราคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Microsoft Excel)เมื่อ 23 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2012.
  3. [1]
  4. [2]
  5. https://brandinside.asia/its-official-airbus-end-of-a380-production-line/
  6. 6.0 6.1 "Orders & Deliveries". Airbus. 31 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 April 2016.
  7. "Singapore Airlines – Our History". Singapore Airlines. 1 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2013. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
  8. "Emirates A380 Lands at New York's JFK". 1 August 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  9. "Qantas A380 arrives in LA after maiden flight". The Age. Australia. 21 October 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  10. "Air France gets Europe's first A380 superjumbo". Agence France-Presse. 30 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27.
  11. "Lufthansa flies German team to Johannesburg with A380". Lufthansa. 7 April 2010.
  12. Eun-joo, Lee (17 June 2011). "East Asia's first A380 goes into operation today". Korea JoongAng Daily.
  13. "Airbus delivers China Southern Airlines' first A380". Airbus.com. 14 October 2011. สืบค้นเมื่อ 22 October 2011.
  14. "China Southern Airlines receives its first 'Pearl of the sky' A380 jetliner". Airbus.com. 14 October 2011. สืบค้นเมื่อ 22 October 2011.
  15. Platt, Craig (2 July 2012). "Newest superjumbo takes off for Malaysia Airlines". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 6 July 2012.
  16. Singapore, Thai. "A380 Fantasy Fares". thaiairways.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-19. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
  17. "BA enters SuperJumbo age with... with a 90-minute flight to Frankfurt". The Independent, 2 August 2013.
  18. "Asiana to Fly First A380 Flight on June 13". airchive.com. 23 March 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
  19. "Photos Qatar Airways A380 makes Doha debut". dohanews.com. 20 September 2014. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.
  20. "Etihad launches debut A380 service to London". TradeArabia News Service. 27 December 2014. สืบค้นเมื่อ 27 December 2014.
  21. "Emirates Launches World's Shortest Airbus A380 Service". Global Traveler. สืบค้นเมื่อ 1 April 2015.
  22. "Exceptional Air France Airbus A380 flights on London-Heathrow to Paris-CDG route". Air France. May 2010. สืบค้นเมื่อ 12 April 2012.
  23. "Emirates overtakes Qantas". USA Today. 29 September 2014. สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.
  24. Hoyer, Melissa (29 September 2014). "World's longest flight on biggest plane: A380 takes over Qantas' Sydney - Dallas route". News.com.au.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 25.5 25.6 "A380 Aircraft Characteristics – Airport and Maintenance Planning" (PDF). Airbus. 1 November 2012. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
  26. 26.0 26.1 "Interim Aerodrome requirements for the A380" (PDF). Civil Aviation Authority of New Zealand. 4 November 2004.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 27.5 "A380 Specifications". Airbus. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.
  28. 28.0 28.1 Airbus, Airbus. "Dimensions & key data". Airbus. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
  29. "A380 powers on through flight-test". Flight International. 20 December 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  30. ""Technical Issues". Flightglobal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2014.
  31. 31.0 31.1 "Pilot's perspective" Flightglobal, undated. Accessed: 20 June 2014. Archived on 18 March 2014.
  32. Huber, Mark. "How Things Work: Stopping the A380" Air & Space/Smithsonian, August 2011. Accessed: 21 June 2014. Archived on 21 June 2014.
  33. "The triple-deck cargo hauler". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-03.
  34. "Exemption No. 8695". Renton, Washington: Federal Aviation Authority]]. 24 March 2006.
  35. "GP7200 series specification". Engine Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  36. "Trent 900 fact sheet" (PDF). Rolls-Royce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  37. สุวรรณภูมิวุ่น ! แอร์บัสเอ 380 วิ่งเฉี่ยวชนโรงซ่อม - อ้างลานจอดไม่เหมาะสม มติชน
  38. A380 บิน BKK-CNX 9.30 น. (ถึง cnx ประมาณ 10.40 น.) hflight.net
  39. แนวหน้าข่าวเศรษฐกิจ http://www.ryt9.com/s/nnd/1499278

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:หัวข้ออากาศยาน