ลำดวน
ลำดวน | |
---|---|
ไฟล์:ลำดวน .jpg | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Magnoliales |
วงศ์: | Annonaceae |
สกุล: | Melodorum |
สปีชีส์: | M. fruticosum |
ชื่อทวินาม | |
Melodorum fruticosum Lour. |
ลำดวน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Melodorum fruticosum Lour.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) ลำดวน (ภาคอีสาน) เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[1] และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ด้วย [2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำดวนเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะผลเป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
สัญลักษณ์ประจำสถานศึกษา
อ้างอิง
- สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย ISBN 974-277-385-8 พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2540