ข้ามไปเนื้อหา

ดอลลาร์สหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน

ดอลลาร์สหรัฐ (อังกฤษ: United States Dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก[1] รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 36 บาท (baht)

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[2] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป

ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand)

เหรียญ

เหรียญกษาปณ์ที่มีการผลิตอยู่ในปัจจุบัน และถูกใช้หมุนเวียนทั่วไป มีอยู่ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
ภาพ มูลค่า ข้อมูล ชื่อเล่นของเหรียญ
ด้านหน้า ด้านหลัง เส้นผ่านศูนย์กลาง   น้ำหนัก   ส่วนประกอบ
1 เซนต์ 19.05 มิลลิเมตร 2.5 กรัม สังกะสี 97.5%
ทองแดง 2.5%
เพนนี
ไฟล์:2006 Nickel Proof Obv.png 5 เซนต์ 21.21 มิลลิเมตร 5 กรัม ทองแดง 75%
นิกเกิล 25%
นิกเกิล
10 เซนต์ 17.91 มิลลิเมตร 2.268 กรัม ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
ไดม์
25 เซนต์ 24.26 มิลลิเมตร 5.67 กรัม ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
ควอเตอร์
50 เซนต์ 30.61 มิลลิเมตร 11.34 กรัม ทองแดง 91.67%
นิกเกิล 8.33%
ครึ่งดอลลาร์
1 ดอลลาร์ 26.5 มิลลิเมตร 8.1 กรัม ทองแดง 88.5%
สังกะสี 6%
แมงกานีส 3.5%
นิกเกิล 2%
เหรียญดอลลาร์

ธนบัตร

ธนบัตรที่มีการผลิตอยู่และใช้หมุนเวียนทั่วไปอยู่ในปัจจุบัน มี 7 ชนิด ดังนี้

ธนบัตรหมุนเวียน
ภาพด้านหน้า ภาพด้านหลัง มูลค่า
1 ดอลลาร์
2 ดอลลาร์
5 ดอลลาร์
10 ดอลลาร์
20 ดอลลาร์
50 ดอลลาร์
100 ดอลลาร์

ธนบัตรที่มีการผลิตอยู่และใช้หมุนเวียนเฉพาะระหว่างสถาบันทางการเงินปัจจุบัน มี 3 ชนิด ดังนี้

ธนบัตรไม่หมุนเวียน
ภาพด้านหน้า ภาพด้านหลัง มูลค่า
1,000 ดอลลาร์
5,000 ดอลลาร์
10,000 ดอลลาร์

อ้างอิง

  1. "The Implementation of Monetary Policy - The Federal Reserve in the International Sphere" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  2. Benjamin J. Cohen, The Future of Money, Princeton University Press, 2006, ISBN 0-691-11666-0; cf. "the dollar is the de facto currency in Cambodia", Charles Agar, Frommer's Vietnam, 2006, ISBN 0-471-79816-9, p. 17

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:สกุลเงิน