ข้ามไปเนื้อหา

เอ็กซ์โป 2020

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ดูไบ 2021–2022
ตราทางการ
ภาพรวม
ระดับ BIEนิทรรศการโลก
หมวดหมู่นิทรรศการระหว่างประเทศประเภทจดทะเบียน
ชื่อEXPO 2020 إكسبو
คำขวัญเชื่อมต่อความคิด สร้างสรรค์อนาคต (Connecting Minds, Creating the Future)
พื้นที่438 เฮกตาร์ (2,740 ไร่)
ผู้เข้าชม25,000,000
ผู้จัดReem Al Hashimi (หัวหน้าบริหาร)
มาสคอตSalama, Rashid, Latifa, Alif, Opti แลด Terra[1]
ผู้เข้าร่วม
ประเทศเข้าร่วม192[2]
ที่จัดงาน
ประเทศผู้จัดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เมืองเจ้าภาพดูไบ
สถานที่จัดงานศูนย์นิทรรศการดูไบ
ลำดับเวลา
คัดเลือก27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 (2013-11-27)
เริ่มต้น1 ตุลาคม 2021
สิ้นสุด31 มีนาคม 2022
นิทรรศการโลก
ก่อนหน้าเอ็กซ์โป 2015 ที่ มิลาน
ถัดไปเอ็กซ์โป 2025 ที่ โอซะกะ
เอ็กซ์โปวาระพิเศษ
ก่อนหน้าเอ็กซ์โป 2017 ที่ อัสตานา
ถัดไปเอ็กซ์โป 2023 ที่ บัวโนสไอเรส
มหกรรมพืชสวน
ก่อนหน้ามหกรรมพืชสวนโลก 2019 ที่ ปักกิ่ง
ถัดไปมหกรรมพืชสวนโลก 2023 ที่ โดฮา
เว็บไซต์
expo2020dubai.com

เอ็กซ์โป 2020 (อาหรับ: إكسبو 2020; Expo 2020) เป็นงานนิทรรศการโลก จัดขึ้นที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2021 ถึง 31 มีนาคม 2022 จากกำหนดการเดิมคือ 20 ตุลาคม 2020 ถึง 10 เมษายน 2021 ซึ่งเลื่อนออกมาจากการระบาดทั่วของโควิด-19[3]

เมืองที่เสนอเป็นเจ้าภาพ

[แก้]

พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย

[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ภาคเอกชนต่าง ๆ ได้มีการหารือเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการ และมีการศึกษาความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพ "งานมหกรรมโลกเวิลด์เอ็กซ์โป" โดยมีสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เป็นแกนกลางในการประสานงาน หลังจากนั้นได้มีการจัดทำรายงานความเป็นไปได้ การระดมความคิดเห็นจากกลุ่มภาครัฐ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมไมซ์ และการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยมี 6 จังหวัด เสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี จันทบุรี เพชรบุรี เชียงใหม่ และภูเก็ต[5]ซึ่งหลังมีการศึกษาความเป็นไปได้ ผลปรากฏว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความพร้อมมากที่สุด โดยพื้นที่จัดงานจะตั้งอยู่ในเขตศูนย์ศิลปาชีพบางไทร พื้นที่ 1,200 ไร่ จากที่ศึกษาควรใช้พื้นที่จัดงาน 1,400-1,500 ไร่ หัวข้อหลัก (Main theme) คือ นิยามใหม่ของโลกาภิวัตน์ - วิถีที่ยั่งยืน เพื่อโลกที่สมดุล (Redefine Globalisation - Balanced Life, Sustainable Living)[6]

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้จัดให้มีการประกวดตราสัญลักษณ์และตัวนำโชคของการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 ขึ้นในระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และได้คัดเลือกกินรี ให้เป็นตัวนำโชคของการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน โดยกินรีนั้นมีความหมายถึงการแสดงความต้อนรับด้วยความเป็นมิตรแบบไทย[7] และคัดเลือกตราสัญลักษณ์รูปปลาตะเพียนสาน สื่อความแง่การให้ความสำคัญกับระบบนิเวศ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ทั้งยังสอดแทรกลายประจำยามซึ่งเป็นแม่ลายไทย[8]

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป (บีไออี) ได้ตัดสิทธิประเทศไทยออกจากการเป็นเมืองที่เข้าชิงการเป็นเจ้าภาพการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 อย่างเป็นทางการ เนื่องจากไม่ได้รับเอกสารการยืนยันจากประเทศไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mascots | Expo 2020 Dubai". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2019. สืบค้นเมื่อ 3 November 2019.
  2. "Participants at Expo 2020 | Expo 2020 Dubai". www.expo2020dubai.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2021. สืบค้นเมื่อ 22 September 2021.
  3. "Dubai Expo confirms new dates: 1 October 2021 until 31 March 2022". Khaleej Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2020. สืบค้นเมื่อ 14 May 2020.
  4. http://www.hurriyetdailynews.com/n.php?n=gov8217t-opts-for-izmir-instead-of-ankara-for-expo-2020-2011-04-19
  5. ลุ้นกรุงเก่าชิงเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป2020 คมชัดลึก. สืบค้น 20-11-2554.
  6. REDEFINE GLOBALISATION : BALANCED LIFE, SUSTAINABLE LIVING เก็บถาวร 2012-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. EXPO 2020. สืบค้น 20-11-2554.
  7. เฟซบุค Thailand expo 2020
  8. ตราสัญลักษณ์ "เวิลด์ เอ็กซ์โป 2020 อยุธยา" เก็บถาวร 2012-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. EXPO 2020. สืบค้น 20-11-2554.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]