อุมมุลเกาะอาบ
อาหรับ: أم القعاب | |
มุมมองกว้างของพื้นที่ซึ่งปรากฏร่องรอยเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา | |
ที่ตั้ง | อียิปต์ |
---|---|
ภูมิภาค | เขตผู้ว่าการอัลวาดีลญะดีด |
พิกัด | 26°10.5′N 31°54.5′E / 26.1750°N 31.9083°E |
| ||||
เพเกอร์ ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | ||||
---|---|---|---|---|
อุมมุลเกาะอาบ (อาหรับ: أم القعاب) เป็นสุสานหลวงของผู้ปกครองในช่วงสมัยต้นยุคราชวงศ์[1] ที่อไบดอส ประเทศอียิปต์[2] ชื่อในปัจจุบันมีความหมายว่า "มารดาแห่งหม้อ" เนื่องจากพื้นที่ทั้งหมดเกลื่อนไปด้วยเศษหม้อที่แตกจากเครื่องบูชาที่ทำขึ้นในสมัยก่อน ชื่อโบราณทางศาสนาของพื้นที่คือ (w-)pkr หรือ (rꜣ-)pkr "เขตของต้น pkr" (ไม่ปรากฏชื่อชนิด) หรือ "การเปิดของต้น pkr" (คอปติก: upoke) , เป็นของ tꜣ-dsr "ดินแดนสันโดษ/โล่ง" (สุสาน) หรือ crk-hh "ผูกพันชั่วนิรันดร์" (คอปติก: Alkhah)
บริเวณแห่งนี้เคยเป็นสถานที่เคารพบูชาในอียิปต์โบราณ และในสมัยราชอาณาจักรกลาง มีการขุดหลุมฝังศพหลวงของราชวงศ์อย่างน้อยหนึ่งแห่งและบูรณะขึ้นใหม่สำหรับนักบวชแห่งโอซิริส[3]
หลุมฝังศพของบริเวณนี้ถูกขุดขึ้นครั้งแรกโดยเอมีล อาเมลีโน ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1890 และขุดค้นอย่างเป็นระบบโดยฟลินเดอรส์ พีทรี ระหว่างปี ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1901[3] ตั้งแต่นั้นมาพื้นที่นี้ก็ถูกขุดอีกครั้งโดยสถาบันโบราณคดีแห่งเยอรมันตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1970 ซึ่งอนุญาตให้มีการสร้างเค้าโครงเดิมและรูปลักษณ์ของสุสานเหล่านี้ขึ้นใหม่อย่างละเอียดถี่ถ้วน[3]
สุสานหลวงก่อนหน้าสมัยราชวงศ์
[แก้]- สุสาน ยู-เจ: เป็นสุสานของผู้ปกครองที่ไม่ทราบพระนาม แต่อาจจะสุสานหลวงของฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 1 ซึ่งค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์ในนั้น[4] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าเป็นของผู้ปกครองยุคก่อนราชวงศ์พระนามว่า บูล ซึ่งได้ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ คือ แผ่นจารึกงาช้าง[5]
- สุสาน บี1/บี2: อิริ-ฮอร์[6]
- สุสาน บี7/บี9: คา
สุสานหลวงราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์
[แก้]รู้จักกันในชื่อ สุสาน บี พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หนึ่งของอียิปต์และฟาโรห์สองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สอง
- สุสาน บี17/บี18: นาร์เมอร์[7]
- สุสาน บี10/บี15/บี19: อฮา[8]
- สุสาน โอ: ดเจอร์[9]
- สุสาน แซด: ดเจต[10]
- สุสาน วาย: เมอร์นิอิธ[11]
- สุสาน ที: เดน[12]
- สุสาน เอ็กซ์: อเนดจิบ[13]
- สุสาน ยู: เซเมอร์เคต[14]
- สุสาน คิว: กา'อา[15]
สุสานหลวงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์
[แก้]ฟาโรห์สองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สองได้ทรงนำพระบรมศพกลับมาฝังไว้ใกล้กับผู้ปกครองก่อนหน้า ซึ่งพระองค์ทรงยังฟื้นฟูแนวปฏิบัติในการสร้างหลุมฝังพระบรมศพด้วยอิฐโคลนในบริเวณใกล้เคียง
- สุสาน วี: เพอร์อิบเซน[16] ตราประทับที่พบในสุสานดังกล่าวปรากฏประโยคเต็มประโยคแรกที่เขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณ[17]
- สุสาน พี: คาเซเคมวี[18] หลุมฝังพระบรมศพแห่งนี้มีขนาดใหญ่มาก มีห้องที่ก่อด้วยอิฐโคลนเชื่อมต่อกันหลายห้อง และห้องฝังพระบรมศพจริงๆ ถูกสร้างขึ้นจากบล็อกหินปูน เมื่อ พีทรีได้ขุดค้นในปี ค.ศ. 1901 ภายในบรรจุคทาที่ทำจากหินทรายและหุ้มด้วยทองคำ แจกันหินปูนที่มีฝาปิดสีทอง และเหยือกน้ำและอ่างทองเหลือง[ต้องการอ้างอิง]
การสังเวยมนุษย์กับสุสานหลวงราชวงศ์ที่หนึ่ง
[แก้]มีการบูชายัญมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีพระบรมศพที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่หนึ่ง[19] ในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดเจอร์นั้นเกี่ยวข้องกับการฝังศพของบุคคลจำนวน 338 คนที่คิดว่าถูกสังเวยแล้ว[19] ผู้คนและสัตว์ที่บูชายัญ เช่น ลา ซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือฟาโรห์ในพระชนม์ชีพหลังจากสวรรคต และดูเหมือนว่าข้าราชบริพารของฟาโรห์ดเจอร์จะถูกรัดคอและถูกฝังลงในสุสานของพวกเขาพร้อมกัน[20][21] ด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบสาเหตุ การประเพณีปฏิบัตดังกล่าวสิ้นสุดเมื่อราชวงศ์ที่หนึ่งล่มสลาย โดยโดยปรากฏการมีตุ๊กตาชวาติสเข้ามาแทนที่ผู้คนจริง ๆ เพื่อช่วยเหลือฟาโรห์ด้วยหน้าที่ที่คาดหวังจากพวกเขาในชีวิตหลังความตาย[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Abydos Tombs of the Kings". www.ucl.ac.uk.
- ↑ Toby Wilkinson, Early Dynastic Egypt, Routledge, 1999
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Shaw, Ian. The Oxford History of Ancient Egypt. p. 67. Oxford University Press. 2000. ISBN 0-19-280458-8
- ↑ "The Earliest Known Egyptian Writing : History of Information".
- ↑ Günter Dreyer: Umm el-Qaab I .: the predynastic royal tomb U-j and its early documents (= Umm el-Qaab, 1st volume). von Zabern, Mainz 1998, ISBN 3-8053-2486-3., pp. 87 & 176.
- ↑ [1] Abydos, Tomb of King Iry-Hor
- ↑ [2] Narmer's Tomb
- ↑ [3] Hor-Aha's Tomb
- ↑ [4] Tomb O
- ↑ [5] Tomb Z
- ↑ [6] Tomb Y - the tomb of Merneith
- ↑ [7] Tomb T
- ↑ [8] Tomb X
- ↑ [9] Tomb U
- ↑ [10] Tomb Q
- ↑ [11] Abydos Tomb P
- ↑ [12] Peribsen' tomb
- ↑ [13] Abydos Tomb V
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Shaw, Ian. The Oxford History of Ancient Egypt. p. 68. Oxford University Press. 2000. ISBN 0-19-280458-8.
- ↑ Payne, Keith (20 October 2009). "Discovery of Abydos: Examining the Work of the Penn-Yale-IFA Joint Expedition" เก็บถาวร 2010-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Heritage Key.
- ↑ Payne, Keith "Exclusive Interview: Dr David O'Connor on the Abydos Expedition" Heritage Key 29 September 2009 [14] เก็บถาวร 2012-07-08 ที่ archive.today