ข้ามไปเนื้อหา

อรทัย ฐานะจาโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
อรทัย ฐานะจาโร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (57 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองพลังธรรม (2537–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
คู่สมรสธิติพันธ์ ฐานะจาโร

อรทัย ฐานะจาโร (ชื่อเล่น: เหน่ง) เดิมมีชื่อว่า อรทัย กาญจนชูศักดิ์ กรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ [1]อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ที่ย่านเยาวราช โดยเป็นบุตรสาวของนายส่ง กาญจนชูศักดิ์ โปรโมเตอร์มวยชื่อดังเจ้าของศึก จ้าวมังกร กับนางฉลวย กาญจนชูศักดิ์

จบการศึกษาจากโรงเรียนสมถวิล ราชดำริ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกการบริหารธุรกิจศึกษา ปัจจุบัน กำลังศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๔ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย

เมื่อศึกษาจบแล้ว ได้ช่วยงานในกิจการโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว และมีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นโปรโมเตอร์มวยร่วมกับนายส่ง ซึ่งเป็นบิดา และเข้าเป็นโปรโมเตอร์เต็มตัวเมื่อนายส่งถึงแก่กรรมไป โดยอาจเรียกได้ว่า เป็นโปรโมเตอร์หญิงคนแรกของไทย โดยมีนักมวยหลายคนในสังกัด ซึ่งมักจะเป็นนักมวยในช่วงชีวิตท้าย ๆ การชกมวยแล้ว เช่น เมืองชัย กิตติเกษม, โนรี จ๊อกกี้ยิม และต่อศักดิ์ ศศิประภายิม[2]

ได้เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วยการเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตสัมพันธวงศ์ สังกัดพรรคพลังธรรม และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในเขตสัมพันธวงศ์ พรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นยุคที่มี ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค

มีตำแหน่งทางการเมืองต่าง ๆ อาทิ ตำแหน่ง ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการการกีฬา คนที่ 2, ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการการพลังงาน, คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี, ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2544

ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) เมื่อปี พ.ศ. 2545 และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2546, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล) เมื่อปี พ.ศ. 2548, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายวัฒนา เมืองสุข) เมื่อปี พ.ศ. 2548 และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) เมื่อปี พ.ศ. 2548 และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) เมื่อปี พ.ศ. 2549 และ ส.ส. ในแบบปาร์ตี้ลิสต์ ของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งในปีเดียวกัน

แต่หลังจากนั้นแล้ว การลงเลือกตั้งของอรทัย ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหลายครั้งจะต้องพบกับญาติพี่น้องของตนเองซึ่งอยู่ต่างพรรคกัน เช่น อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์[3]

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ พ.อ.ธิติพันธ์ ฐานะจาโร ซึ่งเป็นบุตรชายของ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เมื่อปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันมีบุตรธิดารวมทั้งหมด 3 คน[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายชื่อกรรมการมูลนิธิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-18. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
  2. ช้างพีอาร์, ต่อศักดิ์ ศศิประภายิม แชมป์จูเนียร์เฟเธอร์เวต WBF คนใหม่ หน้า 12-15 มวยโลก ฉบับที่ 610 (15-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2539)
  3. "อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  4. อรทัย ฐานะจาโร
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘๙, ๓ มีนาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗