ข้ามไปเนื้อหา

ถนนตก

พิกัด: 13°41′50″N 100°29′49″E / 13.697146°N 100.497038°E / 13.697146; 100.497038
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ถนนตก

ถนนตก (อักษรโรมัน: Thanon Tok) เป็นถนนและทางแยกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระรามที่ 3 และถนนมไหสวรรย์

ถนนตก เป็นส่วนหนึ่งของถนนเจริญกรุง ถือได้ว่าเป็นส่วนปลายสุดของถนนเจริญกรุง โดยเกิดขึ้นมาพร้อมกับถนนเจริญกรุงในปี พ.ศ. 2404 จึงถือว่าเป็นย่านชุมชนที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร บริเวณถนนตกนั้น ด้วยสภาพของตัวถนนตัดมาสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา จึงถูกเรียกว่า "ถนนตก" ซึ่งหมายความถึงสุดถนนเจริญกรุงและตกแม่น้ำเจ้าพระยานั่นเอง โดยปลายสุดของถนนตกเป็นท่าเรือชื่อ "ท่าน้ำถนนตก" ซึ่งแต่เดิมท่าน้ำแห่งนี้เคยเป็นท่าเรือที่ผู้คนใช้สัญจร แต่ปัจจุบันการจราจรทางบกสะดวกสบายขึ้น ทำให้ท่าน้ำแห่งนี้ลดความสำคัญลงกลายเป็นเพียงท่าส่งสินค้าเท่านั้น[1]

นอกจากนี้แล้ว บริเวณตั้งแต่ถนนตกถึงแยกสุรวงศ์ ในพื้นที่แขวงสี่พระยา เขตบางรัก ถือว่าเป็นจุดหนึ่งที่มีการจราจรติดมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร (จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2559) โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนช่วงเช้า ติดอยู่ในอันดับ 3 มีความเร็วเฉลี่ย 10.6 กม./ชม. และเวลาเร่งด่วนในช่วงเย็น อยู่ในอันดับ 1 โดยมีความเร็วเฉลี่ยเพียง 8.8 กม./ชม.เท่านั้น[2]

สถานที่สำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Check in ถิ่นสยาม ถนนตก ทำไมจึงชื่อถนนตก แล้วถนนตกนี้จะไปตกที่ไหน(ชมคลิป)". มติชน. 2015-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
  2. "ติดหนึบ! จัดอันดับถนนรถติดหนักสุดในกรุงเทพฯ". ไทยพีบีเอส. 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ 2018-02-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°41′50″N 100°29′49″E / 13.697146°N 100.497038°E / 13.697146; 100.497038