ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทาโกยากิ"
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม) ล Robot: Adding missing <references /> tag |
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม) ล Robot: Automated text replacement (-\{(\ )*\{(\ )*reflist(.*?)\}(\ )*\} +) |
||
บรรทัด 19: | บรรทัด 19: | ||
<references /> |
<references /> |
||
{{reflist}} |
|||
[[หมวดหมู่:อาหารข้างถนน]] |
[[หมวดหมู่:อาหารข้างถนน]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:41, 4 ธันวาคม 2555
ทะโกะยะกิ (ญี่ปุ่น: たこ焼き หรือ 蛸焼; โรมาจิ: takoyaki; ทับศัพท์: หมึกทอดหรือย่าง) เป็นชื่ออาหารญี่ปุ่นอย่างหนึ่ง โดยเป็นเกี๊ยว (dumpling) ทรงกลม ทำจากแป้ง น้ำ นม และไข่ผสมกัน หรือที่เรียกรวมกันในภาษาอังกฤษว่า "แบ็ตเทอร์" (batter) ใส่ไส้เป็นหมึกตัวเล็กทั้งตัวหรือหั่นเต๋า, เท็มปุระขูด หรือที่เรียก "เท็งกะซุ" (tenkasu), ขิงดอง หรือที่เรียก "เบะนิโชะงะ" (beni shoga) หรือหัวหอมเขียว แล้วทำให้สุกโดยทอดหรือปิ้งในกระทะหลุมอย่างกระทะขนมครก ปัจจุบัน มักราดซอสทะโกะยะกิ และมายงแนส (mayonnaise) แล้วโรยสาหร่ายเขียวที่เรียก "อะโอะโนะริ" (aonori) กับปลาทูขอดทอดแห้ง หรือที่เรียก "คะสึโอะบุชิ" (katsuobushi) ด้วย[1]
พ่อค้าอาหารริมถนนชาวญี่ปุ่นชื่อ เอ็นโด โทะเมะกิชิ (Endō Tomekichi) คิดค้นทะโกะยะกิขึ้นใน พ.ศ. 2478 โดยดัดแปลงมาจากอาหารชื่อ "อะกะชิยะกิ" (Akashiyaki) แล้ววางขายในโอซะกะ[1] แรกเริ่ม ทะโกะยะกิได้รับความนิยมเป็นอันมากในคันไซ แล้วแพร่ไปคันโต ก่อนจะไปสู่ท้องที่อื่น ๆ ตามลำดับ บัดนี้ ยังเป็นที่นิยมภายนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย สำหรับในญี่ปุ่นเอง จำเดิมทะโกะยะกิมีขายทั่วไปตามรถเข็นริมถนน ที่เรียก "ยะตะอิ" (yatai) ปัจจุบัน มีวางขายในภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า และร้านซื้อสะดวกยี่สิบสี่ชั่วโมงด้วย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังผลิตทะโกะยะกิแช่แข็งส่งออกไปขายนอกประเทศเป็นอันมาก และทะโกะยะกิกลายเป็นอาหารประจำถิ่นโอซะกะและคันไซ
คำว่า "ยะกิ" นั้นมาจาก คำ "ยะกุ" (ญี่ปุ่น: 焼く; โรมาจิ: yaku) หมายถึง ทอด ย่าง หรือปิ้ง และเป็นคำประกอบชื่ออาหารอีกหลายชนิดของญี่ปุ่น เช่น เท็ปปันยะกิ, ยะกิโตะริ, เทะริยะกิ และ ซุกิยะกิ[2]
สำหรับกระทะหลุมอันมีไว้ทอดหรือปิ้งทะโกะยะกินั้น ภาษาญี่ปุ่นเรียก "ทะโกะยะกิกิ" (ญี่ปุ่น: たこ焼き器; โรมาจิ: takoyaki-ki) หรือ "ทะโกะยะกินะเบะ" (ญี่ปุ่น: たこ焼き鍋; โรมาจิ: takoyaki-nabe) ทำจากเหล็กหล่อ (cast iron) ลักษณะเป็นหลุมกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้หยอดทะโกะยะกิลงไปเมื่อกระทะร้อนได้ที่แล้ว แต่บางที เครื่องทำทะโกะยะกิที่ต่อกับแก๊สหุงต้มก็นิยมใช้ในเทศกาลต่าง ๆ และเครื่องใช้ไฟฟ้าลักษณะอย่างเตาก็นิยมใช้ทำทะโกะยะกิในครัวเรือน[2]