ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปอดช้ำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: ลิงก์บทความคัดสรร en:Pulmonary contusion
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
[[Category:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์]]
[[Category:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์]]
[[Category:โรคของปอด]]
[[Category:โรคของปอด]]
{{Link FA|en}}


[[de:Lungenkontusion]]
[[de:Lungenkontusion]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:20, 20 ธันวาคม 2554

ปอดช้ำ
(Pulmonary contusion)
ภาพซีทีสแกนแสดงให้เห็นบริเวณของเนื้อปอดที่ช้ำ(ศรแดง)และกระดูกซี่โครงหัก (ศรฟ้า)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10S27.3
ICD-9861.21, 861.31

ภาวะปอดช้ำ (อังกฤษ: pulmonary contusion) เป็นภาวะซึ่งมีการฟกช้ำของปอด เกิดจากการบาดเจ็บต่อทรวงอกทำให้มีการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดฝอยจนมีเลือดและสารน้ำคั่งในเนื้อเยื่อปอด สารน้ำส่วนเกิดเหล่านี้จะรบกวนกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซของปอด จนอาจทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ภาวะนี้แตกต่างจากภาวะปอดฉีกขาดซึ่งเป็นการบาดเจ็บของปอดอีกแบบหนึ่ง ตรงที่ภาวะปอดช้ำจะไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อปอด

ภาวะปอดช้ำส่วนใหญ่เกิดจากการกระแทกแต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บจากระเบิด หรือคลื่นกระแทกที่เกิดจากการถูกทิ่มแทง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1และ 2 ซึ่งมีการใช้ระเบิดในการรบอย่างแพร่กลายนั้นทำให้ภาวะปอดช้ำที่เกิดจากแรงระเบิดเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960 ภาวะนี้เป็นที่รู้จักในคนทั่วไปมากขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุจราจร การใช้เข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัยช่วยลดโอกาสเกิดภาวะปอดช้ำในผู้โดยสารรถยนต์ได้

การวินิจฉัยภาวะนี้ทำได้โดยอาศัยประวัติการเกิดอุบัติเหตุ การตรวจร่างกาย และการถ่ายภาพรังสีทรวงอก อาการและอาการแสดงส่วนใหญ่เป็นผลโดยตรงจากการบาดเจ็บทางกาย เช่นอาการเจ็บหน้าอก และอาการไอเป็นเลือด รวมทั้งอาการที่เป็นผลจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ภาวะตัวเขียว การฟกช้ำที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่หายได้เองด้วยการรักษาแบบประคับประคองซึ่งส่วนมากอาศัยการให้ออกซิเจนและการเฝ้าสังเกตอาการ อย่างไรก็ดีบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องใช้การดูแลเป็นพิเศษแบบผู้ป่วยหนัก เช่น อาจต้องใช้การช่วยหายใจ บางครั้งอาจต้องให้สารน้ำทดแทน ซึ่งต้องทำโดยความระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากการมีสารน้ำมากเกินสามารถทำให้ภาวะน้ำท่วมปอดนั้นแย่ลงได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

ความรุนแรงมีตั้งแต่เป็นไม่มากไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การฟกช้ำเล็กๆ อาจมีผลกระทบน้อยมากหรือแทบไม่มี อย่างไรก็ดีภาวะปอดช้ำเป็นภาวะการบาดเจ็บต่อทรวงอกที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตที่พบบ่อยที่สุด พบเป็น 30-75% ของการบาดเจ็บต่อทรวงอกชนิดรุนแรงทั้งหมด ผู้ป่วยปอดช้ำมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 14-40% จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบอกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือมีภาวะทุพพลภาพจากการบาดเจ็บนั้นๆ หรือไม่ ผู้ป่วยปอดช้ำส่วนใหญ่มีการบาดเจ็บของระบบอื่นร่วมด้วย แม้ส่วนใหญ่การบาดเจ็บที่พบร่วมเหล่านี้จะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต แต่ก็เชื่อกันว่าภาวะปอดช้ำเป็นสาเหตุโดยตรงของการเสียชีวิตมากถึงประมาณ 1/4 - 1/2 ของทั้งหมด ผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีโอกาสบาดเจ็บมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้การบาดเจ็บต่อทรวงอกทั้งหมดถูกถ่ายทอดไปยังเนื้อปอดโดยไม่ถูกดูดซับไปที่ผนังทรวงอก ภาวะแทรกซ้อนของภาวะปอดช้ำได้แก่ปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะทุพพลภาพของระบบหายใจในระยะยาวได้

แม่แบบ:Link FA