ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิยรัฐ จงเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KornUngkul (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขแบบเห็นภาพ Edit Check (references) activated แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| caption = ปิยรัฐ ใน พ.ศ. 2566
| caption = ปิยรัฐ ใน พ.ศ. 2566
| order = [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]<br>[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร|กรุงเทพมหานคร]] เขต 23
| order = [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]<br>[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร|กรุงเทพมหานคร]] เขต 23
| term_start = 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566<br>({{อายุปีและวัน|2023|5|14}})
| term_start = 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566<br>({{อายุปีและวัน|2566|5|14}})
| term_end =
| term_end =
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2533|10|23}}
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2533|10|23}}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 20:51, 10 ธันวาคม 2567

ปิยรัฐ จงเทพ
ปิยรัฐ ใน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร เขต 23
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 213 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2533 (34 ปี)
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2567)
ประชาชน (2567–ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
อาชีพช่างไฟฟ้า
นักการเมือง
ทรัพย์สินสุทธิ6.5 ล้านบาท[1]

ปิยรัฐ จงเทพ (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2533) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และรองเลขาธิการพรรคสัดส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของพรรคประชาชน อดีตนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีชื่อเสียงจากเหตุการณ์ฉีกบัตรลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2559 และหัวหน้ากลุ่มการ์ดที่มีชื่อว่า We Volunteer หรือการ์ดวีโว่ ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564

ประวัติการศึกษา

[แก้]
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (เกียรตินิยมอับดับ 1)
  • ปริญญาตรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ปัจจุบันสาขานี้ถูกยกเลิกไปแล้ว)[2]

การทำงาน

[แก้]
  • พ.ศ. 2557-2561 - ช่างเทคนิคสายอากาศ การไฟฟ้านครหลวง เขตบางนา
  • พ.ศ. 2562-2563 - ผู้ชำนาญการประจำตัว สส. รังสิมันต์ โรม
  • พ.ศ. 2562-2563 - ผู้ประสานงานฝ่ายเครือข่าย พรรคอนาคตใหม่[3]

การเมือง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2553 เกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ปิยรัฐในขณะนั้นศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 เดินทางไปสังเกตการณ์การชุมนุม และตัดสินใจเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม เขาจึงเข้าไปหลบอยู่ที่วัดปทุมวนาราม[4]

หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 ที่นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปิยรัฐและเพื่อนร่วมอุดมการณ์ได้ออกมาทำกิจกรรมต่อต้านการรัฐประหาร และหนึ่งในกิจกรรมที่เริ่มทำให้ปิยรัฐเริ่มเป็นที่รู้จัก คือกิจกรรมต่อต้านศาลทหารในปี พ.ศ. 2558 เขายังเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งโดยใช้ชื่อว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ซึ่ง หนึ่งในนั้นมี รังสิมันต์ โรม เป็นแกนนำ[5]

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ปิยรัฐเดินทางมาเขียนใบสมัครเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคอนาคตใหม่[6] และผ่านกระบวนการคัดเลือกได้เป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดกาฬสินธุ์ อันเป็นจังหวัดบ้านเกิดของเขาเอง แต่ไม่ได้รับเลือก โดยปิยรัฐได้ 17,800 คะแนน เป็นอันดับที่ 3[7]

ในปี พ.ศ. 2563 เกิดการชุมนุมประท้วงรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปิยรัฐได้สร้างกลุ่มการ์ดที่มีชื่อว่าวีโว่ หรือ We Volunteer ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยผู้ชุมนุม[8] โดยเขาเป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญของการชุมนุม และถูกดำเนินคดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคดีมาตรา 112[9], คดีรื้อลวดหนามที่บริเวณแยกอุรุพงศ์[10], คดีอั้งยี่-ซ่องโจร[11], และคดีฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน[12]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ปิยรัฐลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตพระโขนง-บางนา กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล โดยพรรคก้าวไกลได้ชี้แจงถึงสาเหตุที่ส่งเขาลงสมัคร แทนนายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบันซึ่งสังกัดพรรคก้าวไกลในขณะนั้นว่า นายสมเกียรติไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของคณะกรรมการคัดเลือกของพรรคและกรรมการบริหารพรรค อีกทั้งนายปิยรัฐยังใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่และมีผู้สนับสนุนอยู่จึงมีความเหมาะสมมากกว่า[13][14]

3 เมษายน พ.ศ. 2566 ปิยรัฐได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตพระโขนง-บางนา หลังจากที่ถูกร้องว่า เป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่า 5 ปีการศึกษา[15]

และต่อมา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 47,225 คะแนน ต่อมาเมื่อพรรคก้าวไกลถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอีกครั้งจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2567 ปิยรัฐได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาชนพร้อม สส. ที่เหลือ และต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน ได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรคสัดส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[16]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ปิยรัฐได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 1 สมัย

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกลพรรคประชาชน

คดีความ

[แก้]

7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ปิยรัฐได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งในวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่คูหาเลือกตั้งเขตบางนา พร้อมตะโกนว่า“เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” เนื่องจากไม่เห็นด้วยและไม่พึงพอใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกมาภายใต้การควบคุมสิทธิในการแสดงออกของพลเมืองจากรัฐบาล คสช.ในขณะนั้น ทำให้เขาถูกจับกุมและดำเนินคดีทันทีหลังจากฉีกบัตรลงประชามติ[17] และถูกตัดสินความผิดที่ศาลอาญาพระโขนง โดยศาลพิพากษาจำคุก 2 เดือน ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี[18]

ปิยรัฐถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระกษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดทำป้ายไวนิลวิจารณ์การจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาล แล้วใส่ข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 และโพสต์เผยแพร่ภาพป้ายดังกล่าวที่ติดตั้งอยู่ข้างทางใน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยถูกฝากขังเป็นเวลา 33 วัน ก่อนจะได้รับการประกันตัว[19]หลังต่อสู้คดีกว่า 3 ปี ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ได้พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์มีความน่าสงสัยตามสมควรว่า จำเลยเป็นผู้ติดตั้งป้ายและโพสต์ภาพป้ายเองหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนึ่ง (2023-09-22). "'สส.โตโต้' แจงยิบหลัง ปปช. เปิดทรัพย์สินรวย 6.5 ล้าน มีรถ 5 คันราคารวม 1 ล้าน".
  2. "ประวัติ โตโต้ ปิยรัฐ ว่าที่ ส.ส.เขตพระโขนง บางนา อดีตนักกิจกรรมการเมือง". www.thairath.co.th. 2023-05-15.
  3. "ปิยรัฐจงเทพ". election66.moveforwardparty.org.
  4. "เส้นทางชีวิต 'โตโต้' แม่ทัพการ์ด WeVo ผู้ผ่านสมรภูมิพฤษภาอำมหิต ปี '53 / บทความพิเศษในประเทศ". matichonweekly.com. 2021-02-22.
  5. ""รังสิมันต์ โรม" สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ท้าสู้เผด็จการ". Thai PBS.
  6. ""รังสิมันต์ โรม" สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ท้าสู้เผด็จการ". Thai PBS.
  7. "ประวัติ โตโต้ ปิยรัฐ ว่าที่ ส.ส.เขตพระโขนง บางนา อดีตนักกิจกรรมการเมือง". www.thairath.co.th. 2023-05-15.
  8. "'ผมยังเชื่อว่ามีทหารและตำรวจฝั่งประชาธิปไตย' คุยกับ ปิยรัฐ จงเทพ หัวหน้าการ์ด WeVo". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-23.
  9. "อัยการยื่นฟ้อง "โตโต้-ปิยรัฐ" อดีตหัวหน้าการ์ดกลุ่ม WeVo โพสต์หมิ่นเบื้องสูง". mgronline.com. 2021-11-30.
  10. "อัยการสั่งฟ้อง 'ก๊วนวีโว่' รื้อลวดหนาม ขัดขวางจนท. ขอให้นับโทษ 'โตโต้' ต่ออีกหลายคดี". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  11. "ฝากขัง 'โตโต้'กับพวกรวม 15 คน ข้อหา 'อั้งยี่-ซ่องโจร'". bangkokbiznews. 2021-03-08.
  12. "โตโต้-ปิยรัฐ หัวหน้าการ์ดวีโว่ กับพวกรวม 16 คน ถูกตั้งข้อหาผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังไลฟ์ขายกุ้ง". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-11-04.
  13. หยู (2022-09-10). "'ก้าวไกล' แจงส่ง 'โตโต้' เด็กเส้นธนาธร ลงส.ส.เขตพระโขนง อ้างคนเก่าไม่ตอบโจทย์!".
  14. ‘โตโต้’ แนะนำตัวชัด ‘เข้ามาเป็นจุดอ่อนพรรค ก.ก.?’ อ้อนชาวพระโขนง-บางนา ขอเป็นตัวแทน ‘สู้อีกบทบาท’ มติชน
  15. ""โตโต้ ปิยรัฐ"เฮ กกต.ไฟเขียวเป็นผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขต 23 ไร้ปัญหาการศึกษา". thansettakij. 2023-05-08.
  16. "เปิดชื่อ 7 ขุนพลรองหัวหน้าพรรคประชาชน พร้อม 12 รองเลขาฯ ใน 3 สัดส่วน". ไทยรัฐ. 22 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ครึ่งเช้าลงประชามติพบฉีกบัตรแล้ว 7 ครั้ง ส่วนใหญ่เข้าใจผิด". Thai PBS.
  18. "ฎีกา พิพากษายืน คุก 4 เดือน ปรับ 4 พัน "โตโต้-ปิยรัฐ" ฉีกบัตรประชามติ". www.thairath.co.th. 2020-07-21.
  19. "ฐานข้อมูลคดีสิทธิเสรีภาพ". database.tlhr2014.com.
  20. "ศาลกาฬสินธุ์ ยกฟ้อง "โตโต้ ปิยรัฐ" คดี "ม.112 - พ.ร.บ.คอมฯ"". Thai PBS.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]