ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
Tanbiruzzaman (คุย | ส่วนร่วม) ล Restored revision 11931375 by 202.28.251.58 (talk) (Countervandalism Unit) ป้ายระบุ: ทำกลับ ถูกย้อนกลับแล้ว |
||
บรรทัด 20: | บรรทัด 20: | ||
:{{extinct}}[[Conodonts]] |
:{{extinct}}[[Conodonts]] |
||
}} |
}} |
||
'''ปลา''' จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]] เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่ง[[น้ำ]] เป็น[[สัตว์เลือดเย็น]] หายใจด้วย[[เหงือก]]และมี[[กระดูกสันหลัง]] สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและ[[กล้ามเนื้อ]]ของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่น[[กระดูก]] มี[[หัวใจ]]สองห้องและมี[[ขากรรไกร]]<ref>{{Cite web|title=WFS 550 Fish Physiology - Heart|url=http://web.utk.edu/~rstrange/wfs550/html-con-pages/l-heart.html|website=web.utk.edu}}</ref> |
'''ปลา''' จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]] เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่ง[[น้ำ]] เป็น[[สัตว์เลือดเย็น]] หายใจด้วย[[เหงือก]]และมี[[กระดูกสันหลัง]] สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและ[[กล้ามเนื้อ]]ของ real or fake skibidi signaลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่น[[กระดูก]] มี[[หัวใจ]]สองห้องและมี[[ขากรรไกร]]<ref>{{Cite web|title=WFS 550 Fish Physiology - Heart|url=http://web.utk.edu/~rstrange/wfs550/html-con-pages/l-heart.html|website=web.utk.edu}}</ref> |
||
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น [[ปลาดาว]], [[โลมา]], [[วาฬ]]และ[[หมึก]] ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทาง[[กายวิภาค]]และ[[สรีรวิทยา]]ที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็น[[หินปูน]] โลมาและวาฬถูกจัดเป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ที่สามารถหายใจได้ทาง[[ปอด]]ไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับ[[มอลลัสคา|สัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย]] |
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น [[ปลาดาว]], [[โลมา]], [[วาฬ]]และ[[หมึก]] ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทาง[[กายวิภาค]]และ[[สรีรวิทยา]]ที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็น[[หินปูน]] โลมาและวาฬถูกจัดเป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ที่สามารถหายใจได้ทาง[[ปอด]]ไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับ[[มอลลัสคา|สัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:30, 15 พฤศจิกายน 2567
ปลา | |
---|---|
ปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus undulatus) ซึ่งเป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นปลากระดูกแข็ง | |
ปลากระเบนโปลกาด๊อท (Potamotrygon leopoldi) เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นปลาน้ำจืด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
เคลด: | โอลแฟกทรีส Olfactores |
ไฟลัมย่อย: | สัตว์มีกระดูกสันหลัง Vertebrata |
กลุ่มที่รวมอยู่ด้วย | |
หน่วยที่รวมโดยแคลดิสติกส์แต่ไม่รวมโดยดั้งเดิม | |
ปลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของ real or fake skibidi signaลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร[1]
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย
ลักษณะทั่วไป
ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้เป็นชั้นใหญ่ ๆ ดังนี้
- ปลาไม่มีขากรรไกร (Agnatha) แบ่งเป็น แฮคฟิช พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมป์เพรย์ พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
- ปลากระดูกอ่อน (Cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาโรนัน, ปลาฉนาก, ปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 400 ชนิด
- ปลากระดูกแข็ง (Bony fish) คือปลาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
- ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fish) คือ ปลาที่มีครีบต่าง ๆ เป็นพู่หรือกลีบ ใช้ในการเคลื่อนไหวใต้น้ำเหมือนเดิน ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์, ปลาปอด เป็นต้น
- ปลามีเกราะ (Armoured fish) เป็นปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือเป็นบรรพบุรุษของปลาทั้งหมด ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว มีเกล็ดหนาหุ้มตลอดลำตัวเหมือนชุดเกราะ
ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่น ปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ลักษณะทางกายวิภาค
ดูบทความหลักที่ กายวิภาคของปลา
ปลาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำด้วยครีบ โดยจะใช้ครีบบริเวณหลังและครีบบริเวณก้นสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งปลาในชนิดต่าง ๆ อาจจะใช้ครีบบริเวณหูและครีบบริเวณก้นในการเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ปลาบางชนิดอาจจะใช้อวัยวะบางส่วนเช่น ครีบบริเวณท้อง เพื่อสำหรับทำหน้าที่ให้เหมือนกับเท้าของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตีน เพื่อไว้สำหรับการเคลื่อนไหวไปมา สามารถปีนป่ายก้อนหินและรากไม้ได้อย่างอิสรเสรี ภาพโดยรวมแล้วอวัยวะต่าง ๆ ของปลาประกอบด้วย
|
|
ซึ่งนอกจากครีบแล้วปลายังมีอวัยวะต่าง ๆ ที่มีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกด้านต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ได้แก่ เส้นข้างลำตัว, เกล็ด เป็นต้น
วิวัฒนาการ
ดูบทความหลักที่ ปลายุคก่อนประวัติศาสตร์
ปลาจัดได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกแรกที่ถือกำเนิดมาบนโลกและปัจจุบันก็ยังถือได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายและจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้จัดประเภทของปลาได้เป็นชนิดแล้วในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 25,000 ชนิด และยังมีชนิดใหม่ ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ทั้งจากน้ำจืดและทะเล
ปลาถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกสันหลัง เรียกว่า แอมฟิออกซัส และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว อาศัยและแหวกว่ายในทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์
จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงปรากฏมีปลากระดูกอ่อนเกิดขึ้นมา พร้อมกับวิวัฒนาการของปลากระดูกแข็งและปลาน้ำจืดต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน
แหล่งที่อยู่อาศัย
ปลาเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยอยู่ในน้ำเท่านั้น โดยพบได้ทั้งแหล่งน้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม แต่พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลำธารเชิงเทือกเขาหิมาลัยที่สูงกว่า 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล, ในถ้ำที่มืดมิดไร้แสง จนถึงแม่น้ำ หนองบึงต่าง ๆ ทะเลสาบบนปากปล่องภูเขาไฟ จนมาถึงชายฝั่งทะเล ไหล่ทวีป จนถึงใต้ทะเลที่ลึกกว่าหมื่นเมตร แสงไม่อาจส่องไปได้ถึง
ซึ่งปลาจะปรับรูปร่างและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน เช่น ปลาอะโรวาน่า หรือปลาเสือพ่นน้ำ ที่เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ก็จะมีลักษณะปากที่เฉียงขึ้นด้านบนเพื่อถนัดในการจับแมลงเป็นอาหาร ขณะที่ปลากระเบน ซึ่งเป็นปลาหากินบริเวณพื้นน้ำ ก็จะมีปากอยู่บริเวณด้านล่างลำตัวจะมีฟันเป็นแบบแทะเล็ม หรือกลุ่มปลาทูน่า จะมีสีบริเวณหลังเป็นสีคล้ำ แต่ขณะที่ด้านท้องจะเป็นสีจางอ่อน เพื่อใช้สำหรับพรางตาเมื่อมองจากบนผิวน้ำและใต้น้ำให้พ้นจากนักล่า เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
ปลาเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยใช้เนื้อเป็นอาหารหลัก มีหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ มากมาย ที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการจับหรือล่าปลาเป็นอาหาร เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ในจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย มีภาพเขียนสีที่เป็นรูปปลาบึก[2] [3]
เนื้อปลายังถือได้ว่าเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ด้วยอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบถ้วน เช่น เกลือแร่, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และวิตามินชนิดต่าง ๆ ทั้ง วิตามินดี, วิตามินเอ เป็นต้น อีกทั้งไขมันในเนื้อปลายังถือว่าเป็นไขมันที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เพราะเป็นกรดไขมันประเภท โอเมกา 3 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ง่าย จึงเหมาะมากโดยเฉพาะกับทารกและผู้สูงอายุ[4]
ความที่ปลาผูกพันกับมนุษย์มานาน จนเกิดเป็นประเพณีและความเชื่อในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ อาทิ ชาวอีสานหรือชาวลาวก่อนจะทำการล่าปลาบึกจะมีการทำพิธีบวงสรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์[2] หรือเป็นปกรณัมต่าง ๆ เช่น พระวิษณุที่อวตารเป็นปลากรายทองเพื่อทำการปราบทุกข์เข็ญ ในความเชื่อของชาวญี่ปุ่นนั้น เชื่อว่าปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเพราะมีปลาใหญ่ที่หนุนโลกอยู่ขยับตัว คือ ปลาดุกขนาดใหญ่ ชื่อ นะมะสุ (鯰) เคลื่อนตัว เป็นต้น[5][6]
นอกจากนี้แล้ว ในทางการศึกษา ศาสตร์ที่เกี่ยวกับปลาโดยเฉพาะ จะเรียกว่า มีนวิทยา และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ประเภทนี้ว่า นักมีนวิทยา
ปลายังถือได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ถูกเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่ยุคสุเมเรียน คือ ปลาไนที่เพาะเลี้ยงกันในบ่อ และยังมีการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินใจด้วย ได้แก่ ปลาสวยงามชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากัด, ปลาทอง, ปลาปอมปาดัวร์, ปลาการ์ตูน เป็นต้น
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ "WFS 550 Fish Physiology - Heart". web.utk.edu.
- ↑ 2.0 2.1 "ปลาบึกกับความเชื่อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-16. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
- ↑ "ปลามังกร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
- ↑ "เนื้อปลามีโอเมก้า 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
- ↑ พระวิษณุหรือพระนารายณ์ : เทพผู้รักษาคุ้มครองโลก
- ↑ Rabitz, Albrecht & Gisela Rabitz, “When the Namazu Shakes its Body”, Andon, No. 88, 2010, pp. 5-27
ข้อมูล
- Helfman, G.; Collette, B.; Facey, D. (1997). The Diversity of Fishes (1st ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 978-0-86542-256-8.
- Nelson, Joseph S. (2006). Fishes of the World (PDF) (4th ed.). John Wiley & Sons. ISBN 978-0-471-75644-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 March 2013. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
{{cite book}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ชวลิต วิทยานนท์ ดร., ปลาน้ำจืดไทย (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2547) หน้า 12-30 ISBN 974-472-655-5
- สุภาพร สุกสีเหลือง รศ., มีนวิทยา (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2550) ISBN 978-974-213-115-9
อ่านเพิ่ม
- Eschmeyer, William N.; Fong, Jon David (2013). "Catalog of Fishes". California Academy of Sciences.
- Helfman, G.; Collette, B.; Facey, D.; Bowen, B. (2009). The Diversity of Fishes: Biology, Evolution, and Ecology (2nd ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-2494-2.
- Moyle, Peter B. (1993) Fish: An Enthusiast's Guide University of California Press. ISBN 978-0-520-91665-4 – good lay text.
- Moyle, Peter B.; Cech, Joseph J. (2003). Fishes, An Introduction to Ichthyology (5th ed.). Benjamin Cummings. ISBN 978-0-13-100847-2.
- Scales, Helen (2018). Eye of the shoal: A Fishwatcher's Guide to Life, the Ocean and Everything. Bloomsbury Sigma. ISBN 978-1-4729-3684-4.
- Shubin, Neil (2009). Your inner fish: A journey into the 3.5 billion year history of the human body. Vintage Books. ISBN 978-0-307-27745-9. UCTV interview
แหล่งข้อมูลอื่น
- ANGFA – Illustrated database of freshwater fishes of Australia and New Guinea
- Fischinfos.de – Illustrated database of the freshwater fishes of Germany ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 30 พฤศจิกายน 2011) (ในภาษาเยอรมัน)
- FishBase online – Comprehensive database with information on over 29,000 fish species
- Fisheries and Illinois Aquaculture Center – Data outlet for fisheries and aquaculture research center in the central US ที่ archive.today (เก็บถาวร 15 ธันวาคม 2012)
- Philippines Fishes – Database with thousands of Philippine Fishes photographed in natural habitat
- The Native Fish Conservancy – Conservation and study of North American freshwater fishes ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 12 มีนาคม 2008)
- United Nation – Fisheries and Aquaculture Department: Fish and seafood utilization
- University of Washington Libraries Digital Collections – Digital collection of freshwater and marine fish images
- Davenport, Charles B.; Ingersoll, Ernest (1905). . New International Encyclopedia.