ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศุลกสถาน"

พิกัด: 13°43′31″N 100°30′50″E / 13.725232°N 100.513916°E / 13.725232; 100.513916
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
[[ไฟล์:May 2020 - Customs House Bangkok (sealed off for renovation) img 02.jpg|thumb|ป้ายโครงการปรับปรุงอาคารเป็นโรงแรม (ภาพถ่ายในปี 2020)]]
[[ไฟล์:May 2020 - Customs House Bangkok (sealed off for renovation) img 02.jpg|thumb|ป้ายโครงการปรับปรุงอาคารเป็นโรงแรม (ภาพถ่ายในปี 2020)]]
[[ไฟล์:2022 January - Bangkok old customs house.jpg|thumb|ศุลกสถานในปี 2022]]
[[ไฟล์:2022 January - Bangkok old customs house.jpg|thumb|ศุลกสถานในปี 2022]]
อาคารศุลกสถาน สร้างขึ้นในปี 2431 โดยมี[[โยอาคิม กรัสซี]] เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ สร้างขึ้นตามแบบ[[สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ]] เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการนำสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างอาคารราชการในประเทศสยามในช่วงรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref name="naming"/>
อาคารศุลกสถาน สร้างขึ้นในปี 2431 โดยมี[[โยอาคิม กรัสซี]] เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ สร้างขึ้นตามแบบ[[สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ]] เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการนำสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างอาคารราชการในประเทศสยามในช่วงรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref name="naming"/> อาคารตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใน[[เขตบางรัก]] ในซอยเจริญกรุง 36


ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 บริษัท ยู ซิตี้ ได้ร่วมมือกับบริษัท อามัน รีสอร์ท และ ซิลเวอร์ลิงค์ รีสอร์ท ลงนามในสัญญาพัฒนาโครงการ โดยได้รับสัมปทานในการเช่าอาคารเป็นระยะเวลา 30 ปี แรบบิท โฮลดิงส์ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากยู ซิตี้<ref>{{Cite web|date=2022-10-03|title=ยู ซิตี้ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน พร้อมลดทุน-ลดพาร์ เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล|url=https://www.btsgroup.co.th/th/update/news-event/797/ยู-ซิตี้-ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่-สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน-พร้อมลดทุน-ลดพาร์-เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล|website=www.btsgroup.co.th|language=th}}</ref>) วางแผนทุ่มงบ 3,000 ล้านบาท (94 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นโรงแรมหรู โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2568 ก่อนเริ่มงานบูรณะมีการขุดค้นทางโบราณคดีและจัดทำรายการสิ่งที่พบร่วมกับ[[กรมศิลปากร]]<ref>{{cite news |title=U City's B3bn fixer-upper |url=https://property.bangkokpost.com/news/1685988/u-citys-b3bn-fixer-upper |accessdate=13 October 2019 |work=Bangkok Post |date=30 May 2019}}</ref>
ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 บริษัท ยู ซิตี้ ได้ร่วมมือกับบริษัท อามัน รีสอร์ท และ ซิลเวอร์ลิงค์ รีสอร์ท ลงนามในสัญญาพัฒนาโครงการ โดยได้รับสัมปทานในการเช่าอาคารเป็นระยะเวลา 30 ปี แรบบิท โฮลดิงส์ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากยู ซิตี้<ref>{{Cite web|date=2022-10-03|title=ยู ซิตี้ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน พร้อมลดทุน-ลดพาร์ เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล|url=https://www.btsgroup.co.th/th/update/news-event/797/ยู-ซิตี้-ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่-สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน-พร้อมลดทุน-ลดพาร์-เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล|website=www.btsgroup.co.th|language=th}}</ref>) วางแผนทุ่มงบ 3,000 ล้านบาท (94 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นโรงแรมหรู โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2568 ก่อนเริ่มงานบูรณะมีการขุดค้นทางโบราณคดีและจัดทำรายการสิ่งที่พบร่วมกับ[[กรมศิลปากร]]<ref>{{cite news |title=U City's B3bn fixer-upper |url=https://property.bangkokpost.com/news/1685988/u-citys-b3bn-fixer-upper |accessdate=13 October 2019 |work=Bangkok Post |date=30 May 2019}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:42, 7 กันยายน 2567

ศุลกสถาน
สถานีดับเพลิงบางรัก
The Old Custom House
Bang Rak Fire Station
มุมอาคารศุลกสถานหันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่
ชื่อเดิมโรงภาษีร้อยชักสาม[1]
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทศุลกสถาน
สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก ในรูปแบบปัลลาดีโอ
เมืองซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2429–2431[1]</ref>
ปรับปรุงพ.ศ. 2562–2568
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกโยอาคิม กรัสซี

ศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม หรือโรงภาษีเก่า ชาวแต้จิ๋วเรียกว่า ฟ้าซีกวน หรือแป๊ะลั่นซา ซึ่งมีความหมายเดียวกัน)[2] เป็นอดีตอาคารที่ทำการของศุลกสถาน (กรมศุลกากรในปัจจุบัน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ของเขตบางรัก ติดกับสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2431 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามคำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) อธิบดีกรมศุลกากรคนแรก

สถาปัตยกรรม

ศุลกสถานเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีมุขกลางสูง 4 ชั้น ศิลปะโรมันคลาสสิค เป็นสถาปัตยกรรมทรงนีโอคลาสสิก และสมมาตรตามวิถีของปัลลาดีโอ (Neo-Palladian) เป็นอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกันเป็นรูปตัวไอ โดยโยอาคิม กรัสซี (Joachim Grassi/Gioachino Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลีสัญชาติออสเตรียน/ฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง สถาปนิกผู้นี้มีผลงานมากมายในขณะนั้น เช่น คองคอร์เดียคลับ, พระราชวังบางปะอิน, วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร, เรือนรับรองสถานทูตโปรตุเกส, วังบูรพาภิรมย์, วังใหม่ประทุมวัน, โรงทหารหน้า, ป้อมพระจุลจอมเกล้า, อาคารเก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ, ตึกวิคตอเรียและตึกเสาวภาคที่ศิริราชพยาบาล, ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้, คุกมหัตโทษ[3] ภายหลังสร้างเสร็จ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น[4]

ผังของศุลกสถาน ประกอบด้วยตึก 3 หลัง ตึกด้านเหนือวางแนวตั้งฉากกับแม่น้ำมีสองชั้นเป็นที่ทำการภาษีขาเข้าขาออก (มีตัวหนังสือ Import and Export Department ที่หน้าบันตัวตึก) ตึกกลางเป็นตึกใหญ่รูปสี่เหลี่ยมยาวแผ่ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีระเบียงทางเดินด้านหน้าซึ่งประกอบด้วยซุ้มหน้าต่างตลอดแนวอาคาร ชั้นล่างเป็นซุ้มสี่เหลี่ยมเรียบ ๆ ส่วนชั้น 2 และชั้น 3 เป็นซุ้มโค้ง ขอบระเบียงเป็นลูกกรงแก้วปูนปั้น มีเสาอิงเป็นระยะสลับกับแนวหน้าต่าง ชั้น 4 เป็นห้องโถงใหญ่ (ออกแบบเป็นที่เก็บเอกสาร) มียอดเป็นจั่ว รูปสามเหลี่ยมบรรจุนาฬิกาทรงกลมในจั่ว เหนือจั่วมีกระบังหน้าคล้ายมงกุฎปั้นเป็นตราแผ่นดิน[5]

มีรูปปูนปั้นสิงห์สองข้าง อาคารมีทรงคล้ายคลึงกับตึกเก่าของโรงเรียนอัสสัมชัญ (ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว) ซึ่งสร้างในช่วงเวลาและตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากสถาปนิกผู้ออกแบบเป็นคนเดียวกัน ตึกกลางมีสะพานไม้เชื่อมกับชั้นสองของทั้งตึกด้านเหนือและตึกด้านใต้ ส่วนตึกด้านใต้เป็นตึกยาวสองชั้นวางแนวตั้งฉากกับแม่น้ำ ใช้เป็นที่ทำการภาษีข้าวและไปรษณีย์ต่างประเทศ

ประวัติศาสตร์

ศุลกสถาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของตำรวจน้ำโดยมีการต่อเติมที่จอดเรือบริเวณด้านหน้าอาคาร
ป้ายโครงการปรับปรุงอาคารเป็นโรงแรม (ภาพถ่ายในปี 2020)
ศุลกสถานในปี 2022

อาคารศุลกสถาน สร้างขึ้นในปี 2431 โดยมีโยอาคิม กรัสซี เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการนำสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างอาคารราชการในประเทศสยามในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] อาคารตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตบางรัก ในซอยเจริญกรุง 36

ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 บริษัท ยู ซิตี้ ได้ร่วมมือกับบริษัท อามัน รีสอร์ท และ ซิลเวอร์ลิงค์ รีสอร์ท ลงนามในสัญญาพัฒนาโครงการ โดยได้รับสัมปทานในการเช่าอาคารเป็นระยะเวลา 30 ปี แรบบิท โฮลดิงส์ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากยู ซิตี้[6]) วางแผนทุ่มงบ 3,000 ล้านบาท (94 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นโรงแรมหรู โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2568 ก่อนเริ่มงานบูรณะมีการขุดค้นทางโบราณคดีและจัดทำรายการสิ่งที่พบร่วมกับกรมศิลปากร[7]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 น.ส.พิริยา พิทยาวัฒชัย. "สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กราซีในสยาม" (PDF). สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2017. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. Bloggang.com สายหมอกและก้อนเมฆ. ศุลกสถาน. 24 ตุลาคม 2555. https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=24-10-2012&group=11&gblog=71
  3. "สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กราซีในสยาม" วิทยานิพนธ์ของ นส.พิริยา พิทยาวัฒนชัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร. พศ. 2554
  4. "ศุลกสถาน" สตูดิโอมีชีวิต มรดกยุโรปในเมืองไทย, ประชาชาติธุรกิจ. วันที่ 21 ต.ค. 2556
  5. อรวรรณ บัณฑิตกุล,อาคารศุลกสถาน อดีตที่ร่วงโรยริมแม่น้ำเจ้าพระยา เก็บถาวร 2021-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์ .สิงหาคม 2544
  6. "ยู ซิตี้ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน พร้อมลดทุน-ลดพาร์ เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล". www.btsgroup.co.th. 2022-10-03.
  7. "U City's B3bn fixer-upper". Bangkok Post. 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 October 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′31″N 100°30′50″E / 13.725232°N 100.513916°E / 13.725232; 100.513916