ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปารีณา ไกรคุปต์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขแบบเห็นภาพ |
||
บรรทัด 4: | บรรทัด 4: | ||
| honorific-suffix = <br>[[มหาวชิรมงกุฎ|ม.ว.ม.]], [[ประถมาภรณ์ช้างเผือก|ป.ช.]] |
| honorific-suffix = <br>[[มหาวชิรมงกุฎ|ม.ว.ม.]], [[ประถมาภรณ์ช้างเผือก|ป.ช.]] |
||
| image = ปารีณา ไกรคุปต์ 2020.jpg |
| image = ปารีณา ไกรคุปต์ 2020.jpg |
||
| caption = ปารีณาที่เขมร ณ เมืองสีหนุ |
| caption = ปารีณาที่เขมร ณ เมืองพระสีหนุ |
||
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2519|5|19}} |
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2519|5|19}} |
||
| birth_place = [[พนมเปญ]] [[กัมพูชา]] |
| birth_place = [[พนมเปญ]] [[กัมพูชา]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:33, 4 กุมภาพันธ์ 2567
ปารีณา ไกรคุปต์ | |
---|---|
ปารีณาที่เขมร ณ เมืองพระสีหนุ | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2564[1] | |
นายกรัฐมนตรี | |
ก่อนหน้า | ประไพพรรณ พศบูรณินทร์ |
ถัดไป | ชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ |
เขตเลือกตั้ง | จอมบึง-โพธาราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 พนมเปญ กัมพูชา |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2548–2549) ชาติไทย (2550–2551) ชาติไทยพัฒนา (2551–2556) เพื่อไทย (2557) พลังประชารัฐ (2561–2565) |
คู่สมรส | อุปกิต ปาจรียางกูร (หย่า) |
บุตร | 3 คน |
ชื่อเล่น | เอ๋ |
ปารีณา ไกรคุปต์ (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น เอ๋ เป็นนักการเมืองชาวเขมร สืบเชื้อสายจากเจ้าพระบาทตระซ็อกประแอมผู้โค่นราชวงศ์มหิธรปุระแห่งราชวงศ์วรมันและลอบปลงสังหารพระเจ้าชัยวรมันที่ ๙ ในสมัยขอมโบราณสู่อาณาจักรเขมรโดยมีเชื้อสายนายทาสที่ต้องการก่อกบฏเป็นใหญ่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 4 สมัย [2] ในปี 2548–2550, 2554 และ 2562 เคยอยู่หลายพรรคการเมือง เช่น พรรคไทยรักไทย, พรรคชาติไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ เคยประกวดนางสาวไทยเมื่อปี 2544 จนผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายคว้ารางวัลนางงามมิตรภาพ เกิดเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519[3] เป็นชาวอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี[3]
บิดาของปารีณา คือ ทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี[3] มารดาของปารีณา คือ สิริบังอร ไกรคุปต์
ปารีณาสมรสกับอุปกิต ปาจรียางกูร[3] มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ กล้าเกล้า ไกรคุปต์, อดิศรา ปาจรียางกูร และกิตตรา ปาจรียางกูร[3]
งานทางการเมือง
ปารีณาเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 สืบต่อจากบิดา ครั้งแรกปารีณาลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย ต่อมาย้ายไปพรรคชาติไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคชาติไทย → พรรคชาติไทยพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ทั้งนี้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 2 ครั้ง ที่ปารีณาได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะในภายหลัง
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย
กระแสวิพากษ์วิจารณ์
การใช้คำพูด
ปารีณาใช้คำว่า "อีช่อ" พาดพิงพรรณิการ์ วานิช (ชื่อเล่นว่า ช่อ) แต่ถูกสื่อสังคมวิจารณ์ว่าเป็นการใช้คำหยาบคาย ปารีณาให้เหตุผลว่า "อีช่อ" เป็นคำท้องถิ่นและเป็นคำที่ใช้ในบ้านของตน[4] นอกจากนี้ ปารีณาทำนายว่าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งจะถูกยุบ ทำให้สื่อสังคมคาดเดาไปต่าง ๆ นานา[5]
ในทวิตเตอร์มีการติดแฮชแท็กถึงปารีณามากมาย เช่น "#ปารีณาค้าอาวุธ" รวมถึงวิจารณ์การใช้คำผิด ๆ ของเธอ เช่น ปารีณาเขียนว่า "ลุงตู๋" ทำให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ติดแฮชแท็กว่า "#พลังประชารัฐโป๊ะแตก"[6]
การแสดงความคิดเห็นเชิงพาดพิง
ตอนหนึ่งที่ปารีณากล่าวถึงคณากร เพียรชนะ[7]
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ปารีณาได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัววิจารณ์กรณีสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ถูกทำร้าย ว่าเป็นการสร้างกระแสเพื่อใส่ร้ายรัฐบาล และเรียกคะแนนสงสาร[8] จนตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส สมาชิกพรรคเพื่อไทย วิจารณ์ปารีณาว่า "ปารีณารู้ข้อมูลมากกว่าตำรวจในพื้นที่ซึ่งทำคดีนี้เสียอีก"[9] พร้อมฝากคำถามถึงปารีณาเกี่ยวกับพิรุธในเหตุการณ์[9]
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:25 น. ปารีณาได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีข้อความช่วงหนึ่งได้มีการกล่าวในเชิงพาดพิง หลังจากข้อความดังกล่าวถูกเผยแพร่ ได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเชื่อว่าเป็นการกล่าวถึงคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ที่ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองหลังอ่านคำพิพากษา ภายในห้องพิจารณาคดีชั้น 3 ของศาลาจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ในปีเดียวกัน[10]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 มีข่าวว่าปารีณาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโต้เถียงกับปนัดดา วงศ์ผู้ดี ทำให้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจาก CPTPP[11]
คดีความ
ครอบครองอาวุธสงคราม
คดีเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 ซี่งเป็นเวลาที่มีการบังคับใช้กฎอัยการอยู่ โดยนายสัชญา สถิรพงษะสุทธิและนางปารีณา ไกรคุปต์ฐานครอบครองอาวุธสงครามที่ไม่ได้อนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม อันได้แก่ กล้องส่องเวลากลางคืน 1 ชุด เสื้อเกราะกันกระสุน 1 ตัว หมวกเกราะกระสุน 1 ใบ ปืนกลเล็ก ซึ่งไม่ใช่ชนิดและขนาดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ โดยมีไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 และ พ.ร.บ.อาวุธปืน วัตถุระเบิด และสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ พ.ศ.2522 และ [12]พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 มาตรา 15,42 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 , 140 , 371 [13] นอกจากนี้ได้พกพาปืนพกออโตเมติกขนาด .38 SUPER ซึ่งเป็นอาวุธปืนได้รับอนุญาตให้มีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย กับกระสุนปืนออโตเมติกจำนวน 31 นัด และอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์กับกระสุนปืนลูกกรดจำนวน 8 นัด ติดตัวไปในซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ซึ่งเป็นทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธ โดยเหตุเกิดในท้องที่ซี่งขณะนั้นประกาศใช้กฎอัยการศึก[14] โดยโอนคดีจากศาลทหารยื่นฟ้องต่อศาลอาญาเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 ศาลประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลข ดำ อ.3041/2562 และกำหนดนัดจำเลยให้ปากคำในวันที่ 27 มกราคม 2563 [15] และเลื่อนคดีไปวันที่ 9 มีนาคม 2563 เนื่องจากจำเลยอีกคนไม่มาเพราะยังไม่ได้รับหมาย[16] และเลื่อนคดีไปอีกครั้งในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เนื่องจากทนายความจำเลยที่ 1 ติดภารกิจฌาปณกิจศพมารดา[17] โดยคดีนี้ศาลอาญามีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดราคาประกัน 700,000 บาท [18][19]
ฟาร์มไก่
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดตรวจสอบการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. กรณีฟาร์มไก่เขาสนฟาร์ม ของปารีณา พบว่าอยู่เขต ส.ป.ก. กว่าพันไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีชื่อของทวี ไกรคุปต์ บิดาของปารีณาเป็นผู้ถือครอง[20]
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ธรรมนัส พร้อมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบฟาร์มไก่ของปารีณา หลังจากที่ ส.ป.ก. ทำหนังสือถึงปารีณาให้คืนที่ดินจำนวน 682 ไร่ บริเวณฟาร์มไก่ ให้กับ ส.ป.ก. ภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ปารีณาได้ทำหนังสือส่งมอบคืนที่ดินทั้งหมดให้ทางเลขา ส.ป.ก. เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ธรรมนัสจึงเข้ามารับมอบคืนพื้นที่ด้วยตนเอง[21]
วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดราชบุรี ได้นำป้ายประกาศยึดพื้นที่ไปติดหน้าฟาร์มไก่ของปารีณา แต่ยังมีคนอยู่ข้างในพื้นที่ภายในฟาร์มไก่[22]
วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563 เกิดเหตุเพลิงไหม้ในฟาร์มไก่โดยไม่ทราบสาเหตุ เหตุการณ์ครั้งนี้มีโรงไก่ถูกไฟไหม้เสียหาย 1 โรงเรือน แม้จะไม่มีไก่ในโรงดังกล่าวแล้ว แต่อุปกรณ์เลี้ยงไก่ที่อยู่ภายในได้เสียหายเกือบทั้งหมด ปารีณายืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากไม่มีการใช้ไฟฟ้าในฟาร์มไก่มานานแล้ว อีกทั้งผู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากไฟป่า[23][24] อย่างไรก็ตาม หลังจากปารีณาได้โพสต์ภาพความเสียหายของฟาร์มไก่ที่ถูกเพลิงไหม้ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ปรากฏว่ามีชาวสังคมออนไลน์ที่ใช้เฟซบุ๊กเข้ามากดปุ่มหัวเราะ(Haha) ในโพสต์ดังกล่าว ประมาณ 17,000 ครั้ง ขณะที่คนกดถูกใจ(Likes) อยู่ที่ประมาณ 3,500 ครั้ง ส่วนเสียใจ(Sad) อยู่ที่ประมาณ 500 ครั้ง[25]
ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)[26] พิจารณากรณีปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. จากการไต่สวนพบว่า ปารีณาแจ้งรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินผิดจากข้อเท็จจริง 2 รายการ ได้แก่ 1) กรณียื่นรายการทรัพย์สินอื่นเป็นพระเครื่องผิดรุ่นโดยปารีณาแจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า ครอบครองพระสมเด็จบางขุนพรหม มูลค่า 2.5 ล้านบาท แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าพระเครื่องดังกล่าวประเมินมูลค่าได้ประมาณ 2-3 แสนบาท 2) กรณีรายการเงินให้กู้ยืมที่ ปารีณาแจ้งแก่ป.ป.ช.ว่า ทำสัญญาเงินกู้ 7-8 ล้านบาท แต่เมื่อตรวจสอบพบว่า สัญญาเงินกู้ดังกล่าวเป็นเท็จ เพราะไม่ได้มีการกู้เงินดังกล่าวตามจริง โดยถือว่าเป็นการปกปิดข้อมูลและแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ ถือว่าชัดคำสั่งเจ้าพนักงานเป็นความผิดอาญา[27]โดยจะส่งเรื่องให้ศาลฎีกาเพื่อพิจารณาถึงการตัดสิทธิทางการเมือง รวมถึงตัดสิทธิในการเลือกตั้ง[28]
การพ้นจากหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดของปารีณา กรณีครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. โดยมีมติว่า การกระทำของปารีณาเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรง[29] ต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565 ศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของปารีณาเป็นเวลา 10 ปี รวมถึงไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต[30] ส่งผลให้ปารีณาพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปโดยปริยาย และคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดการเลือกตั้งในเขต 3 ของจังหวัดราชบุรีภายใน 45 วัน แทนตำแหน่งที่ว่าง[31]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[32]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[33]
อ้างอิง
- ↑ "กกต.เผยขั้นตอนจัดเลือกตั้งซ่อมใน 45 วันหลังศาลฎีกาสั่ง "ปารีณา" พ้น ส.ส.". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-04-10.
- ↑ กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 คลังข้อมูลของ Thaiswatch สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2562
- ↑ ส.ส. ราชบุรี โพสต์แจง ถึงกรณีไลฟ์สด ชี้ คำว่า ‘อีช่อ’ เป็นคำเรียกแถวบ้านถึงคนไม่อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์
- ↑ "ชาวออนไลน์สงสัย 'ปารีณา' แช่งใคร 'ขอให้ถูกยุบพรรค'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-31. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
- ↑ ทวิตเตอร์แหกยับ ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.พลังประชารัฐ เขียนชื่อ ลุงตู่ เป็น ลุงตู๋
- ↑ ปารีณา มาแล้ว! บอกจัดฉากยิงตัวไม่เนียน หวังโกหก-ใส่ร้าย
- ↑ "ปารีณา" ชี้ทำร้าย"จ่านิว" อาจเป็นพรรคขาลงสร้างกระแส
- ↑ 9.0 9.1 ผู้สมัคร ส.ส. เพื่อไทย ชม ปารีณา รู้ดียิ่งกว่าตำรวจปมจ่านิว จวกไม่ต้องพูดสักเรื่องก็ได้
- ↑ ปารีณา โพสต์ล่อเป้า อ้างมีคนจัดฉากยิงตัวตาย หวังทำลายความน่าเชื่อถือสถาบันศาล
- ↑ ทวิตฯ เดือด "เอ๋ ปารีณา"ติดเทรนด์ ชาวเน็ตชี้ตัวเบี่ยงประเด็น
- ↑ "เอ๋ ปารีณา ลุ้นประกัน คดีร่วมครอบครองอาวุธปืน". คมชัดลึกออนไลน์. 2020-01-27.
- ↑ workpointTODAY. "เลื่อนคดี "ปารีณา" เกี่ยวโยงอาวุธสงครามไป มี.ค. หลังจำเลยร่วมไม่มาศาล | workpointTODAY". LINE TODAY.
- ↑ "อัยการฟ้อง ปารีณา ร่วมหนุ่มอีกคน ผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ". NationTV. 2019-12-06.
- ↑ "อัยการฟ้อง 'ปารีณา' ร่วมหนุ่มอีกคน ผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ". bangkokbiznews. 2019-12-06.
- ↑ pptvhd36.com. "ศาลเลื่อนคดี "ปารีณา" ครอบครองปืนกล นัดใหม่ 9 มี.ค.63". pptvhd36.com.
- ↑ ""เอ๋ ปารีณา"ยันบริสุทธิ์คดีรุกป่าเผยเตรียมรับทราบข้อกล่าวหาพรุ่งนี้". posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-09.
- ↑ "ศาลให้ 'เอ๋ ปารีณา' ประกัน 7 แสน คดีร่วมครอบครองอาวุธปืน". bangkokbiznews. 2020-01-27.
- ↑ ""เอ๋ ปารีณา" ลุ้นประกัน คดีร่วมครอบครองอาวุธปืน". springnews. 2020-01-27.
- ↑ ฟาร์มไก่'ปารีณา'รุกที่ส.ป.ก. หากชี้แจงไม่ขึ้นยึดคืนหลวง!
- ↑ 'ปารีณา'ยอมจำนนคืนฟาร์มไก่ 682 ไร่ 'ธรรมนัส'ลั่นไม่แจ้งความเอาผิด
- ↑ "ฟาร์มไก่ปารีณา" ถูกล็อกกุญแจ 2 ชั้น หลังส.ป.ก.ติดป้ายหน้าฟาร์มยึดที่แล้ว แต่พบภายในยังมีคนอยู่
- ↑ ด่วน! ไฟไหม้ฟาร์มไก่ ปารีณา เจ้าตัวงง เกิดเหตุได้ไง ทั้งที่ไม่มีไฟฟ้า
- ↑ “ปารีณา” แจ้งความไฟไหม้ฟาร์มไก่ อ้างพยานพูดสอดคล้องกัน “ไม่ใช่ไฟป่า”
- ↑ "ปารีณา" วอนโลกออนไลน์หยุดบูลลี่ซ้ำเติม หลังไฟไหม้ฟาร์มไก่
- ↑ "ป.ป.ช.เชือดปารีณา แจ้งทรัพย์สินเท็จ ลุงป้อมเมินอุ๊งอิ๊ง หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย". www.thairath.co.th. 2022-03-23.
- ↑ ""ปารีณา" งานเข้า! ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด เหตุจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สินเป็นเท็จ". www.sanook.com/news.
- ↑ matichon (2022-03-22). "ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด 'ปารีณา' จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สิน ปมพระเครื่อง-สัญญาเงินกู้". มติชนออนไลน์.
- ↑ ป.ป.ช.ฟัน'เอ๋'ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง 'บุกรุกป่า711ไร่'
- ↑ matichon (2022-04-07). ""ปารีณา"สุดเศร้า-ตัวชา พ้อไม่มีสภาให้ไป ตกงาน100% ดีดตัวออกกลุ่มไลน์พปชร.ทันที". มติชนออนไลน์.
- ↑ "ด่วน! ศาลฎีกาชี้ 'ปารีณา' หลุด ส.ส.คดีรุกป่า ลุยเลือกตั้งซ่อม 45 วัน". เดลินิวส์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2519
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอโพธาราม
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.