ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิยรัฐ จงเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DaJim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DaJim (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ปิยรัฐได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งในวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่คูหาเลือกตั้งเขตบางนา เนื่องจากไม่เห็นด้วยและไม่พึงพอใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกมาภายใต้การควบคุมสิทธิในการแสดงออกของพลเมืองจากรัฐบาล คสช.ในขณะนั้น พร้อมกับตะโกนว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ทำให้เขาถูกจับกุมและดำเนินคดีทันทีหลังจากฉีกบัตรลงประชามติ และถูกตัดสินความผิดที่ศาลอาญาพระโขนง
7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ปิยรัฐได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งในวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่คูหาเลือกตั้งเขตบางนา เนื่องจากไม่เห็นด้วยและไม่พึงพอใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกมาภายใต้การควบคุมสิทธิในการแสดงออกของพลเมืองจากรัฐบาล คสช.ในขณะนั้น พร้อมกับตะโกนว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ทำให้เขาถูกจับกุมและดำเนินคดีทันทีหลังจากฉีกบัตรลงประชามติ และถูกตัดสินความผิดที่ศาลอาญาพระโขนง


ในปี พ.ศ. 2562 ปิยรัฐได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองด้วยการชักชวนจาก[[ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ]] หัวหน้า[[พรรคอนาคตใหม่]] ให้เข้าร่วมสนามเลือกตั้งทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยโตโต้ได้ถูกทางพรรครับเลือกให้ไปลงสนามเลือกตั้งที่[[จังหวัดกาฬสินธุ์]] อันเป็นจังหวัดบ้านเกิดของโตโต้เอง แม้ว่าจะไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในครั้งแรก แต่ปิยรัฐก็ได้คะแนนเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 3 เป็นคะแนนกว่า 17,800 คะแนน <ref>{{Cite web|date=2023-05-15|title=ประวัติ โตโต้ ปิยรัฐ ว่าที่ ส.ส.เขตพระโขนง บางนา อดีตนักกิจกรรมการเมือง|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/2693992|website=www.thairath.co.th|language=th}}</ref>
ในปี พ.ศ. 2562 ปิยรัฐได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองด้วยการชักชวนจาก[[ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ]] หัวหน้า[[พรรคอนาคตใหม่]] ให้เข้าร่วมสนามเลือกตั้งทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยเขาได้ถูกทางพรรครับเลือกให้ไปลงสนามเลือกตั้งที่[[จังหวัดกาฬสินธุ์]] อันเป็นจังหวัดบ้านเกิดของเขาเอง แม้ว่าจะไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในครั้งแรก แต่ปิยรัฐก็ได้คะแนนเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 3 เป็นคะแนนกว่า 17,800 คะแนน <ref>{{Cite web|date=2023-05-15|title=ประวัติ โตโต้ ปิยรัฐ ว่าที่ ส.ส.เขตพระโขนง บางนา อดีตนักกิจกรรมการเมือง|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/2693992|website=www.thairath.co.th|language=th}}</ref>


ปี พ.ศ. 2563 ช่วงหลังเริ่มมีขบวนการม็อบนักศึกษาต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปิยรัฐได้สร้างกลุ่มการ์ดที่มีชื่อว่าวีโว่ หรือ We Volunteer ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยภายในม็อบ โดยเขาได้กลายเป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญของขบวนการม็อบนักศึกษาที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองมากมายจากรัฐบาลทหาร ไม่ว่าจะเป็นคดีมาตรา 112, คดีรื้อลวดหนามที่บริเวณแยกอุรุพงศ์, คดีอั้งยี่, และคดีฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน
ปี พ.ศ. 2563 ช่วงหลังเริ่มมีขบวนการม็อบนักศึกษาต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปิยรัฐได้สร้างกลุ่มการ์ดที่มีชื่อว่าวีโว่ หรือ We Volunteer ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยภายในม็อบ โดยเขาได้กลายเป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญของขบวนการม็อบนักศึกษาที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองมากมายจากรัฐบาลทหาร ไม่ว่าจะเป็นคดีมาตรา 112, คดีรื้อลวดหนามที่บริเวณแยกอุรุพงศ์, คดีอั้งยี่, และคดีฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
# [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562]] [[จังหวัดกาฬสินธุ์]] เขต 1 สังกัด[[พรรคอนาคตใหม่]] ''(ไม่ได้รับเลือกตั้ง)''
# [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562]] [[จังหวัดกาฬสินธุ์]] เขต 1 สังกัด[[พรรคอนาคตใหม่]] ''(ไม่ได้รับเลือกตั้ง)''
# [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566]] [[กรุงเทพมหานคร]] สังกัด[[พรรคก้าวไกล]]
# [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566]] [[กรุงเทพมหานคร]] สังกัด[[พรรคก้าวไกล]]



== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:00, 24 ตุลาคม 2566

  • ความคิดเห็น: เขียนโดยไม่มีอ้างอิง Sry85 (คุย) 19:45, 2 ตุลาคม 2566 (+07)


ปิยรัฐ จงเทพ
ปิยรัฐ ใน พ.ศ. 2566
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตที่ 23
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2533 (34 ปี)
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
อาชีพช่างไฟฟ้า
นักการเมือง
ทรัพย์สินสุทธิ6.5 ล้านบาท[1]
ชื่อเล่นโตโต้

ปิยรัฐ จงเทพ เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคก้าวไกล และเป็นอดีตนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีชื่อเสียงจากเหตุการณ์ฉีกบัตรลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 และในช่วงม็อบนักศึกษาปี 2563 และเขาเคยเป็นหัวหน้ากลุ่มการ์ดที่มีชื่อว่า We Volunteer หรือการ์ดวีโว่

ประวัติการศึกษา

  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (เกียรตินิยมอับดับ 1)
  • ปริญญาตรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ปัจจุบันสาขานี้ถูกยกเลิกไปแล้ว)

การทำงาน

  • พ.ศ. 2557-2561 - ช่างเทคนิคสายอากาศ การไฟฟ้านครหลวง เขตบางนา
  • พ.ศ. 2562-2563 - ผู้ชำนาญการประจำตัว สส. รังสิมันต์ โรม
  • พ.ศ. 2562-2563 - ผู้ประสานงานฝ่ายเครือข่าย พรรคอนาคตใหม่[2]

การเมือง

ปี 2553 เกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง ปิยรัฐในขณะนั้น ซึ่งเรียนอยู่มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 เดินทางไปสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อเดินทางไปถึง สิ่งที่เขาเห็นคือความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้คน มีเสียงระเบิด เจ้าหน้าที่ใช้แก๊สน้ำตากับผู้ชุมนุม มีเฮลิคอปเตอร์โปรยสิ่งของลงมาเสียงดัง มีผู้คนบาดเจ็บ มีกองเลือดอยู่ตามถนน เขาจึงตัดสินใจในทันทีว่าจะเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม เขาจึงเข้าไปหลบอยู่ที่วัดปทุมวนาราม และตั้งปณิธานกับตัวเองว่าจะทิ้งทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือคน[3]

ระหว่างที่ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ปิยรัฐสร้างกลุ่มแอนไทโซตัส (ANTI-SOTUS) ขึ้นในมหาวิทยาลัย เพื่อต่อต้านกับระบอบอำนาจนิยมภายในโรงเรียนและเริ่มทำการต่อต้านกับระบอบอำนาจนิยมมาตลอด จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 ที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้ปิยรัฐและเพื่อนร่วมอุดมการณ์จึงได้ออกมาทำกิจกรรมต่อต้านการรัฐประหาร และหนึ่งในกิจกรรมที่เริ่มทำให้ปิยรัฐเริ่มเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น คือกิจกรรมต่อต้านศาลทหารในปี พ.ศ. 2558 ที่หนึ่งในนั้นมี รังสิมันต์ โรม อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปัจจุบันก็ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในครั้งนั้นด้วย

7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ปิยรัฐได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งในวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่คูหาเลือกตั้งเขตบางนา เนื่องจากไม่เห็นด้วยและไม่พึงพอใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกมาภายใต้การควบคุมสิทธิในการแสดงออกของพลเมืองจากรัฐบาล คสช.ในขณะนั้น พร้อมกับตะโกนว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ทำให้เขาถูกจับกุมและดำเนินคดีทันทีหลังจากฉีกบัตรลงประชามติ และถูกตัดสินความผิดที่ศาลอาญาพระโขนง

ในปี พ.ศ. 2562 ปิยรัฐได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองด้วยการชักชวนจากธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ให้เข้าร่วมสนามเลือกตั้งทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยเขาได้ถูกทางพรรครับเลือกให้ไปลงสนามเลือกตั้งที่จังหวัดกาฬสินธุ์ อันเป็นจังหวัดบ้านเกิดของเขาเอง แม้ว่าจะไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในครั้งแรก แต่ปิยรัฐก็ได้คะแนนเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 3 เป็นคะแนนกว่า 17,800 คะแนน [4]

ปี พ.ศ. 2563 ช่วงหลังเริ่มมีขบวนการม็อบนักศึกษาต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปิยรัฐได้สร้างกลุ่มการ์ดที่มีชื่อว่าวีโว่ หรือ We Volunteer ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยภายในม็อบ โดยเขาได้กลายเป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญของขบวนการม็อบนักศึกษาที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองมากมายจากรัฐบาลทหาร ไม่ว่าจะเป็นคดีมาตรา 112, คดีรื้อลวดหนามที่บริเวณแยกอุรุพงศ์, คดีอั้งยี่, และคดีฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน

9 กันยายน พ.ศ. 2565 ปิยรัฐได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ตนเองจะลงแข่งขันเลือกตั้งอีกครั้งในนามของพรรคก้าวไกล โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ เขาได้รับเลือกจากทางพรรคก้าวไกลให้ลงสมัครแข่งขันในเขตพระโขนง-บางนา กรุงเทพมหานคร โดยเหตุผลที่ย้ายมาลงแข่งในกรุงเทพมหานครนั้นเป็นเพราะว่า ทางประวัติชีวิตส่วนตัวของเขานั้นมีความคุ้นเคยกับกรุงเทพมหานครมากกว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะในเขตพระโขนง และเขตบางนา ที่เขานั้นได้ใช้ชีวิตอยู่ในเขตนี้มาราว 10 ปี อีกทั้งในด้านการทำงาน เขายังเคยเป็นพนักงานการไฟฟ้าที่คอยดูแลเรื่องไฟฟ้าอยู่ในเขตพื้นที่บางนามาก่อน ทำให้มีความคุ้นเคยกับเส้นทางในพื้นที่เป็นอย่างดี

3 เมษายน พ.ศ. 2566 ปิยรัฐได้รับการรับรองทางกกต.อย่างเป็นทางการในการเป็นผู้สมัครแข่งขันการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำเขตพระโขนง-บางนา หลังจากที่ถูกร้องว่า เป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เนื่องจากเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่า 5 ปีการศึกษา[5]

และต่อมา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประจำเขตด้วยคะแนนเสียง 47,225 คะแนน

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์ เขต 1 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ (ไม่ได้รับเลือกตั้ง)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล

อ้างอิง

  1. หนึ่ง (2023-09-22). "'สส.โตโต้' แจงยิบหลัง ปปช. เปิดทรัพย์สินรวย 6.5 ล้าน มีรถ 5 คันราคารวม 1 ล้าน".
  2. "ปิยรัฐจงเทพ". election66.moveforwardparty.org.
  3. "เส้นทางชีวิต 'โตโต้' แม่ทัพการ์ด WeVo ผู้ผ่านสมรภูมิพฤษภาอำมหิต ปี '53 / บทความพิเศษในประเทศ". matichonweekly.com. 2021-02-22.
  4. "ประวัติ โตโต้ ปิยรัฐ ว่าที่ ส.ส.เขตพระโขนง บางนา อดีตนักกิจกรรมการเมือง". www.thairath.co.th. 2023-05-15.
  5. ""โตโต้ ปิยรัฐ"เฮ กกต.ไฟเขียวเป็นผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขต 23 ไร้ปัญหาการศึกษา". thansettakij. 2023-05-08.

แหล่งข้อมูลอื่น