ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้"
บรรทัด 16: | บรรทัด 16: | ||
โหมดการทำงานได้ด้วย |
โหมดการทำงานได้ด้วย |
||
[[หมวดหมู่:ส่วนต่อประสานผู้ใช้]] |
[[หมวดหมู่:ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้]] |
||
[[หมวดหมู่:ส่วนต่อประสานกราฟิกผู้ใช้ |
[[หมวดหมู่:ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้]] |
||
[[หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์]] |
[[หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์]] |
||
[[หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ]] |
[[หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:44, 16 ตุลาคม 2566
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface, GUI อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้) เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัวอักษร จียูไอมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์ หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน
จียูไอพัฒนาพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดนำโดย ดัก เอนเกลบาร์ต (Doug Engelbart) โดยการใช้งานร่วมกับไฮเปอร์ลิงก์และเมาส์ ซึ่งภายหลังได้นำมาวิจัยต่อที่ศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค (Xerox PARC) โดยใช้งานระบบกราฟิกแทนที่ระบบตัวอักษร โดยบางคนจะเรียกระบบนี้ว่า PARC User Interface หรือ PUI ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นำมาใช้ครั้งแรกกับเครื่องแมคอินทอช ซึ่งภายหลังทางไมโครซอฟท์ได้นำความคิดมาใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ในปัจจุบันจียูไอเป็นที่นิยมโดยสามารถเห็นได้จากระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และ วินโดวส์ และล่าสุดในลินุกซ์
แบบกราฟิกเปรียบเทียบกับแบบข้อความ
ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ช่วยให้การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอรทำได้ง่ายและเร็วขึ้นเปรียบเทียบกับระบบเก่า
ที่ต้องพิมพ์ชุดคำสั่งที่ใช้ในระบบดอสหรือยูนิกซ์ ซึ่งเป็นส่วนต่อประสานผู้ใช้แบบข้อความ (Text user interface) ในบางครั้งจะเรียกว่า ส่วนต่อประสานแบบชุดคำสั่ง (Command Line Interfaces, CLI) ในการใช้งานผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งผ่านทางคีย์บอร์ด โดยคำสั่งเฉพาะต่างๆที่พิมพ์จำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการเรียนรู้ อย่างไรก็ดีในบางระบบเช่น Linux ก็ยังใข้ GUI เป็น frontend เพื่อที่ทำงาน กับส่วนต่อประสานแบบชุดคำสั่ง รวมถึงการพัฒนารูปแบบของ GUI ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยมีทั้งในส่วนของ Commercial และ แบบ โอเพ่นซอร์ส ซึ่งในส่วนของ Commercial ได้มีบริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัทเริ่มเข้าจับตลาดทางด้านนี้แล้วเช่น Sun ก็มีในส่วนของ Java Desktop เป็นต้น โดยกล่าวถึงรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบนี้ว่า Desktop ระบบของ GUI เช่นในส่วนของระบบปฏิบัติการวินโดว์จะเป็นในลักษณะถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นส่วนหนึ่งกับตัวระบบปฏิบัติการเลย โดยมีการเรียก ใช้ส่วนการติดต่อกับผู้ใช้ผ่านทางระบบ API โดยไปเรียกส่วนประมวณผลที่ชื่อว่า GDI และมีโหมดที่เป็นส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบชุดคำสั่ง แยกเป็นส่วนหนึ่งอีกต่างหากแต่ยังคงอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการ (shell) ระบบ GUI ในส่วนของ Open source ได้มีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อทำการกำหนดมาตรฐานกลางที่ใช้ในทำงานในส่วนการพัฒนาของ Desktop ร่วมกันเช่น การกำหนดมาตรฐานของเมนู, ลักษณะส่วนติดต่อย่อยอื่นๆ เป็นต้นโดยองค์นี้มีชื่อว่า free desktop Desktop ที่ร่วมใช้มาตรฐานเดียวกันกับ free desktop เช่น Gnome, KDE, XFCE เป็นต้น รวมถึงมีการพัฒนาลูกเล่นต่างๆ ออกไปมากมาย รวมถึงการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นโดยลดการติดต่อระหว่าง ผู้ใช้และส่วนที่เป็นการประสานชุดคำสั่งลงให้มากที่สุด ในระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ในปัจจุบันมีการรองรับการใช้งานทั้งแบบกราฟิกและแบบข้อความ โดยแสดงผลผ่านทางกราฟิกเป็นหลักสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และต้องใช้คำสั่งพิเศษเพื่อเรียกใช้คำสั่งของการใช้ส่วนต่อประสานแบบข้อความ โดยแบ่งแยกออกเป็น โหมดการทำงานได้ด้วย