ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์"
ล →ประวัติ |
ล แทนที่ {lang-??} ด้วย {langx|??} |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัด 5: | บรรทัด 5: | ||
| [[สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)]] |
| [[สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)]] |
||
}} |
}} |
||
| กำกับดูแล = [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] |
| กำกับดูแล = [[สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง]] (2567-ปัจจุบัน)<br>[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] (หลัง พ.ร.บ. บังคับใช้) |
||
| สำนักงานใหญ่ = 1160 [[ถนนเจริญกรุง]] [[แขวงบางรัก]] [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10500 (เบื้องต้น) |
| สำนักงานใหญ่ = 1160 [[ถนนเจริญกรุง]] [[แขวงบางรัก]] [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10500 (เบื้องต้น) |
||
|ต้นสังกัด=[[สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง]]| เว็บไซต์ = {{URL|https://thacca.go.th/}} |
|||
| เว็บไซต์ = {{URL|https://thacca.go.th/}} |
|||
}} |
}} |
||
'''สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์''' ({{ |
'''สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์''' ({{langx|en|Thailand Creative Culture Agency}}; ชื่อเดิม: Thailand Creative Content Agency; ชื่อย่อ: THACCA) เป็นหน่วยงานของ[[รัฐบาลไทย]] ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของ[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม[[ซอฟต์พาวเวอร์]]ของประเทศไทย<ref name=":0">[https://www.matichon.co.th/politics/news_4411080 เปิดตัวเพจ THACCA ทางการ ลุยซอฟต์พาวเวอร์ อำนาจขึ้นตรงนายกฯ คาดชงครม.มี.ค.]</ref> ปัจจุบันเป็นหน่วยงานย่อยของ[[สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง]] (สำนักงาน ป.ย.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานธุรการของ[[คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ]] โดยที่ยังไม่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ |
||
ในอนาคต ภายหลังร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ THACCA จะจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นทางการผ่านการแปรสภาพจาก[[สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)]] พร้อมทั้งรับโอนภารกิจการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์จากสำนักงาน ป.ย.ป. มาดำเนินงานเองอย่างเต็มรูปแบบ และกำกับดูแลโดย[[สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์#คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติ|คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติ]]ที่จะแปรสภาพมาจาก[[คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ]]<ref name=":3" /> |
|||
== ประวัติ == |
== ประวัติ == |
||
สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นหน่วยงานที่เตรียมจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... ซึ่งปัจจุบันยกร่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่าง[[การประชาพิจารณ์]]ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2567<ref name=":3" /> ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของ[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63|คณะรัฐมนตรี]] และ[[คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)|คณะกรรมการกฤษฎีกา]]ตามลำดับ ก่อนส่งกลับมายัง ครม. ในช่วงเดือนพฤษภาคม จากนั้น จะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26]] ภายในสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 3<ref>{{Cite news|date=16 เมษายน 2024|title=‘พ.ร.บ.ซอฟต์พาวเวอร์‘เข้าสภาฯสมัยหน้า ‘รัฐบาล’ ปักหมุดตั้ง ‘THACCA’ ปี 68|work=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|url=https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1122374|url-status=live|access-date=24 เมษายน 2024}}</ref><ref>{{Cite news|date=29 มีนาคม 2024|title=ระดมสมอง ค้นจุดแข็ง สร้างพายุหมุน ผลักดัน “ซอฟต์พาวเวอร์” ให้ไปถึงระดับโลก|work=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000027948|url-status=live|access-date=30 มีนาคม 2024}}</ref> และคาดว่าที่ประชุมจะอนุมัติทั้ง 3 วาระในช่วงเดือนธันวาคม จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาในชั้นของ[[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13]] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 และคาดว่าหากผ่านชั้นของวุฒิสภาแล้ว จะประกาศใช้พระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรดังกล่าวได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2568<ref name=":0"/> |
สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นหน่วยงานที่เตรียมจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... ซึ่งปัจจุบันยกร่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่าง[[การประชาพิจารณ์]]ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2567<ref name=":3" /> ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของ[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63|คณะรัฐมนตรี]] และ[[คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)|คณะกรรมการกฤษฎีกา]]ตามลำดับ ก่อนส่งกลับมายัง ครม. ในช่วงเดือนพฤษภาคม จากนั้น จะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26]] ภายในสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 3<ref>{{Cite news|date=16 เมษายน 2024|title=‘พ.ร.บ.ซอฟต์พาวเวอร์‘เข้าสภาฯสมัยหน้า ‘รัฐบาล’ ปักหมุดตั้ง ‘THACCA’ ปี 68|work=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|url=https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1122374|url-status=live|access-date=24 เมษายน 2024}}</ref><ref>{{Cite news|date=29 มีนาคม 2024|title=ระดมสมอง ค้นจุดแข็ง สร้างพายุหมุน ผลักดัน “ซอฟต์พาวเวอร์” ให้ไปถึงระดับโลก|work=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000027948|url-status=live|access-date=30 มีนาคม 2024}}</ref> และคาดว่าที่ประชุมจะอนุมัติทั้ง 3 วาระในช่วงเดือนธันวาคม จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาในชั้นของ[[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13]] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 และคาดว่าหากผ่านชั้นของวุฒิสภาแล้ว จะประกาศใช้พระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรดังกล่าวได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2568<ref name=":0"/> อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเว็บไซต์ทางการและสื่อสังคมของสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ขึ้นในนาม THACCA มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ[[สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง]] (สำนักงาน ป.ย.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานธุรการของ[[คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ]]<ref>{{Cite news|date=17 พฤษภาคม 2024|title=การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ครั้งที่ 1/2567|work=[[สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง]]|url=https://sto.go.th/news/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/|url-status=live|access-date=14 พฤศจิกายน 2024}}</ref> |
||
ในบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ว่า หลังจากพระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ให้ |
|||
* คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในไม่เกิน 180 วัน จึงจะถือว่าคณะกรรมการถูกยุบเลิกและแปรสภาพโดยสมบูรณ์ |
|||
* [[สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)]] จะถูกยุบเลิกและแปรสภาพเป็นสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ทันที รวมถึงรับโอนภารกิจการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์จากสำนักงาน ป.ย.ป. มาดำเนินงานเองอย่างเต็มรูปแบบ แต่ |
|||
** ให้คณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารภายในไม่เกิน 180 วัน |
|||
** ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อน<ref name=":3">{{Cite news|title=เปิดร่าง‘พ.ร.บ.วัฒนธรรมสร้างสรรค์ฯ’ ดึงเงิน‘กองสลาก’-7 กองทุน ดัน‘ซอฟต์พาวเวอร์’ 11 สาขา|url=https://isranews.org/article/isranews-scoop/127975-gov-THACCA-draft-law-report.html|date=21 เมษายน 2024|access-date=24 เมษายน 2024|agency=[[สำนักข่าวอิศรา]]}}</ref> |
|||
== ภารกิจ == |
== ภารกิจ == |
||
บรรทัด 130: | บรรทัด 137: | ||
== ทักก้า สแปลช == |
== ทักก้า สแปลช == |
||
'''ทักก้า สแปลช''' ({{ |
'''ทักก้า สแปลช''' ({{langx|en|THACCA Splash}}) เป็นงานประชุมนานาชาติเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย จัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย ผ่านสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (ครั้งที่ 1 จัดโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และสำนักงาน ป.ย.ป.) เพื่อเป็นการประกาศขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นทางการ โดยครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 28–30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ [[ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์]] โดยจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งภาครัฐและเอกชน ตัวแทนจากแบรนด์ดังระดับโลกที่มาจากหลายอุตสาหกรรมอาทิ แฟชั่น เพลง ภาพยนตร์ หรืออาหาร<ref>{{cite news|URL=https://www.prachachat.net/d-life/news-1592430|title=THACCA SPLASH Soft Power Forum 2024 พบ 48 Speakers ระดับโลก|publisher=[[ประชาชาติ]]}}</ref> |
||
== ดูเพิ่ม == |
== ดูเพิ่ม == |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:56, 17 พฤศจิกายน 2567
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
หน่วยงานก่อนหน้า | |
สำนักงานใหญ่ | 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 (เบื้องต้น) |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (2567-ปัจจุบัน) นายกรัฐมนตรี (หลัง พ.ร.บ. บังคับใช้) |
เว็บไซต์ | thacca |
สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (อังกฤษ: Thailand Creative Culture Agency; ชื่อเดิม: Thailand Creative Content Agency; ชื่อย่อ: THACCA) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย[1] ปัจจุบันเป็นหน่วยงานย่อยของสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยที่ยังไม่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
ในอนาคต ภายหลังร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ THACCA จะจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นทางการผ่านการแปรสภาพจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งรับโอนภารกิจการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์จากสำนักงาน ป.ย.ป. มาดำเนินงานเองอย่างเต็มรูปแบบ และกำกับดูแลโดยคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติที่จะแปรสภาพมาจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[2]
ประวัติ
[แก้]สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นหน่วยงานที่เตรียมจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... ซึ่งปัจจุบันยกร่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2567[2] ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกฤษฎีกาตามลำดับ ก่อนส่งกลับมายัง ครม. ในช่วงเดือนพฤษภาคม จากนั้น จะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ภายในสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 3[3][4] และคาดว่าที่ประชุมจะอนุมัติทั้ง 3 วาระในช่วงเดือนธันวาคม จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาในชั้นของวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 และคาดว่าหากผ่านชั้นของวุฒิสภาแล้ว จะประกาศใช้พระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรดังกล่าวได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2568[1] อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเว็บไซต์ทางการและสื่อสังคมของสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ขึ้นในนาม THACCA มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[5]
ในบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ว่า หลังจากพระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ให้
- คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในไม่เกิน 180 วัน จึงจะถือว่าคณะกรรมการถูกยุบเลิกและแปรสภาพโดยสมบูรณ์
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) จะถูกยุบเลิกและแปรสภาพเป็นสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ทันที รวมถึงรับโอนภารกิจการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์จากสำนักงาน ป.ย.ป. มาดำเนินงานเองอย่างเต็มรูปแบบ แต่
- ให้คณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารภายในไม่เกิน 180 วัน
- ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อน[2]
ภารกิจ
[แก้]สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จะเป็นหน่วยงานยุทธศาสตร์ที่รวบรวมภารกิจและงบประมาณในการสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไว้โดยสมบูรณ์ และมีการวางแผนงานร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ
โดยสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์จะทำหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ดังนี้
- จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนการทำงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน ต่อเนื่อง ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน
- สนับสนุนด้านการเงิน โดยการตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ รวมถึงกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนทุกอุตสาหกรรม
- สนับสนุนองค์ความรู้ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงเผยแพร่และสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์พาวเวอร์
- สร้างผู้ประกอบการหน้าใหม่และส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน โดยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา รับรองมาตรฐานอาชีพ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ และกำหนดมาตรการส่งเสริมการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม
- เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ให้เอกชนสามารถติดต่อประสานงานหรือขออนุญาตจากภาครัฐในการทำงานอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ครบวงจร[6]
คณะกรรมการ
[แก้]ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการหลักจำนวน 4 คณะ คือ[2]
- คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำและติดตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ และแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษหรือคณะอนุกรรมการ โดยแปรสภาพจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
- คณะกรรมการพิเศษแต่ละด้าน มีหน้าที่ดำเนินภารกิจพิเศษตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย
- คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของสำนักงาน โดยแปรสภาพมาจากคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
- คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มีหน้าที่บริหารกองทุน
คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติ
[แก้]องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติตามมาตรา 7 มีดังนี้
ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง | ตำแหน่งในคณะกรรมการ |
---|---|---|---|
1 | แพทองธาร ชินวัตร | นายกรัฐมนตรี | ประธานกรรมการ |
2 | อนุทิน ชาญวีรกูล | รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | กรรมการโดยตำแหน่ง |
3 | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |
4 | มาริษ เสงี่ยมพงษ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
5 | สรวงศ์ เทียนทอง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
6 | ศุภมาส อิศรภักดี | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | |
7 | พิชัย นริพทะพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
8 | พิพัฒน์ รัชกิจประการ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
9 | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | |
10 | พลตํารวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
11 | เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
12 | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คนแต่ไม่เกิน 16 คน | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ | |
24 | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ | กรรมการและเลขานุการ |
กองทุน
[แก้]ตามมาตรา 53 ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ได้กำหนดให้จัดตั้ง กองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อใช้จ่ายในกิจการเกี่ยวกับการส่งเสริม ยกระดับ พัฒนา และสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ โดยจะบริหารโดยคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังนี้
- เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
- เงินอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านงบประมาณแผ่นดิน
- เงินที่คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายให้โอนมาเป็นของกองทุน
- เงินรายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
- ค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตามอัตราที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดและคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
- ผลตอบแทนหรือรายได้จากการลงทุน การร่วมทุน หรือการให้การส่งเสริมของสำนักงานหรือกองทุน รวมถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นของสำนักงานหรือกองทุน
- เงินบริจาค
- เงินค่าปรับเป็นพินัยตามกฎหมายดังกล่าว
- เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมาย รวมถึงเงินตามสัญญา
- ผลประโยชน์จากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
โดยเงินและทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นของสำนักงาน เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายยังสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีให้โอนเงินหรือทรัพย์สินจากกองทุนอื่น ๆ มาเป็นของกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตามจำนวนที่กำหนด ดังนี้
- กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
- กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
- กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
- กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
- กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย
- กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
- ทุนหมุนเวียนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้กองทุนเหล่านี้ดำเนินการโอนทรัพย์สินภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณถัดไป[2]
ทักก้า สแปลช
[แก้]ทักก้า สแปลช (อังกฤษ: THACCA Splash) เป็นงานประชุมนานาชาติเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย จัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย ผ่านสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (ครั้งที่ 1 จัดโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และสำนักงาน ป.ย.ป.) เพื่อเป็นการประกาศขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์อย่างเป็นทางการ โดยครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 28–30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งภาครัฐและเอกชน ตัวแทนจากแบรนด์ดังระดับโลกที่มาจากหลายอุตสาหกรรมอาทิ แฟชั่น เพลง ภาพยนตร์ หรืออาหาร[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เปิดตัวเพจ THACCA ทางการ ลุยซอฟต์พาวเวอร์ อำนาจขึ้นตรงนายกฯ คาดชงครม.มี.ค.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "เปิดร่าง'พ.ร.บ.วัฒนธรรมสร้างสรรค์ฯ' ดึงเงิน'กองสลาก'-7 กองทุน ดัน'ซอฟต์พาวเวอร์' 11 สาขา". สำนักข่าวอิศรา. 21 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.
- ↑ "'พ.ร.บ.ซอฟต์พาวเวอร์'เข้าสภาฯสมัยหน้า 'รัฐบาล' ปักหมุดตั้ง 'THACCA' ปี 68". กรุงเทพธุรกิจ. 16 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ระดมสมอง ค้นจุดแข็ง สร้างพายุหมุน ผลักดัน "ซอฟต์พาวเวอร์" ให้ไปถึงระดับโลก". ผู้จัดการออนไลน์. 29 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ครั้งที่ 1/2567". สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง. 17 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'THACCA' ประกาศรายชื่อ คณะอนุกรรมการ 'ซอฟต์พาวเวอร์' 5 ด้าน". กรุงเทพธุรกิจ. 19 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "THACCA SPLASH Soft Power Forum 2024 พบ 48 Speakers ระดับโลก". ประชาชาติ.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- THACCA-Thailand Creative Culture Agency ที่เฟซบุ๊ก
- THACCA - Thailand Creative Culture Agency ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- THACCA - Thailand Creative Culture Agency ที่อินสตาแกรม
- THACCA - Thailand Creative Culture Agency ที่ยูทูบ
- THACCA ที่ติ๊กต็อก
- "ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ..." (PDF). สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). 26 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2024 – โดยทาง ระบบกลางทางกฎหมาย.