ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศุลกสถาน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.9.5 |
||
(ไม่แสดง 26 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 3 คน) | |||
บรรทัด 2: | บรรทัด 2: | ||
| ชื่อสิ่งก่อสร้าง = ศุลกสถาน <br> สถานีดับเพลิงบางรัก |
| ชื่อสิ่งก่อสร้าง = ศุลกสถาน <br> สถานีดับเพลิงบางรัก |
||
| ชื่อภาษาอื่น = The Old Custom House <br> Bang Rak Fire Station |
| ชื่อภาษาอื่น = The Old Custom House <br> Bang Rak Fire Station |
||
| ชื่อเดิม = โรงภาษีร้อยชักสาม<ref name="naming"> |
| ชื่อเดิม = โรงภาษีร้อยชักสาม<ref name="naming">{{cite journal|URL=https://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Piriya_Pittayawattanachai/fulltext.pdf|title=สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กราซีในสยาม|access-date=9 พฤษภาคม 2017|author=น.ส.พิริยา พิทยาวัฒชัย|archive-date=2022-11-09|archive-url=https://web.archive.org/web/20221109081121/http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Piriya_Pittayawattanachai/fulltext.pdf|url-status=dead}}</ref> |
||
| ภาพ = Old Customs House, Bang Rak.jpg |
| ภาพ = Old Customs House, Bang Rak.jpg |
||
| คำบรรยายภาพ = มุมอาคารศุลกสถานหันออกสู่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] |
| คำบรรยายภาพ = มุมอาคารศุลกสถานหันออกสู่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] |
||
บรรทัด 8: | บรรทัด 8: | ||
| เมืองที่ตั้ง = ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] |
| เมืองที่ตั้ง = ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] |
||
| ประเทศที่ตั้ง = {{ธง|ไทย}} [[ไทย|ประเทศไทย]] |
| ประเทศที่ตั้ง = {{ธง|ไทย}} [[ไทย|ประเทศไทย]] |
||
| ปีสร้าง = พ.ศ. 2429–2431<ref name="naming"></ref> |
| ปีสร้าง = พ.ศ. 2429–2431<ref name="naming"/></ref> |
||
| ผู้สร้าง = |
| ผู้สร้าง = |
||
| ปีรื้อ = |
| ปีรื้อ = |
||
บรรทัด 29: | บรรทัด 29: | ||
|name=}} |
|name=}} |
||
'''ศุลกสถาน''' (โรงภาษีร้อยชักสาม หรือโรงภาษีเก่า ชาวแต้จิ๋วเรียกว่า ฟ้าซีกวน หรือแป๊ะลั่นซา ซึ่งมีความหมายเดียวกัน)<ref>Bloggang.com สายหมอกและก้อนเมฆ. ศุลกสถาน. 24 ตุลาคม 2555. https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=24-10-2012&group=11&gblog=71 </ref> เป็นอดีตอาคารที่ทำการของศุลกสถาน ([[กรมศุลกากร]]ในปัจจุบัน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ริมฝั่ง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ของ[[เขตบางรัก]] ติดกับ[[สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย]] สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2431 ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตามคำกราบบังคมทูลของ[[เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)]] อธิบดีกรมศุลกากรคนแรก |
'''ศุลกสถาน''' (โรงภาษีร้อยชักสาม หรือโรงภาษีเก่า ชาวแต้จิ๋วเรียกว่า ฟ้าซีกวน หรือแป๊ะลั่นซา ซึ่งมีความหมายเดียวกัน)<ref>Bloggang.com สายหมอกและก้อนเมฆ. ศุลกสถาน. 24 ตุลาคม 2555. https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=24-10-2012&group=11&gblog=71 </ref> เป็นอดีตอาคารที่ทำการของศุลกสถาน ([[กรมศุลกากร]]ในปัจจุบัน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ริมฝั่ง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ของ[[เขตบางรัก]] ติดกับ[[สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย]] สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2431 ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตามคำกราบบังคมทูลของ[[เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)]] อธิบดีกรมศุลกากรคนแรก |
||
==สถาปัตยกรรม== |
==สถาปัตยกรรม== |
||
บรรทัด 39: | บรรทัด 39: | ||
== ประวัติศาสตร์ == |
== ประวัติศาสตร์ == |
||
[[ไฟล์:Old Customs House, Bang Rak (I).jpg|300px|thumb|right|ศุลกสถาน |
[[ไฟล์:Old Customs House, Bang Rak (I).jpg|300px|thumb|right|ศุลกสถาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของตำรวจน้ำโดยมีการต่อเติมที่จอดเรือบริเวณด้านหน้าอาคาร]] |
||
[[ไฟล์:May 2020 - Customs House Bangkok (sealed off for renovation) img 02.jpg|thumb|ป้ายโครงการปรับปรุงอาคารเป็นโรงแรม (ภาพถ่ายในปี 2020)]] |
[[ไฟล์:May 2020 - Customs House Bangkok (sealed off for renovation) img 02.jpg|thumb|ป้ายโครงการปรับปรุงอาคารเป็นโรงแรม (ภาพถ่ายในปี 2020)]] |
||
[[ไฟล์:2022 January - Bangkok old customs house.jpg|thumb|ศุลกสถานในปี 2022]] |
[[ไฟล์:2022 January - Bangkok old customs house.jpg|thumb|ศุลกสถานในปี 2022]] |
||
อาคารศุลกสถาน สร้างขึ้นในปี 2431 โดยมี[[โยอาคิม กรัสซี]] เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ สร้างขึ้นตาม[[สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ]] เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการนำสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างอาคารราชการในประเทศสยามในช่วงรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref name="naming"/> อาคารตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใน[[เขตบางรัก]] ในซอยเจริญกรุง 36 |
|||
ศุลกสถาน เดิมเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นที่อยู่ของฝรั่งชาวโปรตุเกส ชื่อนายเจ.เอน.เอฟ.ดาคอสตา รับราชการอยู่กรมศุลกากร มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชายสาธก (เป็นชื่อบรรดาศักดิ์ของกรมศุลกากร คู่กับขุนเสวกวรายุตถ์ ผู้เป็นน้องชาย) เมื่อหลวงราชายสาธกถึงแก่กรรมแล้ว ภรรยาแหม่มของหลวงราชายสาธก จึงอยู่ในที่นั้นต่อมาภายหลังร้องทุกข์ขอเบี้ยบำนาญเลี้ยงชีพ โดยตกลงยกสิทธิ์ที่อยู่ให้แก่รัฐบาลเป็นการแลกเปลี่ยนกัน กรมศุลกากรจึงรื้อเรือนไม้สร้างเป็นตึกขึ้น เพื่อเป็นที่ทำการศุลกากร เนื่องจากตัวที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษีแต่เดิมนั้นไม่มี มีแต่เพียงด่านขนอนที่ตั้งเก็บอากรการผ่านเขต<ref>ศุลกสถาน :โรงภาษีร้อยชักสาม ภาค 2 by Ploypapat. 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553. http://ploypapat.blogspot.com/2010/06/2_25.html</ref> |
|||
ในปี 2492 [[กรมศุลกากร]]ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่[[ท่าเรือคลองเตย]] ต่อมา อาคารแห่งนี้ได้ใช้เป็นที่ทำการของกองบังคับการตำรวจน้ำ และเป็นที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงบางรัก อาคารศุลกสถานมีสภาพทรุดโทรมลงมากตามกาลเวลา แม้จะมีการเสนอแผนการบูรณะหลายโครงการ แต่ก็ยังไม่มีโครงการใดได้รับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม |
|||
ความงามของอาคารศุลกสถาน [[พระยาอนุมานราชธน]]บันทึกไว้ในหนังสือตำนานกรมศุลกากรว่า "สมัยนั้น ถ้านั่งเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา จะปรากฏตัวตึกกรมศุลกากรตั้งตระหง่านเด่นเห็นได้แต่ไกลด้วย เป็นตึกที่ตอนกลางสูงถึง 3 ชั้น ซึ่งในสมัยนั้นนอกจากกระทรวงกลาโหมแล้ว ดูเหมือนจะมีแต่ตึกกรมศุลกากรเท่านั้นที่เป็นตึกขนาดใหญ่ และสวยงาม..." |
|||
ในปี 2548 กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์เนเชอรัล พาร์ค ได้รับสัมปทานจาก[[กรมธนารักษ์]] (ซึ่งดูแลอาคารในฐานะทรัพย์สินของรัฐ) เป็นเวลา 30 ปี เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นโรงแรมอามัน รีสอร์ท อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการพัฒนาใด ๆ เกิดขึ้น เนื่องจากติดปัญหาในการย้ายผู้อยู่อาศัยรายเดิมออกไป ในที่สุด ผู้อยู่อาศัยได้ย้ายออกจากอาคารในช่วงต้นปี 2559 กรมธนารักษ์ได้ยืนยันในปี 2560 ว่า โครงการพัฒนาอาคารศุลกสถานจะดำเนินการต่อโดยบริษัท ยู ซิตี้ ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของบริษัท เนเชอรัลพาร์ค หลังจากการปรับโครงสร้างองค์กร |
|||
ศุลกสถานแห่งนี้ นอกจากจะเป็นที่ทำการเก็บภาษีสินค้าขาเข้าที่เรียกว่า "ภาษีร้อยชักสาม"<ref>[http://www.myhappyoffice.com/index.php/2013/08/fire-station-bangruk/ สถานีดับเพลิงบางรักอลังการ..แนวยุโรปสถานที่เก่าแก่ 120 ปี], My Happy Office .วันที่ 28 ส.ค. 2556</ref> แล้ว สมัย [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช]] เป็นอธิบดีกรมศุลกากร ก็เคยใช้ศุลกสถาน เป็นที่จัดเลี้ยงและเต้นรำของเชื้อพระวงศ์และชาวต่างชาติ ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา 2 - 3 ครั้ง รวมทั้งเป็นที่จัดเลี้ยงงานสมโภช เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติพระนครจากการเสด็จประพาสยุโรปคราวแรกด้วย |
|||
ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 บริษัท ยู ซิตี้ ได้ร่วมมือกับบริษัท อามัน รีสอร์ท และ ซิลเวอร์ลิงค์ รีสอร์ท ลงนามในสัญญาพัฒนาโครงการ โดยได้รับสัมปทานในการเช่าอาคารเป็นระยะเวลา 30 ปี แรบบิท โฮลดิงส์ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากยู ซิตี้<ref>{{Cite web|date=2022-10-03|title=ยู ซิตี้ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน พร้อมลดทุน-ลดพาร์ เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล|url=https://www.btsgroup.co.th/th/update/news-event/797/ยู-ซิตี้-ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่-สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน-พร้อมลดทุน-ลดพาร์-เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล|website=www.btsgroup.co.th|language=th}}</ref>) วางแผนทุ่มงบ 3,000 ล้านบาท (94 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นโรงแรมหรู โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2568 ก่อนเริ่มงานบูรณะมีการขุดค้นทางโบราณคดีและจัดทำรายการสิ่งที่พบร่วมกับ[[กรมศิลปากร]]<ref>{{cite news |title=U City's B3bn fixer-upper |url=https://property.bangkokpost.com/news/1685988/u-citys-b3bn-fixer-upper |accessdate=13 October 2019 |work=Bangkok Post |date=30 May 2019}}</ref> |
|||
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2497 ที่ทำการศุลกากร ได้ย้ายไปบริเวณท่าเรือคลองเตย ศุลกสถานก็เปลี่ยนมาเป็นที่ทำการตำรวจน้ำ (ศุลการักษ์ หรือโปลิศน้ำ ภายหลังเรียกว่าพลตระเวน แล้วต่อมาเรียกตำรวจนครบาล หรือเรียกสั้นๆ ว่าตำรวจ มีหน้าที่ในทางน้ำคล้ายตำรวจนครบาล) จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2502 สถานที่แห่งนี้ปรับบทบาทเป็นที่ทำการของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก<ref>Checkinถิ่นสยาม. จาก “โรงภาษีร้อยชักสาม” จนมาเป็น สถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก. February 23, 2015. http://checkinsiam.blogspot.com/2015/02/blog-post_85.html </ref> จนมักเรียกกันว่า "สถานีดับเพลิงบางรัก" อยู่เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 60 ปี ก่อนจะย้ายออกไปทำให้กลายเป็นตึกร้าง และใช้เป็นทางผ่านไปยังที่ทำการตำรวจน้ำ |
|||
== ระเบียงภาพ == |
|||
===การปรับปรุงอาคาร=== |
|||
สืบเนื่องจากการลงนามข้อตกลง “โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงที่ตั้งโรงภาษีร้อยชักสาม” ระหว่างกระทรวงการคลังกับ บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ยู ซิตี้ พร้อมด้วยกรมศิลปากร ได้เริ่มลงพื้นที่สำรวจทางโบราณคดีพร้อมทั้งบันทึกและศึกษารายละเอียดด้านสถาปัตยกรรมของศุลกสถาน ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เพื่อบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์และรูปแบบโครงสร้างดั้งเดิมของตัวอาคารโดยละเอียด โดยข้อมูลและโครงสร้างเดิมที่ค้นพบจากการขุดค้นดังกล่าวจะถูกนำมาใช้อ้างอิงสำหรับการบูรณะอาคารศุลกสถานและการก่อสร้างอาคารใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายในพื้นที่ในอนาคต |
|||
โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงที่ตั้งโรงภาษีร้อยชักสาม จะใช้เวลาดำเนินการรวมประมาณ 6 ปี ประกอบด้วยการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี การบูรณะซ่อมแซมอาคารเดิมจำนวน 3 หลัง ด้วยการเสริมโครงสร้างและความแข็งแรง การตกแต่งภายนอก และการตกแต่งภายใน รวมถึงการสร้างอาคารใหม่อีก 1 หลัง โดยคาดการณ์ว่าการดำเนินงานทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2568 ด้วยงบประมาณการลงทุนกว่า 4,600 ล้านบาท และในลำดับต่อไปของการพัฒนาโครงการฯ จะครอบคลุมไปถึงการปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นห้องประชุมสัมมนา ห้องจัดเลี้ยง พร้อมด้วยห้องอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ<ref>[https://siamrath.co.th/n/107928 กรมธนารักษ์ ร่วมมือกับ “ยู ซิตี้” บูรณะอาคารประวัติศาสตร์อายุกว่า 130 ปี “โรงภาษีร้อยชักสาม” พลิกฟื้นพื้นที่ย่านเจริญกรุงสู่เมืองแห่งความรุ่งเรืองริมแม่น้ำเจ้าพระยา] สยามรัฐ. วันที่ 10 ตุลาคม 2562</ref> |
|||
== ภาพถ่าย == |
|||
<gallery mode="packed"> |
<gallery mode="packed"> |
||
ไฟล์:Sunlakasathan in the past.jpg|thumb|ภาพถ่ายเก่าของศุลกสถาน |
ไฟล์:Sunlakasathan in the past.jpg|thumb|ภาพถ่ายเก่าของศุลกสถาน |
||
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (10).jpg|thumb|ศุลกสถาน (ตึกใหญ่) |
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (10).jpg|thumb|ศุลกสถาน (ตึกใหญ่) |
||
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร.JPG|thumb|ช่วงกลางของตึกใหญ่มี 4 ชั้น ที่หน้าจั่วประดับด้วยนาฬิกา |
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร.JPG|thumb|ช่วงกลางของตึกใหญ่มี 4 ชั้น ที่หน้าจั่วประดับด้วยนาฬิกา |
||
</gallery> |
|||
<gallery mode="packed"> |
|||
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (5).JPG|thumb|สะพานไม้เชื่อม ตึกด้านเหนือ กับตึกใหญ่ |
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (5).JPG|thumb|สะพานไม้เชื่อม ตึกด้านเหนือ กับตึกใหญ่ |
||
ไฟล์:อาคารศุลกสถาน(สถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก).JPG|thumb|บันไดกลางชั้นล่างของตึกใหญ่ |
ไฟล์:อาคารศุลกสถาน(สถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก).JPG|thumb|บันไดกลางชั้นล่างของตึกใหญ่ |
||
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (8).JPG|thumb|ตึกด้านใต้ และสะพานไม้เชื่อมกับตึกใหญ่ |
ไฟล์:ศุลกสถาน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (8).JPG|thumb|ตึกด้านใต้ และสะพานไม้เชื่อมกับตึกใหญ่ |
||
</gallery> |
</gallery> |
||
== อ้างอิง == |
== อ้างอิง == |
||
{{รายการอ้างอิง}} |
{{รายการอ้างอิง}} |
||
บรรทัด 81: | บรรทัด 73: | ||
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา]] |
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา]] |
||
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในเขตบางรัก]] |
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในเขตบางรัก]] |
||
[[หมวดหมู่:โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในกรุงเทพมหานคร]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 02:20, 15 พฤศจิกายน 2567
ศุลกสถาน สถานีดับเพลิงบางรัก | |
---|---|
The Old Custom House Bang Rak Fire Station | |
มุมอาคารศุลกสถานหันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา | |
ชื่อเดิม | โรงภาษีร้อยชักสาม[1] |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | ศุลกสถาน |
สถาปัตยกรรม | นีโอคลาสสิก ในรูปแบบปัลลาดีโอ |
เมือง | ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2429–2431[1]</ref> |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2562–2568 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | โยอาคิม กรัสซี |
ศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม หรือโรงภาษีเก่า ชาวแต้จิ๋วเรียกว่า ฟ้าซีกวน หรือแป๊ะลั่นซา ซึ่งมีความหมายเดียวกัน)[2] เป็นอดีตอาคารที่ทำการของศุลกสถาน (กรมศุลกากรในปัจจุบัน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ของเขตบางรัก ติดกับสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2431 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามคำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) อธิบดีกรมศุลกากรคนแรก
สถาปัตยกรรม
[แก้]ศุลกสถานเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีมุขกลางสูง 4 ชั้น ศิลปะโรมันคลาสสิค เป็นสถาปัตยกรรมทรงนีโอคลาสสิก และสมมาตรตามวิถีของปัลลาดีโอ (Neo-Palladian) เป็นอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกันเป็นรูปตัวไอ โดยโยอาคิม กรัสซี (Joachim Grassi/Gioachino Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลีสัญชาติออสเตรียน/ฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง สถาปนิกผู้นี้มีผลงานมากมายในขณะนั้น เช่น คองคอร์เดียคลับ, พระราชวังบางปะอิน, วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร, เรือนรับรองสถานทูตโปรตุเกส, วังบูรพาภิรมย์, วังใหม่ประทุมวัน, โรงทหารหน้า, ป้อมพระจุลจอมเกล้า, อาคารเก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ, ตึกวิคตอเรียและตึกเสาวภาคที่ศิริราชพยาบาล, ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้, คุกมหัตโทษ[3] ภายหลังสร้างเสร็จ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น[4]
ผังของศุลกสถาน ประกอบด้วยตึก 3 หลัง ตึกด้านเหนือวางแนวตั้งฉากกับแม่น้ำมีสองชั้นเป็นที่ทำการภาษีขาเข้าขาออก (มีตัวหนังสือ Import and Export Department ที่หน้าบันตัวตึก) ตึกกลางเป็นตึกใหญ่รูปสี่เหลี่ยมยาวแผ่ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีระเบียงทางเดินด้านหน้าซึ่งประกอบด้วยซุ้มหน้าต่างตลอดแนวอาคาร ชั้นล่างเป็นซุ้มสี่เหลี่ยมเรียบ ๆ ส่วนชั้น 2 และชั้น 3 เป็นซุ้มโค้ง ขอบระเบียงเป็นลูกกรงแก้วปูนปั้น มีเสาอิงเป็นระยะสลับกับแนวหน้าต่าง ชั้น 4 เป็นห้องโถงใหญ่ (ออกแบบเป็นที่เก็บเอกสาร) มียอดเป็นจั่ว รูปสามเหลี่ยมบรรจุนาฬิกาทรงกลมในจั่ว เหนือจั่วมีกระบังหน้าคล้ายมงกุฎปั้นเป็นตราแผ่นดิน[5]
มีรูปปูนปั้นสิงห์สองข้าง อาคารมีทรงคล้ายคลึงกับตึกเก่าของโรงเรียนอัสสัมชัญ (ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว) ซึ่งสร้างในช่วงเวลาและตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากสถาปนิกผู้ออกแบบเป็นคนเดียวกัน ตึกกลางมีสะพานไม้เชื่อมกับชั้นสองของทั้งตึกด้านเหนือและตึกด้านใต้ ส่วนตึกด้านใต้เป็นตึกยาวสองชั้นวางแนวตั้งฉากกับแม่น้ำ ใช้เป็นที่ทำการภาษีข้าวและไปรษณีย์ต่างประเทศ
ประวัติศาสตร์
[แก้]อาคารศุลกสถาน สร้างขึ้นในปี 2431 โดยมีโยอาคิม กรัสซี เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการนำสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างอาคารราชการในประเทศสยามในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] อาคารตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตบางรัก ในซอยเจริญกรุง 36
ในปี 2492 กรมศุลกากรได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ท่าเรือคลองเตย ต่อมา อาคารแห่งนี้ได้ใช้เป็นที่ทำการของกองบังคับการตำรวจน้ำ และเป็นที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงบางรัก อาคารศุลกสถานมีสภาพทรุดโทรมลงมากตามกาลเวลา แม้จะมีการเสนอแผนการบูรณะหลายโครงการ แต่ก็ยังไม่มีโครงการใดได้รับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
ในปี 2548 กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์เนเชอรัล พาร์ค ได้รับสัมปทานจากกรมธนารักษ์ (ซึ่งดูแลอาคารในฐานะทรัพย์สินของรัฐ) เป็นเวลา 30 ปี เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นโรงแรมอามัน รีสอร์ท อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการพัฒนาใด ๆ เกิดขึ้น เนื่องจากติดปัญหาในการย้ายผู้อยู่อาศัยรายเดิมออกไป ในที่สุด ผู้อยู่อาศัยได้ย้ายออกจากอาคารในช่วงต้นปี 2559 กรมธนารักษ์ได้ยืนยันในปี 2560 ว่า โครงการพัฒนาอาคารศุลกสถานจะดำเนินการต่อโดยบริษัท ยู ซิตี้ ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของบริษัท เนเชอรัลพาร์ค หลังจากการปรับโครงสร้างองค์กร
ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 บริษัท ยู ซิตี้ ได้ร่วมมือกับบริษัท อามัน รีสอร์ท และ ซิลเวอร์ลิงค์ รีสอร์ท ลงนามในสัญญาพัฒนาโครงการ โดยได้รับสัมปทานในการเช่าอาคารเป็นระยะเวลา 30 ปี แรบบิท โฮลดิงส์ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากยู ซิตี้[6]) วางแผนทุ่มงบ 3,000 ล้านบาท (94 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นโรงแรมหรู โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2568 ก่อนเริ่มงานบูรณะมีการขุดค้นทางโบราณคดีและจัดทำรายการสิ่งที่พบร่วมกับกรมศิลปากร[7]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ภาพถ่ายเก่าของศุลกสถาน
-
ศุลกสถาน (ตึกใหญ่)
-
ช่วงกลางของตึกใหญ่มี 4 ชั้น ที่หน้าจั่วประดับด้วยนาฬิกา
-
สะพานไม้เชื่อม ตึกด้านเหนือ กับตึกใหญ่
-
บันไดกลางชั้นล่างของตึกใหญ่
-
ตึกด้านใต้ และสะพานไม้เชื่อมกับตึกใหญ่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 น.ส.พิริยา พิทยาวัฒชัย. "สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กราซีในสยาม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2017.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Bloggang.com สายหมอกและก้อนเมฆ. ศุลกสถาน. 24 ตุลาคม 2555. https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=24-10-2012&group=11&gblog=71
- ↑ "สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กราซีในสยาม" วิทยานิพนธ์ของ นส.พิริยา พิทยาวัฒนชัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร. พศ. 2554
- ↑ "ศุลกสถาน" สตูดิโอมีชีวิต มรดกยุโรปในเมืองไทย, ประชาชาติธุรกิจ. วันที่ 21 ต.ค. 2556
- ↑ อรวรรณ บัณฑิตกุล,อาคารศุลกสถาน อดีตที่ร่วงโรยริมแม่น้ำเจ้าพระยา เก็บถาวร 2021-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์ .สิงหาคม 2544
- ↑ "ยู ซิตี้ ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ สะท้อนการปรับทิศทางธุรกิจสู่กลุ่มบริการทางการเงิน พร้อมลดทุน-ลดพาร์ เดินหน้าล้างขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้นเพื่อเตรียมจ่ายปันผล". www.btsgroup.co.th. 2022-10-03.
- ↑ "U City's B3bn fixer-upper". Bangkok Post. 30 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 October 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศุลกสถาน
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°43′31″N 100°30′50″E / 13.725232°N 100.513916°E