ปลาฉลาม

ชนิดของสัตว์ทะเลส่วนใหญ่เป็นนักล่า
(เปลี่ยนทางจาก Shark)
ปลาฉลาม
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ช่วงอายุลัดฟอร์เดียน–ปัจจุบัน, 425–0Ma
Grey reef shark
ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) เป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก
รูปแสดงรูปร่างโดยทั่วไปของปลาฉลาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Selachimorpha
อันดับ

Symmoriida
Cladoselachiformes
Xenacanthida (Xenacantiformes)
Eugeneodontida
Hybodontiformes

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน จำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม

การแบ่ง

แก้

ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลายอันดับ หลายวงศ์ และหลายชนิด โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17 เซนติเมตร เท่านั้น ในปลาฉลามแคระ (Etmopterus perryi) ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึง ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ที่มีความยาวกว่า 12 เมตร ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย[1]

ปลาฉลาม ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ปลาฉลามผิวน้ำและปลาฉลามหน้าดิน ซึ่งมีลักษณะนิสัยแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปลาฉลามผิวน้ำมีรูปร่างปราดเปรียวชอบว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา ลักษณะของฟันเป็นฟันที่มีความแหลมคมดุจมีดโกน เรียงกันเป็นแถวอยู่ภายในปาก ส่วนฉลามหน้าดินมีนิสัยชอบกบดานอยู่นิ่ง ๆ มากกว่าเคลื่อนที่ ฟันมีลักษณะเป็นฟันขบ กินซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร ไม่ค่อยดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล่น

ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus)

แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้

ความสำคัญ

แก้

ปลาฉลามมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภคเป็นอาหาร โดยเฉพาะในอาหารจีนที่เรียกว่า "หูฉลาม" ซึ่งทำมาจากครีบของปลาฉลาม จัดเป็นอาหารที่มีราคาแพง ทำให้มีการล่าฉลามในการนี้จนเกือบจะสูญพันธุ์ในหลายชนิด[2] และยังนิยมในการตกปลาเป็นเกมกีฬาอีกด้วย

สำหรับในน่านน้ำไทย ในทะเลอันดามันมีการสำรวจพบปลาฉลามแล้วประมาณ 41 ชนิด [3]

อ้างอิงจากการศึกษาปี 2021 โดย Nature [4], การประมงเกินขีดจำกัดส่งผลทำให้เกิดการลดลงของฉลามทั่วโลกที่ 71% ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
บรรณานุกรม
  • Castro, Jose (1983). The Sharks of North American Waters. College Station: Texas A&M University Press. ISBN 0-89096-143-3. OCLC 183037060.
  • Stevens, John D. (1987). Sharks. New York: NY Facts on File Publications. ISBN 0-8160-1800-6. OCLC 15163749.
  • Pough, F. H. (2005). Vertebrate Life. 7th Ed. New Jersey: Pearson Education Ltd. ISBN 0-13-127836-3. OCLC 54822028. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Clover, Charles. 2004. The End of the Line: How overfishing is changing the world and what we eat. Ebury Press, London. ISBN 0-09-189780-7
  • Owen, David, Shark: In Peril in the Sea, New South Wales, Allen and Unwin, 2009. ISBN 9781741750324

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้