เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
เจ้าพระยาสุรศักดิ์ เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญของพื้นที่ริมฝั่งอ่าวไทย ในภาคตะวันออกของประเทศไทย และยังเป็นเมืองเศรษฐกิจอีกเมืองหนึ่งของจังหวัดชลบุรีอีกด้วย เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์มีพื้นที่ 276.98 ตารางกิโลเมตร เป็นเทศบาลนครที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย
เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ | |
---|---|
อาคารสำนักงานเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ | |
สมญา: เมืองอ่าวอุดม | |
คำขวัญ: เมืองเจ้าพระยา ปวงประชาใจดี มากมีอุตสาหกรรม เน้นนำการเกษตร อาณาเขตกว้างไกล สืบสานใยประเพณี | |
พิกัด: 13°07′28″N 100°59′57″E / 13.12444°N 100.99917°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชลบุรี |
อำเภอ | ศรีราชา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | นายอาคม พันธ์เฉลิมชัย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 276.98 ตร.กม. (106.94 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 133,000 คน |
• ความหนาแน่น | 480.18 คน/ตร.กม. (1,243.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03200703 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เลขที่ 8 หมู่ที่ 1 ถนนสายท่อน้ำ ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 |
โทรศัพท์ | 0 3834 8205-7 |
เว็บไซต์ | chaoprayasurasak |
ประวัติ
แก้เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์เดิมมีฐานะเป็น สุขาภิบาลอ่าวอุดม จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลอ่าวอุดม ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[2] และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ปีเดียวกัน แต่เนื่องจากในความเป็นจริงนั้น พื้นที่อ่าวอุดมได้ถูกโอนไปอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง (ปัจจุบันคือเทศบาลนครแหลมฉบัง) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง พ.ศ. 2534 โดยมีพื้นที่แยกออกไปจากสุขาภิบาลอ่าวอุดมเป็นจำนวน 72.56 ตารางกิโลเมตร รวม 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสน ในปี พ.ศ. 2545 จึงมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลโดยใช้ชื่อว่า เทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เพื่อเป็นการระลึกถึงเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ผู้บุกเบิกและสร้างความเจริญให้กับอำเภอศรีราชา[3]
ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556 กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ โดยตัดท้องที่หมู่ที่ 6 บ้านโค้งดารา, หมู่ที่ 7 บ้านเนินแสนสุข, หมู่ที่ 8 บ้านหินกอง และหมู่ที่ 11 บ้านหนองเลง (บางส่วน) ของตำบลหนองขาม ให้ไปเป็นพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขามที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนที่มีมาตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นสุขาภิบาลอ่าวอุดม และเพื่อประโยชน์ในการจัดบริการสาธารณะ ส่งผลให้เขตเทศบาลมีพื้นที่ลดลงจากเดิม 306.44 ตารางกิโลเมตร เหลือ 276.98 ตารางกิโลเมตร จากนั้นในวันที่ 9 เมษายน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์เป็น เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[4]
พื้นที่และอาณาเขต
แก้เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 111 กิโลเมตร และห่างจากเทศบาลเมืองชลบุรีเป็นระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 276.98 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รวม 5 ตำบล
- อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ, เขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม (อำเภอศรีราชา) และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว (อำเภอบ้านบึง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน (อำเภอศรีราชา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย (อำเภอบางละมุง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง, อ่าวไทย และเขตเทศบาลเมืองศรีราชา (อำเภอศรีราชา)
- ครอบคลุมพื้นที่
- ตำบลบ่อวิน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 5, 8 และ 3, 6 (บางส่วน)
- ตำบลหนองขาม ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 9, 10 และ 11 (บางส่วน)
- ตำบลสุรศักดิ์ ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 4, 5, 6, 7, 8, 10 และ 3, 9 (บางส่วน)
- ตำบลบึง ประกอบด้วยหมู่ที่ 2, 3, 4, 6, 7, 8 และ 1, 5, 9 (บางส่วน)
- ตำบลเขาคันทรง ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 3, 6 และ 10 (บางส่วน)
ประชากร
แก้ประชากรในเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีจำนวน 132,172 คน (ไม่รวมจำนวนประชากรในท้องที่ที่ได้โอนให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขามแล้ว)
- การศึกษา
- โรงเรียนดาราสมุทร
- โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์
- โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- โรงเรียนวัดจุกกะเฌอ (พินิจ เริ่มอำรุง)
- โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง ๓
การคมนาคม
แก้รถไฟ
แก้ทางหลวง
แก้- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3241 (เชื่อมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 กับถนนสุขุมวิท)
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บถาวร 2008-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ หน้าที่ ๑
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลอ่าวอุดม เป็นเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ เก็บถาวร 2015-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๖๘ ก ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้าที่ ๑๗
- ↑ กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์.