เดอเบียร์ส
เดอเบียร์ส (อังกฤษ: De Beers) เป็นกลุ่มบริษัทภายในเครือ ตระกูลเดอเบียร์สและบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ การสำรวจหาเพชร, การทำเหมืองเพชร, การค้าเพชร และการผลิตเพชรสำหรับการอุตสาหกรรม เดอเบียร์สทำธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวกับการทำอุตสาหกรรมเหมืองเพชรที่รวมทั้งการทำเหมืองเปิด และการทำเหมืองใต้ดิน เหมืองของเดอเบียร์สอยู่ในบอตสวานา, นามิเบีย, แอฟริกาใต้ และ แคนาดา
ประเภท | บริษัทเอกชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | การสำรวจ, ทำเหมือง และค้าเพชร |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1888 |
ผู้ก่อตั้ง | เซซิล โรดส์ |
สำนักงานใหญ่ | , |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | นิคคี อ็อพเพ็นไฮเมอร์, ประธาน |
ผลิตภัณฑ์ | เพชร |
บริการ | การตลาดและการส่งเสริมเผยแพร่เพชร |
รายได้ | US $6.5 billion (ค.ศ. 2005) |
รายได้สุทธิ | US $554 million (ค.ศ. 2005) |
พนักงาน | ประมาณ 20,000 คน |
บริษัทแม่ | Anglo American plc |
เว็บไซต์ | www.debeersgroup.com |
ประวัติของบริษัท
แก้เซซิล โรดส์ผู้ก่อตั้งเดอเบียร์สเริ่มอาชีพด้วยการเช่าปัมพ์น้ำให้แก่ผู้ทำเหมืองระหว่างการตื่นเพชรที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1871 เมื่อมีผู้พบเพชรหนัก 83.5 กะรัตที่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือคิมเบอร์ลีย์) ในแอฟริกาใต้ โรดส์ลงทุนจากผลกำไรที่ได้รับในการซื้อที่ดินจากเจ้าของเหมืองรายย่อย จนในที่สุดก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นบริษัทเหมืองอิสระ[1] สหบริษัทเหมืองเดอเบียร์ส (De Beers Consolidated Mines) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1888 โดยการรวมบริษัทบาร์นีย์ บาร์นาโต and เซซิล โรดส์ ที่ทำให้กลายเป็นบริษัทเดียวที่เป็นเจ้าของเหมืองเพชรทั้งหมดในประเทศในขณะนั้น[1][2][3] ในปี ค.ศ. 1889 โรดส์เจรจาต่อรองข้อตกลงทางแผนการกับบริษัท Diamond Syndicate ของลอนดอนที่ตกลงรับซื้อเพชรตามจำนวนและราคาที่ตกลงกันในสัญญา ซึ่งเป็นการควบคุมปริมาณผลิตผลและการรักษาราคา[4][5] ความตกนี้เป็นวิถีการตกลงที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นวิธีที่สร้างความสำเร็จให้แก่เดอเบียร์สเป็นอันมาก - ตัวอย่างเช่นเมื่อราคาเพชรตกระหว่างปี ค.ศ. 1891 ถึงปี ค.ศ. 1892 เดอเบียร์สก็ยุติปริมาณการผลิตเพื่อรักษาระดับราคาให้คงตัว[6] ในปี ค.ศ.1896 โรดส์ผู้เกรงว่าระบบผูกขาดที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นจะเป็นอันตรายต่อการทำลาย จึงประกาศต่อผู้ถือหุ้น[5]ว่า:
“ | ความเสี่ยงอย่างเดียวที่ปรากฏคือการพบเหมืองใหม่อย่างทันที ที่ทำให้มนุษย์หาวิธีอันปราศจากความยั้งคิดที่นำมาซึ่งความหายนะแก่เราทุกคน | ” |
ช่วงสงครามบูร์ครั้งที่สองเป็นช่วงที่ท้าทายต่อสถานภาพของเดอเบียร์ส คิมเบอร์ลีย์ถูกล้อมทันที่สงครามปะทุขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเหมืองอันมีค่าของบริษัท โรดส์เองย้ายออกจากคิมเบอร์ลีย์ไปอยู่ในเมืองตั้งแต่เริ่มการล้อมเพื่อไปสร้างความกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลบริติชให้แบ่งกองทหารมาช่วยยุติการล้อมที่คิมเบอร์ลีย์แทนที่จะสนองตามนโยบายทางยุทธวิธีทางการทหาร แม้ว่าจะไม่ตรงกับนโยบายการปฏิบัติของฝ่ายทหาร[7] โรดส์ใช้เงินทุนของบริษัทในสร้างเสริมระบบการป้องกันของตนเอง โดยการผลิตระเบิด สร้างระบบการป้องกัน สร้างรถไฟเกราะ และ ปืนชื่อ ปืนยาวเซซิล ในเวิร์คช็อพของบริษัท[8]
ในปี ค.ศ. 1902 ก็มีการพบเหมืองคัลลินัน (Premier Mine) ซึ่งเป็นเหมืองคู่แข่ง เจ้าของเหมืองคัลลินันไม่ยอมเข้าร่วมในเครือการค้าร่วมเดอเบียร์ส[9] แต่หันไปขายให้กับผู้แทนการค้าเพชรอิสระสองคนชื่อเบอร์นาร์ดและเออร์เนสท์ อ็อพเพ็นไฮเมอร์ ที่เป็นผลทำให้เครือการค้าร่วมเดอเบียร์สอ่อนตัวลง[10] ในที่สุดผลผลิตก็มีปริมาณเท่าเทียมกับผลผลิตของเครือการค้าร่วมเดอเบียร์สรวมกัน และยังพบเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดตั้งแต่พบมา—เพชรคัลลินัน อ็อพเพ็นไฮเมอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนท้องถิ่นสำหรับผู้ค้าผู้มีอำนาจในลอนดอน และในที่สุดก็ได้เป็นนายกเทศมนตรีของคิมเบอร์ลีย์ภายในเวลาเพียง 10 ปี อ็อพเพ็นไฮเมอร์เข้าใจถึงกุญแจพื้นฐานของความสำเร็จของเดอเบียร์ส และได้กล่าวในปี ค.ศ. 1910 ว่า:[9]
“ | สามัญสำนึกเป็นเครื่องบอกว่าวิธีเดียวที่จะเพิ่มค่าของเพชรคือการทำให้เป็นของหายาก ซึ่งก็ทำได้โดยการลดปริมาณการผลิต | ” |
แต่ในที่สุดในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเหมืองคัลลินันก็ถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเดอเบียร์ส
เมื่อโรดส์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1902 เดอเบียร์สก็ควบคุมการผลิตเพชร 90% ของโลก เออร์เนสท์ อ็อพเพ็นไฮเมอร์กลายรับตำแหน่งเป็นประธานบริษัทต่อมาในปี ค.ศ. 1927 หลังจากที่ซื้อที่นั่งในคณะกรรมการบริหารในปีก่อนหน้านั้น[10]
อ็อพเพ็นไฮเมอร์มีความกังวลต่อการพบเพชรในปี ค.ศ. 1908 ในแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมัน ว่าจะทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิตที่ท่วมตลาดที่จะทำให้ราคาลดลง[11][12]
การสิ้นสุดการผูกขาด
แก้เดอเบียร์สมีชื่อเสียงในด้านการการผูกขาดตลาด (monopolistic practices) มาตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยการใช้ความมีอิทธิพลในการบงการตลาดสากล[1][13] เดอเบียร์สใช้กลวิธีหลายอย่างในการควบคุมตลาด: ประการแรกคือการหว่านล้อมให้ผู้ผลิตอิสระเข้าร่วมในระบบการค้าผูกขาดโดยผู้ขายผู้เดียว ถ้าไม่ยอมร่วมมือเดอเบียร์สก็จะปล่อยเพชรชนิดเดียวกับที่ผลิตโดยบริษัทที่ไม่ยอมเข้าร่วมให้ท่วมตลาด และประการสุดท้ายเดอเบียร์สจะซื้อและกักตุนเพชรที่ผลิตโดยบริษัทอื่น ๆ เพื่อที่จะควบคุมราคาตลาดโดยการควบคุมอุปทาน[14] หลังจากการเปลี่ยนแปลงของบริษัทระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาจนถึงปัจจุบันทำให้วิธีการดำเนินการค้าของเดอเบียร์สเป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น[15]
ในปี ค.ศ. 2000 ปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นทำให้เดอเบียร์สต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ[14] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าวิธีการดำเนินธุรกิจของเดอเบียร์สดังเช่นที่เคยทำมาเป็นวิธีที่ไม่อาจจะใช้ดำเนินการต่อไปได้ เดอเบียร์สไม่อาจจะทำธุรกิจในภูมิภาคหลายภูมิภาคที่มีความต้องการได้ นอกจากนั้นก็มีผู้ผลิตเพิ่มขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ เช่นในรัสเซีย, แคนาดา และออสเตรเลีย ที่ดำเนินการค้าอิสระจากกลุ่มเดอเบียร์ส ซึ่งก็เท่ากับเป็นการยุติระบบการผูกขาดของเดอเบียร์สไปโดยปริยาย[1][13] นอกจากนั้นแล้วตลาดเพชรก็ยังมีแนวโน้มที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับสินค้าฟุ่มเฟือยอื่น ๆ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปรไปในขณะที่อุตาหกรรมการค้าเพชรล่าต่อการตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของตลาด[ต้องการอ้างอิง] เพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อวงการอุตสาหกรรมเดอเบียร์สก็ดำเนินการตรวจสอบยุทธวิธการค้ากับเบนส์และบริษัท ที่เป็นผลให้เดอเบียร์สต้องเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจ (business model) จากนโยบายควบคุมอุปทานของตลาด มาเป็นนโยบายการตอบสนองอุปสงค์ของตลาด ผลของความเปลี่ยนแปลงนโยบายทำให้เดอเบียร์สได้รับผลกำไรมากขึ้น และควบคุม 40% ของตลาด และเป็นกำไรที่สูงกว่าเมื่อคุม 80% ของตลาด[15]
ในปัจจุบันธุรกิจการขายเพชรแตกต่างจากเมื่อสิบปีก่อนเป็นอันมาก และเป็นธุรกิจที่ซับซ้อนและพัฒนาเปลี่ยนไปตามภูมิศาสตร์การเมืองของโลก ผู้มีบทบาทในการผลิตสำคัญในปัจจุบันคือประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Tobias Kretschmer (2003-10-15). "De Beers and Beyond:The History of the International Diamond Cartel" (PDF). New York University. สืบค้นเมื่อ 2008-11-25.
- ↑ Martin Meredith (2007). Diamonds Gold and War. New York: Simon & Schuster, Limited. ISBN 0743286146.
- ↑ John Hays Hammond (1974). The Autobiography of John Hays Hammond. Ayer Publishing. p. 205. ISBN 0405059132.
- ↑ Edward Jay Epstein (1982). The Rise and Fall of Diamonds. Simon and Schuster. ISBN 0671412892. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ 5.0 5.1 Lilian Charlotte Anne Knowles (2005). The Economic Development of the British Overseas Empire. Taylor & Francis. ISBN 0415350484.
- ↑ Colin Walter Newbury (1989). The Diamond Ring. Oxford University Press. ISBN 0198217757. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ A HANDBOOK OF THE BOER WAR With General Map of South Africa and 18 Sketch Maps and Plans. London and Aldershot: Gale and Polden Ltd. 1910. สืบค้นเมื่อ 2008-10-02.
- ↑ Ashe, E. Oliver (1900). Besieged by the Boers; a diary of life and events in Kimberley during the siege (1900). New York: Doubleday, Page & Co.
- ↑ 9.0 9.1 Tom Zoellner (2007). The Heartless Stone: A Journey Through the World of Diamonds, Deceit, and Desire. McMillan. ISBN 0312339704. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ 10.0 10.1 De Beers S.A. Encyclopedia Britannica.
- ↑ Janine P. Roberts (2003). Glitter & Greed. The Disinformation Company. ISBN 0971394296. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ Theodor Emanuel Gregory (1977). Ernest Oppenheimer and the Economic Development of Southern Africa. Arno Press. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ 13.0 13.1 Jane S. Lopus (2003). Capstone. National Council on Economic Education. p. 61. ISBN 1561835161. สืบค้นเมื่อ 2008-11-25.
- ↑ 14.0 14.1 Campbell R. McConnell, Stanley L. Brue (2005). Economics: Principles, Problems, and Policies. McGraw-Hill Professional. p. 456. สืบค้นเมื่อ 2008-11-26.
- ↑ 15.0 15.1 Joe Nocera (2008-08-08). "Diamonds are Forever in Botswana". New York Times.
- ↑ "From Mine to Mistress - Corporate Strategies and Government Policies in the International Diamond Industry by Chaim Even-Zohar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-31. สืบค้นเมื่อ 2009-11-09.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- De Beers Group official web site
- De Beers Canada official web site
- Debswana official web site
- Namdeb official web site
- The De Beers Diamond Stakes Trophy เก็บถาวร 2009-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Diamdel official web site เก็บถาวร 2012-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- www.e6.com Element Six official web site
- De Beers History เก็บถาวร 2021-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, published 1982
- Diamond Facts
- Diamond Development Initiative เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kimberley Process เก็บถาวร 2010-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - rough diamond statistics site
- De Beers reports เก็บถาวร 2011-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- De Beers, Diamonds and Botswana[ลิงก์เสีย] - video story
- Kimberley Process official web site
- African Diamond Council official web site เก็บถาวร 2021-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- From Mine to Mistress เก็บถาวร 2020-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Chaim Even-Zohar, Corporate Strategies and Government Policies in the International Diamond Industry
- Epstein, Edward Jay (1982). "THE DIAMOND INVENTION" เก็บถาวร 2021-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน