เจ้าอุษา
เจ้าอุษา[1] หรือ เจ้าอุสาห์[2] เป็นพระธิดาในพระเจ้ามโหตรประเทศ และเป็นพระชายาในพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ซึ่งทั้งสองต่างเป็นพระเจ้านครเชียงใหม่ลำดับที่ 5 และ 6[3] เป็นพระมารดาของเจ้าทิพเกสร พระชายาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นพระอัยยิกาของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าอุษา | |
---|---|
ภรรยาพระเจ้านครเชียงใหม่ | |
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2397–2413 (?) |
ก่อนหน้า | เจ้าสุวรรณ |
ถัดไป | เจ้าทิพเกสร |
พระสวามี | พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ |
พระธิดา | เจ้าทิพเกสร เจ้าอุบลวรรณา |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ |
พระบิดา | พระเจ้ามโหตรประเทศ |
พระมารดา | เจ้าสุวรรณ |
ศาสนา | พุทธ |
พระประวัติ
แก้เจ้าอุษาเป็นพระธิดาในพระเจ้ามโหตรประเทศ พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 5 กับเจ้าสุวรรณ (หรือ คำแผ่น) มีพระเชษฐาและภคินีได้แก่ เจ้าสุริยวงศ์ (ช.), เจ้ามหาเทพ (ช.), เจ้าบัวทิพย์ (ญ.) และเจ้าคำหลอ (ญ.)
เจ้าอุษาเสกสมรสกับพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 6 พระโอรสของพระเจ้ากาวิละ พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 1 และเจ้าโนจา มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ
- เจ้าทิพเกสร (พ.ศ. 2384—2427) เป็นพระชายาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเป็นพระชนนีในเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เจ้าอุบลวรรณา ( พ.ศ. 2388—ไม่ปรากฏ) เป็นทวดของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของเจ้าอุษา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์. 2552, หน้า 340
- ↑ เจ้าราชบุตร. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร. 2516. p. 234.
- ↑ http://www.guidescenter.com/message_board.php?msg_type=2&msg_id=5927[ลิงก์เสีย]