เจงกิส ข่าน

ผู้พิชิตชาวมองโกล

เจงกิส ข่าน (อังกฤษ: Genghis Khan, /ˈɛŋɡɪs ˈkɑːn/ หรือ /ˈɡɛŋɡɪs ˈkɑːn/;[2][3] มองโกเลีย: Чингис Хаан, Chinggis Khaan, Činggis Qaɣan; ประมาณ ค.ศ. 1155/ค.ศ. 1162 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1227) จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ทรงก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล มีพระนามเดิมว่า เทมูจิง (มองโกเลีย: Тэмүжин) ตามสถานที่พระราชสมภพริมฝั่งแม่น้ำโอนอน ทรงเป็นผู้นำครอบครัวแทนพระบิดาเมื่ออายุเพียง 13 ปี และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ทรงปราบเผ่าไนแมน ทางด้านตะวันตก พิชิตชนชาติตันกุต (เซี่ยตะวันตก) และยอมรับการจำนนของชาวอุยกูร์

เจงกิส ข่าน
พระบรมสาทิสลักษณ์ของเจงกิส ข่านจากชุดภาพวาดสมัยราชวงศ์หยวน
ข่านมองโกลผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์แรก
ครองราชย์ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1206 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1227
ราชาภิเษกช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1206
ถัดไปโอเกเดย์ ข่าน (ในฐานะข่าน)
โทโลย (ในฐานะผู้สำเร็จราชแทนพระองค์)
พระราชสมภพ5 มีนาคม ค.ศ. 1155
คามัคมองโกล
สวรรคต18 สิงหาคม ค.ศ. 1227 อายุ 72 ปี[1]
เซี่ยตะวันตก
ราชวงศ์บอร์จิกิง
ราชวงศ์การสืบเชื้อสายมาจากเจงกิส ข่าน
พระราชบิดาเยซูไก

ในปี พ.ศ. 1749 เทมูจิงได้ทรงเปลี่ยนพระนามมาเป็น "เจงกิส ข่าน" และจากปี พ.ศ. 1754 ด้วยการรบพุ่งหลายครั้ง เจงกิส ข่าน ทรงสามารถยึดครองจีนตอนเหนือ จักรวรรดิคารา-คิไต (Qara Khitai Empire) (เหลียวตะวันตก) จักรวรรดิคาเรสม์ และดินแดนอื่น ๆ อีกหลายแห่ง นับถึงเวลาเมื่อเจงกิส ข่าน สวรรคต จักรวรรดิมองโกลได้แผ่ขยายตั้งแต่ทะเลดำไปจดมหาสมุทรแปซิฟิก โดยทั้งหมดเริ่มที่จีนตอนเหนือ หลังจากยึดจงตู (ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง) ได้แล้ว เจงกิส ข่าน ได้ส่งทูตไปยังเปอร์เซีย แต่ทางสุลต่านตัดหัวคนที่พระองค์ทรงส่งไป เจงกิส ข่าน จึงมีพระราชบัญชาสั่งระดมพลไปบุกเปอร์เซีย เมืองทุกเมืองที่ต่อต้านจะถูกปล้นชิงและทำลาย หลังการยึด เจงกิส ข่าน ได้มีพระราชบัญชาสั่งทหาร 10,000 คนบุกไปทางเหนือ โดยไม่ได้ถูกหยุดเลยจนถึงสุดขอบทะเลยังใกล้เคียงตะวันออกกลาง

เจงกิส ข่าน มีพระชนม์ชีพอยู่ตรงช่วงประมาณ 1 ศตวรรษ ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงสุโขทัย พระองค์ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่าทรงเป็นนักการทหารที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลก นอกจากความสำเร็จในทางการทหารแล้ว เจงกิส ข่าน ยังทรงสร้างระบบอักษรขึ้นใช้ในจักรวรรดิมองโกล โดยดัดแปลงมาจากอักษรอุยกูร์ พระองค์รวบรวมชนเผ่าเร่ร่อนต่าง ๆ ของมองโกลเข้าเป็นชาติเดียวกัน และปกครองโดยถือหลักเปิดกว้างต่อความเชื่อทางศาสนา นอกจากนี้พระองค์ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงในเส้นทางสายไหม ทำให้โลกมุสลิม เอเชียตะวันออก และยุโรป สามารถค้าขายและติดต่อสื่อสารถึงกันได้

ภายหลังเจงกิส ข่าน สวรรคต โอเกเดย์ ข่าน พระราชโอรสของเจงกิส ข่าน ได้นำทัพกลับไปที่ใกล้ตะวันออกกลาง แต่ในขณะที่จะเข้าเวียนนา โอเกเดย์ ข่าน ได้สวรรคตก่อน ทำให้การปะทะกันไม่อาจเกิดขึ้น

จักรวรรดิมองโกลประมาณ พ.ศ. 1800–1900

ชีวิตเมื่อทรงพระเยาว์

แก้

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Ratchnevsky, Paul (1991). Genghis Khan: His Life and Legacy. Blackwell Publishing. p. 142. ISBN 0-631-16785-4. It is possible, however, to say with certainty that Genghis Khan died in August 1227; only in specifying the actual day of his death do our sources disagree.
  2. "Genghis Khan". Webster's New World College Dictionary. Wiley Publishing. 2004. สืบค้นเมื่อ July 29, 2011.
  3. "Genghis Khan". Oxford Dictionaries Online. Oxford University Press. 2011. สืบค้นเมื่อ July 29, 2011.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า เจงกิส ข่าน ถัดไป
ไม่มี   ข่านแห่งมองโกล
(พ.ศ. 1749–1770)
  โอเกเดย์ ข่าน
โทโลย ข่าน