เขตบางรัก

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

บางรัก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตในฝั่งพระนครของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปทุมวันทางทิศเหนือและตะวันออก เขตสาทรทางทิศใต้ และติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์และเขตคลองสาน (ตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ทางตะวันตก

เขตบางรัก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bang Rak
เขตบางรักและแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมองจากไอคอนสยาม
เขตบางรักและแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมองจากไอคอนสยาม
คำขวัญ: 
เขตเศรษฐกิจแท้จริง
โซนนิงสถานบริการ
ถิ่นตำนานแห่งความรัก
ย่านที่พักโรงแรมหรู
แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดัง
บางรัก บาง...รักประชาชน
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางรัก
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางรัก
พิกัด: 13°43′51″N 100°31′27″E / 13.73083°N 100.52417°E / 13.73083; 100.52417
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด5.54 ตร.กม. (2.14 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด42,921[1] คน
 • ความหนาแน่น7,747.47 คน/ตร.กม. (20,065.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10500
รหัสภูมิศาสตร์1004
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 5 ถนนนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/bangrak
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขตบางรักเป็นบริเวณหนึ่งที่ชาวยุโรปเข้ามาตั้งรกรากเป็นบริเวณแรก ๆ ในกรุงเทพมหานคร เช่น คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งตั้งสวนท่านเป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก (ปัจจุบันคือ อาสนวิหารอัสสัมชัญ) การตั้งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยของคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน, การตั้งสถานทูตฝรั่งเศสและโปรตุเกส และการตั้งโกดังเก็บสินค้าไปจนถึงอาคารสำนักงานของบริษัทอีสต์เอเชียติก เป็นต้น[2] ในปี 2559 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่จากที่เขตคลองเตย มาอยู่ที่อาคารไปรษณีย์กลาง ในเขตบางรัก พร้อมทั้งสนับสนุนและประกาศให้พื้นที่รอบถนนเจริญกรุงในเขตบางรักให้เป็นเขตธุรกิจสร้างสรรค์[3]ในชื่อ "สร้างสรรค์เจริญกรุง"[4] คำขวัญของเขตบางรักได้ให้ลักษณะของเขตว่าเป็น "โซนนิงสถานบริการ" (เช่น พัฒน์พงศ์, อดีตซอยประตูชัย), "ย่านที่พักโรงแรมหรู" (เช่น โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ, โรงแรมเชอราตัน) และ "แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดัง" (เช่น โรงเรียนเอกชนเก่าแก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์) นอกจากนี้เขตบางรักยังเป็นที่รู้จักจากอาคารเก่าสถาปัตยกรรมโคโลเนียลและตะวันตก[5] เช่น ศุลกสถาน, อาคาร อีสต์ เอเชียติก, ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ และพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ในปัจจุบันเขตบางรักยังเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ตึกระฟ้าจำนวนมากในย่านสีลม ซึ่งเป็นหนึ่งในบริเวณที่มีมูลค่าที่ดินสูงที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ 1.7 ล้านบาท ต่อตารางวา ในการคาดการณ์ปี 2560 สูงเป็นอันดับที่สามในประเทศไทยรองจากย่านสยามสแควร์ และย่านชิดลมในเขตปทุมวัน[6]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตบางรักมีพื้นที่ทั้งหมด 5.54 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้[7]

สัญลักษณ์

แก้

สัญลักษณ์ประจำเขตบางรัก ได้แก่[7]

  • ตราประจำเขตบางรัก ประกอบรูปกังหันลมสีเหลืองบนพื้นหลังสีม่วง รูปกังหันลม 5 แฉกสื่อถึง โรงสีซึ่งในอดีตมีมากบนถนนสีลมซึ่งเป็นที่มาของชื่อถนนสีลม ส่วนแฉกทั้ง 5 สื่อถึงแขวง 5 แขวงในเขตบางรัก ด้านล่างเป็นพวงดอกรัก ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำเขต
  • ดอกไม้ประจำเขตบางรัก คือ ดอกรัก ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของที่มาของชื่อเขตบางรัก
  • สีประจำเขตบางรัก คือ สีม่วง  
  • คำขวัญประจำเขต คือ
    “เขตเศรษฐกิจ แท้จริง
    โซนนิ่ง สถานบริการ
    ถิ่นตำนาน แห่งความรัก
    ย่านที่พัก โรงแรมหรู
    แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนดัง”
    บางรัก บาง...รักประชาชน

ศัพทมูล

แก้

ที่มาของชื่อเขตบางรักมีการสันนิษฐานอยู่หลายทฤษฎี ได้แก่

  • สันนิษฐานว่าบริเวณเขตบางรักนี้ในอดีตมีคลองเล็ก ๆ สายหนึ่งที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีซุงของต้นรักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่า "บางรัก" ส่วนบริเวณที่เคยเป็นคอลงที่มีซุงนั้น เชื่อว่าเป็นบริเวณตรอกซุงในปัจจุบัน[8]
  • สันนิษฐานว่าบริเวณนี้ในอดีตมีต้นรักขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นที่มาของชื่อ “บางรัก“[9] ความเชื่อนี้ในปัจจุบันได้รับการยอมรับมาก สังเกตจากตราสัญลักษณ์ประจำเขตนั้นก็ใช้รูปดอกรักประกอบ ตามความเชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อเขต[7]
  • สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “บางรักษ์” ซึ่งมาจากสำนักงานอำเภอในอดีตตั้งอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่เป็นที่รู้จัก อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ถูกคัดค้านว่ามาจากถูกเข้าใจผิดจากชื่อของ อำเภอบางรักษ์ ในย่านบ้านทวาย (บริเวณต่อระหว่างเขตสาทร กับเขตบางรักในปัจจุบัน)[8]
  • สันนิษฐานว่าในอดีต เป็นย่านที่มีชื่อว่าคลองบางขวางล่างใต้ เนื่องด้วยเป็นบริเวณที่มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นฆ่ากันตายบ่อยครั้ง ชาวบ้านจึงขอให้ใช้ชื่อที่เป็นมงคลเรียกย่านนี้ว่า "บางรัก" แทนชื่อเดิม[9]

ในปัจจุบันเป็นที่เชื่อกันในความเป็นสิริมงคลของชื่อเขตบางรัก ว่ามีความเกี่ยวข้องกับความรัก ในทุก ๆ ปี สำนักงานเขตจะจัดพิธีจดทะเบียนสมรสหมู่ขึ้นในวันวาเลนไทน์ของทุกปี แสดงให้เห็นความนิยมในชื่อของ “รัก” ที่ปรากฏในชื่อเขตในฐานะของความรัก[9]

ประวัติ

แก้
 
เขตบางรักตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

อำเภอบางรักก่อตั้งขึ้นเป็นทางการในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2450 โดยการรวมพื้นที่อำเภอชั้นในของพระนคร 4 อำเภอตามประกาศกระทรวงนครบาล นับเป็น 1 ใน 8 อำเภอของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น ต่อมาใน พ.ศ. 2515 หลังการประกาศของคณะปฏิวัติให้จัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางรักจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนสถานะฐานะเป็นแขวงแทน[8]

เขตการปกครอง

แก้

เขตบางรักแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ดังนี้[7]

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
มหาพฤฒาราม Maha Phruettharam
0.889
9,865
11,096.74
 
2.
สีลม Si Lom
2.074
16,311
7,864.51
3.
สุริยวงศ์ Suriyawong
0.820
4,172
5,087.81
4.
บางรัก Bang Rak
0.689
2,413
3,502.18
5.
สี่พระยา Si Phraya
1.064
10,160
9,548.87
ทั้งหมด
5.540
42,921
7,747.47

ประชากร

แก้

เศรษฐกิจ

แก้
 
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพฯ

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้สนับสนุนให้บริเวณเขตบางรักช่วงถนนเจริญกรุงเป็นพื้นที่เขตธุรกิจสร้างสรรค์ ในปัจจุบันเขตบางรักเป็นที่ตั้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ คือ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)[11] นอกจากนี้ในเขตบางรักประกอบไปด้วยอาคารสำนักงานและอาคารระฟ้าหลายแห่ง เช่น จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์, คิง เพาเวอร์ มหานคร และตึกสเตท

การท่องเที่ยว

แก้

เขตบางรักเป็นที่ตั้งของโรงแรมหรูที่มีอายุเก่าแก่หลายแห่ง เช่น โรงแรมดุสิตธานี, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ, โรงแรม ดับเบิ้ลยู กรุงเทพฯ, โรงแรมแชงการีลา นอกจากนี้เขตบางรักยังเป็นที่รู้จักจากสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มอาคารเก่าแก่สถาปัตยกรรมยุคโคโลเนียลและตะวันตก เช่น ศุลกสถาน (โรงภาษีร้อยชักสาม), ตึกเก่าอาคาร อีสต์ เอเชียติก, บ้านสาทร, พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, อาคารไปรษณีย์กลาง และ ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์

สถานที่สำคัญ

แก้

สถานทูต

แก้

ในเขตบางรักเป็นที่ตั้งของสถานทูตดังต่อไปนี้[12]

สถานศึกษา

แก้
 
โรงเรียนอัสสัมชัญ

เขตบางรักเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงเก่าแก่หลายแห่ง ดังที่ปรากฏในคำขวัญเขตวรรค “แหล่งเรียนรู้โรงเรียนดัง” โดยในเขตบางรักเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเอกชนเก่าแก่ของประเทศไทย เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โรงเรียนสตรีคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย และโรงเรียนเอกชนของคาทอลิกอื่น ๆ คือ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา และโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนรัฐบาลที่เป็นที่รู้จัก เช่น โรงเรียนปวโรฬาร, โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม สำหรับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือวิชาชีพ เช่น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันการโรงแรม เลอ กอร์ดอง เบลอ และ วิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา

สถานพยาบาล

แก้

ในเขตบางรักประกอบด้วยโรงพยาบาล 4 แห่ง ได้แก่[13] โรงพยาบาลรัฐบาล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย[14], โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน (สังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย) และ โรงพยาบาลมเหสักข์ (สังกัดเครือโรงพยาบาลวิภาราม)

ศาสนสถาน

แก้

เขตบางรักประกอบวัดในศาสนาพุทธ 5 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นพระอารามหลวง 2 แห่ง คือ วัดมหาพฤฒารามและวัดหัวลำโพง นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของโบสถ์คริสต์ ของโรมันคาทอลิก เช่น อาสนวิหารอัสสัมชัญ ที่ตั้งของเขตมิสซังกรุงเทพฯและเป็นศูนย์กลางของการควบคุมดูแลคาทอลิกในประเทศไทย และอารามคาร์แมล กรุงเทพฯ ของโปรเตสแตนต์ เช่น คริสตจักรสัจจศึกษา, คริสตจักรสะพานเหลือง และของแองกลิคันคือ คริสตจักรไคร้สต์เชิร์ช ส่วนมัสยิดประกอบด้วย มัสยิดบ้านอู่, มัสยิดฮารูณ, มัสยิดมิตรภาพไทย-ปากีสถาน, มัสยิดนูรุ้ลนะซีฮะห์, มัสยิดบูรัลนะซีฮาร์

นอกจากสามศาสนาหลักของประเทศไทย แล้วยังเป็นที่ตั้งของโบสถ์พราหมณ์แบบอินเดียใต้ คือ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี และศาลเจ้าจีนต่าง ๆ เช่น ศาลเจ้าปุ้นเถ้ากง, ศาลเจ้าเจียวเอ็งเนี้ยว

การคมนาคม

แก้
 
ถนนสาทรเหนือ

ระบบถนน

แก้

ถนนสายหลัก ได้แก่

และถนนสายรอง เช่น

ระบบขนส่งมวลชน

แก้

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

22 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุระเบิด 5 ครั้งบริเวณถนนสีลม โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ระหว่างที่กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. รวมตัวการชุมนุมอยู่แยกศาลาแดงฝั่งถนนสีลม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของตำรวจ โดยเสียงระเบิดดังขึ้น 3 ครั้ง ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง เสียงระเบิดทำให้ประชาชนที่อยู่บนสถานีและกลุ่มต่อต้าน นปช. เกิดความโกลาหล ระเบิดลูกที่ 4 ได้ระเบิดขึ้นบริเวณหน้าโรงแรมดุสิตธานี ใต้ทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (สกายวอล์ก) ต่อมา เวลา 20.45 น. ระเบิดลูกที่ 5 ก็ระเบิดขึ้นที่หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาศาลาแดง

7 พฤษภาคม เวลา 22.45 น. บริเวณแยกศาลาแดง เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนเฝ้าที่หน้าธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย อาคารซูลิก เฮ้าส์ ถนนสีลม ทำให้กระจกหน้าธนาคารกรุงไทย ใกล้ตู้เอทีเอ็ม แตก 1 บาน มีรอยร้าว มีรูกระสุน 1 รู มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[ต้องการอ้างอิง] ทั้งหมดถูกนำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม

ทัศนียภาพ

แก้
ทัศนียภาพกรุงเทพมหานครเขตคลองสาน (ซ้ายมือ) และเขตบางรัก (ขวามือ) จากสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในปี พ.ศ. 2564

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  2. อลิษา ลิ้มไพบูลย์. 7 กุมภาพันธ์ 2562. ชวนเดินดูประวัติศาสตร์ย่านบางรัก ชุมชนเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำเมื่อครั้งแรกๆ ที่ชาวตะวันตกเข้ามาเยือนสยาม. Retrieved from https://readthecloud.co/walk-west-side-story/
  3. Creative Thailand. 1 เมษายน 2560. Revalue Charoenkrung คุณค่าใหม่ เจริญกรุง. Retrieved from https://web.tcdc.or.th/th/articles/detail/Revalue-Charoenkrung--คุณค่าใหม่-เจริญกรุง
  4. TCDC. 9 ธันวาคม 2558. โครงการสร้างสรรค์เจริญกรุง Co-create Charoenkrung. Retrieved from http://www.tcdc.or.th/projects/co-create-charoenkrung/?lang=th
  5. อังคณา นาคเกิด. 9 พฤศจิกายน 2560. Hidden Gem in Old Town: หลงเสน่ห์เมืองเก่าเพราะ “ที่นี่…บางรัก”. Retrieved from https://urbancreature.co/bangrak-hidden-gem-in-old-town/
  6. ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ จำกัด อ้างถึงใน สำนักข่าวเนชั่น. 16 พฤษภาคม 2560. 5 อันดับที่ดินแพงที่สุด กทม. "สยามสแควร์" ครองแชมป์ ตารางวาละ 2 ล้าน 1 แสนบาท. Retrieved from https://www.nationtv.tv/main/content/378547613/
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 สำนักงานเขตบางรัก. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเขตบางรัก. Retrieved from http://www.bangkok.go.th/bangrak/page/sub/8026/ เก็บถาวร 2020-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. 8.0 8.1 8.2 สำนักงานเขตบางรัก. 30 กันยายน 2562. ประวัติความเป็นมาของเขตบางรัก. Retrieved from http://www.bangkok.go.th/bangrak/page/sub/2936/ประวัติความเป็นมา-Background เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. 9.0 9.1 9.2 หนุ่มลูกทุ่ง. 12 มิถุนายน 2550. สุขสันต์วันเกิด ครบ 100 ปี "บางรัก". Retrieved from https://mgronline.com/travel/detail/9500000068110
  10. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  11. Creative Economy Agency. About Us. Retrieved from https://www.cea.or.th/th/about
  12. "Diplomatic and Consular List" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
  13. สำนักงานเขตบางรัก. สถานพยาบาลในเขตบางรัก. Retrieved from http://www.bangkok.go.th/bangrak/page/sub/8031/โรงพยาบาล เก็บถาวร 2021-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. โรงพยาบาลบีเอ็นเอช. ประสบการณ์กว่า 120 ปี สู่บริการทางการแพทย์. Retrieved from https://www.bnhhospital.com/th/เกี่ยวกับบีเอ็นเอช/ เก็บถาวร 2021-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°43′52″N 100°31′26″E / 13.731°N 100.524°E / 13.731; 100.524