ฮิรางานะ

อมสึกิ

ฮิรางานะ (ญี่ปุ่น: 平仮名โรมาจิhiragana) คือ อักษรพยางค์และอักษรในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของอักษรญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน (ฮิรางานะ,คาตากานะและคันจิ) ฮิรางานะและคาตากานะเป็นระบบคานะที่ตัวอักษรหนึ่งตัวแสดงถึงหนึ่งเสียง ในแต่ละ "คานะ" สามารถเป็นได้ทั้งในรูปสระและตัวสะกด

ที่มา

แก้

ฮิรางานะพัฒนามาจากอักษรจีน เริ่มแรกเรียก อนนาเดะ หรือ มือของผู้หญิง เพราะใช้เขียนโดยผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ผู้ชายจะเขียนโดยใช้คันจิและคาตากานะ ประมาณ พ.ศ. 1500 ฮิรางานะจึงใช้โดยทั่วไป คำว่า ฮิรางานะ หมายถึง อักษรพยางค์สามัญ รูปแบบแรก ๆ ของฮิรางานะมีสัญลักษณ์หลายตัวที่ออกเสียงเหมือนกัน ระบบการเขียนมีความแตกต่างกันขึ้นกับผู้เขียนแต่ละคน รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาจัดรูปแบบเมื่อ พ.ศ. 2489 จึงกลายเป็นอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน

ลักษณะและการใช้

แก้

ฮิรางานะมีสัญลักษณ์ 46 ตัว และมักใช้ในการลงท้ายคำ (okurigana) ในภาษาญี่ปุ่น ใช้สำหรับคำที่ไม่มีในตัวอักษรคันจิ หรือใช้ในส่วนท้ายของคำกริยาหรือใช้เป็นคำช่วย ใช้โดยทั่วไปในสื่อสำหรับเด็ก ตำราเรียน และหนังสือการ์ตูน ฮิรางานะใช้สำหรับเป็นคำอ่านสำหรับตัวอักษรคันจิ เพื่อช่วยผู้อ่านได้ ซึ่งเรียกว่าฟูริงานะ ในหนังสือพิมพ์มีกฎที่ต้องใส่ฟูริงานะคู่กับคันจิที่นอกเหนือไปจากคันจิที่ทางราชการรับรองว่าเป็นคันจิที่ใช้บ่อย 1,945 ตัว หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะไม่ใช้คันจินอกเหนือไปจากคันจิกลุ่มนี้

ในปัจจุบันมีระบบฮิรางานะ 2 แบบคือ อิโรฮะ ฮิรางานะแบบเก่า และโกจูอง ฮิรางานะแบบใหม่

ตารางฮิรางานะ

แก้

ตัวอักษรฮิรางานะและเสียงอ่านของแต่ละตัว (ใช้ในการอ่านเท่านั้น) บางที่อาจใช้ตัวอักษรฮิรางานะในการเขียนแล้วแต่ความเหมาะสม หากต้องการทับศัพท์โปรดดูที่ การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

สระและพยัญชนะ yōon
อะ อิ อุ เอะ โอะ (ยะ) (ยุ) (โยะ)
คะ คิ คุ เคะ โคะ きゃ เคียะ (คฺยะ) きゅ คิว (คฺยุ) きょ เคี้ยว (โคฺยะ)
ซะ ชิ ซุ เซะ โซะ しゃ ชะ しゅ ชุ しょ โชะ
ทะ ท๎ชิ ท๎สึ เทะ โทะ ちゃ ท๎ชะ ちゅ ท๎ชุ ちょ โท๎ชะ
นะ นิ นุ เนะ โนะ にゃ เนียะ (นฺยะ) にゅ นิว (นฺยุ) にょ เนี้ยว (โนฺยะ)
ฮะ ฮิ ฟุ เฮะ โฮะ ひゃ เฮียะ (ฮฺยะ) ひゅ ฮิว (ฮฺยุ) ひょ เฮี้ยว (โฮฺยะ)
มะ มิ มุ เมะ โมะ みゃ เมียะ (มฺยะ) みゅ มิว (มฺยุ) みょ เมี้ยว (โมฺยะ)
ยะ ยุ โยะ
ระ ริ รุ เระ โระ りゃ เรียะ (รฺยะ) りゅ ริว (รฺยุ) りょ เรี้ยว (โรฺยะ)
わ วะ ゐ*** วิ ゑ*** เวะ を**** โอะ
-น
งะ งิ งุ เงะ โงะ ぎゃ เงียะ (งฺยะ) ぎゅ งิว (งฺยุ) ぎょ เงี้ยว (โงฺยะ)
ด๎สะ ด๎ชิ* ด๎สุ** เด๎สะ โด๎สะ じゃ ด๎ชะ じゅ ด๎ชุ じょ โด๎ชะ
ดะ ด๎ชิ* ด๎สึ** เดะ โดะ ぢゃ ด๎ชะ ぢゅ ด๎ชุ ぢょ โด๎ชะ
บะ บิ บุ เบะ โบะ びゃ เบี๊ยะ (บฺยะ) びゅ บิว (บฺยุ) びょ เบี๊ยว (โบฺยะ)
พะ พิ พุ เพะ โพะ ぴゃ เพียะ (พฺยะ) ぴゅ พิว (พฺยุ) ぴょ เพี้ยว (โพฺยะ)

* じ กับ ぢ ออกเสียงคล้ายกัน ** ず กับ づ ออกเสียงเหมือนกัน *** ゐ และ ゑ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว **** を จะออกเสียงเหมือนกับ お แต่ を จะใช้กับคำช่วย を เท่านั้น ในบทเพลงบ่อยครั้งมักได้ยิน を เป็นเสียง wo [โวะ] แทน

* พินทุ (-ฺ) ที่ถ่ายทอดเสียงภาษาไทย หมายถึงต้องออกเสียงควบกล้ำกัน

* ยามักการ (-๎) หรือสัญลักษณ์คล้ายเลข 3 กลับซ้ายขวาอยู่บนพยัญชนะไทย คือ การถ่ายทอดเสียงให้รู้ว่าเป็นพยัญชนะผสมกันระหว่างพยัญชนะตัวหน้าและตัวหลัง ทั้งเสียงปกติอย่าง ち จ๎ชิ จ กับ ช ผสมกัน つ ท๎สึ ท กับ ส ผสมกัน รวมไปถึงเสียงขุ่นหรือเสียงก้องในลำคออย่าง ざ ด๎สะ ด กับ ส ผสมกันเหมือนตัวภาษาอังกฤษ คือ Z ตามเสียง phonetic symbols ในภาษาอังกฤษ じ ด๎ยิ* ด กับ ย ผสมกัน เป็นต้น

ตัวอักษรที่ใช้สำหรับภาษาต่างประเทศ

แก้
............ ............ ............ いぇ (เยะ ye) ............
............ うぃ (วิ wi) ............ うぇ (เวะ we) うぉ (โวะ wo)
わ゙ (va) ゐ゙ (vi) ゔ (vu) ゑ゙ (ve) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว を゙ (vo)
ゔぁ (va) ゔぃ (vi) ゔぅ (vu) ゔぇ (ve) ゔぉ (vo)
............ ............ ............ しぇ (เชะ she) ............
............ ............ ............ じぇ (เด๎ยะ je) ............
............ ............ ............ ちぇ (เท๎ชะ che) ............
............ てぃ (ทิ ti) とぅ (ทึ tu) ............ ............
............ でぃ (ดิ di) どぅ (ดึ du) ............ ............
つぁ (ท๎สะ tsa) つぃ (ท๎สิ tsi) ............. つぇ (เท๎สะ tse) つぉ (โท๎สึะ tso)
ふぁ (ฟะ fa) ふぃ (ฟิ fi) ............. ふぇ (เฟะ fe) ふぉ (โฟะ fo)
  • โดยปกติแล้วใช้ตัวอักษรคาตากานะ

ยูนิโคด

แก้
ฮิระงะนะ
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+304x  
U+305x
U+306x
U+307x
U+308x
U+309x    


อ้างอิง

แก้