องอาจ วงษ์ประยูร
องอาจ วงษ์ประยูร (เกิด 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี และอดีตเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระพุทธบาท
องอาจ วงษ์ประยูร | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2552 | |
ก่อนหน้า | วีระพล อดิเรกสาร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2550–2554) เพื่อไทย (2554–2566) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ปิยะดา วงษ์ประยูร |
บุตร | 2 |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้องอาจ วงษ์ประยูร เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของนายบัญญัติ วงษ์ประยูร อดีต ส.ส. สระบุรีหลายสมัย และนางทองอยู่ วงษ์ประยูร มีพี่น้อง 4 คน และเป็นพี่ชายนายอรรถพล วงษ์ประยูร ซึ่งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรีเช่นกัน
สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต สาขากฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Bachelor of Science International Business สาขาบริหารธุรกิจ Fort Lauderdale College และศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สมรสกับนางปิยะดา ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ปี พ.ศ. 2564 มีบุตร 2 คน บุตรชายชื่อ นายเอกชัย วงษ์ประยูร จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานการเมือง
แก้อดีตเป็นเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระพุทธบาท ต่อมาปี พ.ศ. 2549 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระบุรี หลังจากนั้น พ.ศ. 2550 ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 3 (มี ส.ส. ได้ 2 คน) ต่อมา พ.ศ. 2552 พรรคพลังประชาชนถูกยุบพรรค นายวีระพล อดิเรกสาร ซึ่งเป็น ส.ส.สระบุรี และเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนถูกติดสิทธิ์ทางการเมือง นายองอาจจึงลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
ต่อมา พ.ศ. 2554 ย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[1] โดยการชักชวนของพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติ[2] และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี
จากนั้นในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นายองอาจได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.[3] และได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ส่งผลให้องอาจได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรีต่ออีกสมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้องอาจ วงษ์ประยูร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2552 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ 8อดีตส.ส.จากสามพรรคย้ายสังกัดเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ เจาะสนามโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ส.ส.สระบุรีทั้ง 4 เขตใครเต็ง 1 รอง 2[ลิงก์เสีย]
- ↑ “ชวน” แจ้งสภา ส.ส.ลาออกอีก 5 -ให้ถอดแมสก์ประชุมได้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายองอาจ วงษ์ประยูร เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายองอาจ วงษ์ประยูร[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายองอาจ วงษ์ประยูร), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย