หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

หน่วยงานราชการที่เก็บรักษาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก หอภาพยนตร์แห่งชาติ)

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Film Archive (Public Organization)) เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคล้ายกับหอสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ แต่เป็นหอสมุด พิพิธภัณฑ์ และหอศิลป์ ที่เก็บภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ตลอดจนอะไรก็ตาม ที่เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ทั้งนี้เพื่อ อนุรักษ์ไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาและมรดกทาง ศิลปวัฒนธรรมของชาติ และนำออกบริการ ให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าและชื่นชม หรือใช้ประโยชน์อย่างสะดวกและกว้างขวาง

หอภาพยนตร์
ตราสัญลักษณ์ประจำหอภาพยนตร์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (15 ปี)
สำนักงานใหญ่94 หมู่ที่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
งบประมาณต่อปี174.0218 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี
  • วันเพ็ญ นิโครวนจำรัส
  • ประธานกรรมการ
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ชลิดา เอื้อบำรุงจิต, ผู้อำนวยการ
  • ก้อง ฤทธิ์ดี, รองผู้อำนวยการ
  • สัณห์ชัย โชติรสเศรณี, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
เว็บไซต์http://www.fapot.or.th

ภาพยนตร์ เป็นสื่อแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ และอาจยังให้เกิดปัญญาได้ ภาพยนตร์จึงอาจเปรียบดังศาสนา หอภาพยนตร์ก็คือ วัด ซึ่งมีโรงหนังเป็นโบสถ์ มีพิพิธภัณฑ์เป็นวิหาร หรือเจดีย์ มีห้องเย็นเก็บรักษาฟิล์มเป็นหอไตร มีศูนย์ให้บริการ ค้นคว้าเป็นศาลาการเปรียญ ตราใหม่ของหอภาพยนตร์ คือ ธรรมจักรภาพยนตร์ ซึ่งหมุนวนไปเพื่อเผยแผ่สัจธรรม สำหรับมวลมนุษย์

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)เป็นองค์การมหาชนของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีภารกิจในการเก็บรวบรวมและการอนุรักษ์ฟิล์มหรือแถบแม่เหล็กบันทึกภาพ ตลอดจนสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า ศึกษา วิจัย และร่วมมือกับต่างประเทศในการเก็บรวบรวมและการอนุรักษ์ภาพยนตร์

ประวัติ

แก้

หอภาพยนตร์แห่งชาติ

แก้

งานหอภาพยนตร์แห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527[2] ที่หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า และในปี 2540 ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่ถนนพุทธมณฑลสาย 5 จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2545 จึงได้โอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ให้โอนกรมศิลปากร มาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม[3]

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

แก้

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นการโอนกิจการในส่วนของงานหอภาพยนตร์แห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน [4] ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เพื่อเก็บรวบรวม อนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ ตลอดจนสนับสนุนการค้นคว้า ศึกษา วิจัย และร่วมมือกับต่างประเทศในการเก็บรวบรวมและอนุรักษ์ภาพยนตร์ ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ที่ 94 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

 
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 738 (C56-47) (C5647) ตั้งอยู่ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), จังหวัดนครปฐม

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และได้ส่งไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาโดยสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือให้เปลี่ยนชื่อหอภาพยนตร์กลับมาเป็นหอภาพยนตร์แห่งชาติเหมือนก่อนโอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

กิจกรรมของหอภาพยนตร์

แก้

งานอนุรักษ์ภาพยนตร์

แก้

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ของประเทศไทยนั้น นับเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและดูแลภาพยนตร์ของทั้งประเทศและมีหน้าที่ซับซ้อนทุกมิติของหอภาพยนตร์ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยหอภาพยนตร์ได้มี หน่วยกู้หนัง เป็นปฏิบัติการเชิงรุกของงานอนุรักษ์ เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วของ หอภาพยนตร์ ที่จะคอยสืบเสาะแสวงหาและไปให้ถึงฟิล์ม ภาพยนตร์ สื่อโสตทัศน์ และสิ่งเกี่ยวเนื่อง ที่ยังคงหลงเหลือ และตกค้างกระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำมาอนุรักษ์ ให้ทันท่วงที เพราะมรดกภาพยนตร์เหล่านั้นอาจจะกำลังเสื่อมสภาพ หรือใกล้สูญสลายไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลเก็บรักษาที่ถูกวิธี

ห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี

แก้

ห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี เป็นห้องสมุดที่เปิดให้บริการค้นคว้าหนังสือ วารสาร รูปถ่าย สิ่งพิมพ์โฆษณา งานวิจัย บทความวิชาการ และสื่อโสตทัศน์ที่เกี่ยวกับภาพยนตร์

พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย

แก้

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จัดแสดง 3 หัวเรื่อง คือ นิทรรศการ 100 ปี ภาพยนตร์ในประเทศไทย หอเกียรติยศ และนิทรรศการขบวนการผลิตภาพยนตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก โปสเตอร์ รูปถ่าย ฯลฯ

โรงภาพยนตร์

แก้

โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา เป็นโรงภาพยนตร์ชุมชนแห่งแรก ขนาด 121 ที่นั่ง จัดฉายภาพยนตร์ทั่งที่หอภาพยนตร์สะสมไว้และที่จัดหามาจากทั่วโลก และเป็นสถานที่จัดกรรมกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ มีโปรแกรมฉายภาพยนตร์เป็นประจำทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

ลานดารา

แก้

เป็นลานสำหรับยกย่องให้เกียรติแก่ดาราภาพยนตร์ไทย โดยเชิญมาประทับรอยมือรอยเท้า สลักชื่อ และวันที่ บนลานดาราหน้าโรงภาพยนตร์ศรีศาลายา ซึ่งลอกแบบมาจาก Chinese Theatres ฮอลลีวูด เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แฟนภาพยนตร์และผู้สนใจมารำลึก

โครงการโรงหนังโรงเรียน

แก้

หอภาพยนตร์ได้จัดให้โรงภาพยนตร์ศรีศาลายาเป็นโรงหนังสำหรับนักเรียนจากทุกโรงเรียนในนครปฐมนำนักเรียนมาชม เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การชมภาพยนตร์ในฐานะเป็นมหรสพ สื่อสาร และงานศิลป์

สถานที่ใกล้เคียงกับหอภาพยนตร์

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ประวัติ หอภาพยนตร์แห่งชาติ
  3. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-09-01.
  4. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้