สมาคมมัคส์ พลังค์

(เปลี่ยนทางจาก สมาคมมักซ์พลังค์)

สมาคมมัคส์ พลังค์ (อังกฤษ: Max Planck Society) หรือชื่อเต็มคือ สมาคมมัคส์ พลังค์ เพื่อความก้าวหน้าแห่งศาสตร์ (เยอรมัน: Max-Planck-Gesellschaft zur Förderung der Wissenschaften e. V.) หรือโดยย่อว่า MPG เป็นองค์กรวิจัยอิสระไม่แสวงกำไรของเยอรมนี ได้รับทุนจากรัฐบาลสหพันธ์และรัฐบาลรัฐ

สมาคมมัคส์ พลังค์
ชื่อย่อMPG
ก่อนหน้าสมาคมไกเซอร์วิลเฮล์ม[1]
ก่อตั้ง1911; 113 ปีที่แล้ว (1911)[1]
ประเภทองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร[1]
สํานักงานใหญ่มิวนิก ประเทศเยอรมนี เยอรมนี[1]
ประธาน
มาร์ทีน ชตรัทมัน
องค์กรแม่
สภาสูง[2]
งบประมาณ
1.8 พันล้านยูโร (2016)[2]
พนักงาน
~22000[2]
เว็บไซต์www.mpg.de

สมาคมมัคส์ พลังค์ มีชื่อเสียงเป็นผู้นำระดับโลกในฐานะองค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน พ.ศ. 2549 ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ ได้จัดอันดับสถาบันวิจัยที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัย[3] และให้สมาคมมัคส์ พลังค์ เป็นอันดับที่ 1 ของโลก สำหรับการวิจัยวิทยาศาสตร์ และที่ 3 ในการวิจัยเทคโนโลยี (ถัดจากเอทีแอนด์ทีและ Argonne National Laboratory ในสหรัฐ)

สมาคมมัคส์ พลังค์ ดำเนินการศูนย์วิจัย 80 ศูนย์ทั่วเยอรมนีและยุโรปซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้ชื่อ "สถาบันมัคส์ พลังค์ เพื่อ..." ("Max-Planck-Institute (MPI) für ...") ภารกิจของศูนย์เหล่านี้คืองานวิจัยพื้นฐานในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

นอกจากศูนย์วิจัยแล้วสมาคมยังให้ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัยรุ่นเล็กอิสระและวิทยาลัยวิจัยมัคส์ พลังค์ นานาชาติ อีกจำนวนหนึ่ง (43 แห่ง นับถึงสิ้นปี พ.ศ. 2548)

สมาคมมัคส์ พลังค์ ก่อตั้งที่เมืองเกิททิงเงิน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ใน ค.ศ. 1948 โดยเป็นสมาคมที่สืบทอดมาจากสมาคมไคเซอร์วิลเฮ็ล์ม (Kaiser-Wilhelm-Gesellschaft) ของปรัสเซีย ซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1911 ตราของสมาคมมีรูปมิเนอร์วา เทพีแห่งปัญญาของโรมัน (กรีซโบราณเรียกอาทีนา) หากนับรวมสมาคมตั้งต้นของมันด้วยแล้ว สมาคมมัคส์ พลังค์ จะเป็นสมาคมที่มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าสถาบันวิชาการใดในโลก

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MPGorg
  2. 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MPGfacts
  3. "THES World University Rankings". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-04. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้