สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น (รัสเซีย: Ру́сско-япóнская войнá, อักษรโรมัน: Rússko-yapónskaya voyná; ญี่ปุ่น: 日露戦争, อักษรโรมัน: Nichiro sensō, แปลตรงตัว 'สงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย') เป็น สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เฉิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง
สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จากบน ซ้ายไปขวา: เรือลาดตระเวนรัสเซีย ปาเบดา ขณะปะทะ, ทหารราบญี่ปุ่นเดินข้ามแม่น้ำยาลู่, กองทหารม้ารัสเซียที่มุกเดน, ศพทหารญี่ปุ่นที่พอร์ตอาเธอร์, เรือลาดตระเวนรัสเซีย วาร์ยัก | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
จักรวรรดิรัสเซีย ราชรัฐมอนเตเนโกร[1] | จักรวรรดิญี่ปุ่น | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ซาร์แห่งรัสเซีย อะเลคเซย์ กูโรแพทกิน ออสการ์ กริเปนเบิร์ก รัฐมนตรีว่าการสงคราม สเตปัน มาคารอฟ † ผบ.กองเรือแปซิฟิก ผบ.กองพลทหารราบที่สอง วิลเง็มล์ วีลเกียฟต์ † ผบ.กองเรือแปซิฟิก ซีโนวี โรซเดสท์เวนสกี ผบ.กองเรือบอลติก |
จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น โอยามะ อิวาโอะ รัฐมนตรีว่าการสงคราม โคดามะ เก็นตาโร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด โนงิ มาเรซูเกะ ผบ.กองพลทหารราบที่สาม โทโง เฮฮาจิโร ผบ.กองเรือผสม | ||||||||
กำลัง | |||||||||
ราว 500,000 นาย | ราว 300,000 นาย | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ตายในการรบ 32,904 บาดเจ็บตาย 6,614 ป่วยตาย 11,170 บาดเจ็บ 146,032 เชลย 74,369[2][3] |
ตายในการรบ 47,387 บาดเจ็บตาย 11,425 ป่วยตาย 27,192 บาดเจ็บ 173,425 [2][3] |
รัสเซียได้ร้องขอท่าเรือน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้ [4] เพื่อใช้งานด้านกองทัพเรือและการค้าทางทะเลของรัสเซีย เนื่องจากนครวลาดิวอสต็อกของรัสเซียสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มที่เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่เมืองพอร์ตอาเธอร์ (ลวี่ชุนเกาในปัจจุบัน) สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตั้งแต่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุติลง ในปี 1903 รัสเซียไม่สามารถตกลงและเจรจากับญี่ปุ่นได้[5] ญี่ปุ่นจึงเลือกวิธีการทำสงครามเพื่อให้ได้ครอบงำคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังการเจรจาอันยากเย็นได้จบลงในปี 1904 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีภาคตะวันออกของรัสเซียที่พอร์ตอาเธอร์ และฐานทัพเรือในจังหวัดเหลียวตง ที่รัสเซียเช่าจากจีนอยู่ รัสเซียไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ไม่ว่าจะทั้งทั้งทางบกและทางทะเล
ผลการรบคือกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งเป็นที่ไม่คาดคิดสำหรับประเทศผู้สังเกตการณ์ต่างๆ จากสงครามครั้งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนสมดุลของขั้วอำนาจโลก ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนรัสเซีย
เบื้องหลัง
แก้ภายหลังการปฏิรูปเมจิ ในปี 1868 รัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิมีนโยบายในการพัฒนาชาติให้เท่าทันตะวันตก[6] โดยการพัฒนาเทคโนโลยี บุคคลากร ให้ทันสมัยต่อโลก จนในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นกลายเป็นรัฐอุตสาหกรรมที่ทันสมัยในเวลาน้อยกว่าครึ่งศตวรรษ ญี่ปุ่นที่รักษาอธิปไตยของพวกเขาไว้ได้รับการยอมรับในฐานะชาติที่เท่าเทียมกับมหาอำนาจตะวันตก
รัสเซียซึ่งถือเป็นจักรวรรดิที่แข็งแกร่งและเป็นมหาอำนาจ มีความทะเยอทะยานต่อดินแดนในเอเชียตะวันออก ในคริสต์ทศวรรษที่ 1890 รัสเซียได้ขยายอาณาเขตไปทั่วเอเชียกลาง ไปยังอัฟกานิสถาน กระบวนการดูดกลืนรัฐท้องถิ่นของรัสเซียยังคงดำเนินไป ญี่ปุ่นที่ได้มีความหวั่นเกรงต่อรัสเซียหวังที่จะมีอิทธิพลในภูมิภาค จึงได้ถือเอาเกาหลีและแมนจูเรียบางส่วนเป็นรัฐหน้าด่าน
สงครามจีน-ญี่ปุ่น (1894–1895)
แก้รัฐบาลในพระจักรพรรดิญี่ปุ่นเห็นว่า ราชอาณาจักรเกาหลี ประเทศราชของจักรวรรดิชิงอันเป็นดินแดนที่อยู่ใกล้ญี่ปุ่นที่สุดนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการปกป้องอธิปไตยและรักษาความปลอดภัยของชาติตน ซึ่งประชากรและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังมีความต้องการทางปัจจัยด้านนโยบายทางต่างประเทศของญี่ปุ่น อย่างน้อยที่สุด ญี่ปุ่นคิดว่าหากญี่ปุ่นไม่ได้เข้าครอบครองเกาหลี ก็หวังว่าเกาหลีจะเป็นเอกราชปราศจากการครอบงำโดยชาติใดๆ
จากชัยชนะของจักรวรรดิญี่ปุ่นเหนือจักรวรรดิชิง นำไปสู่สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ[7] และจีนสูญเสียอิทธิพลเหนือคาบสมุทรเกาหลีและคาบสมุทรเหลียวตง รวมถึงเสียดินแดนไต้หวัน ให้แก่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามรัสเซียซึ่งยังมีความทะเยอทะยานในภูมิภาคนี้อยู่ ได้พยายามชักชวนเยอรมันและฝรั่งเศส ในการกดดันและบีบญี่ปุ่น โดยเรียกร้องให้ญี่ปุ่นปลดปล่อยคาบสมุทรเหลียวตง
การรุกคืบของรัสเซีย
แก้ในเดือนธันวาคม 1897 กองทัพเรือรัสเซียได้ปรากฏขึ้นที่พอร์ตอาเธอร์ เดิมรัสเซียต้องการพอร์ตอาเธอร์ซึ่งเป็นเมืองท่าเขตน้ำอุ่นอยู่แล้ว และต้องการพอร์ตอาเธอร์โดยเร็วที่สุด ในปี 1898 รัสเซียจึงได้เลือกที่จะเช่าพอร์ตอาร์เธอร์, ต้าเหลียงว่าน และน่านน้ำโดยรอบ จากจีน ซึ่งชาวรัสเซียเชื่ออย่างยิ่งว่า วิธีนี้จะทำให้พวกเขาไม่สูญเสียเวลาในการเข้าครอบครอง
ภายหลังเข้าบริหารพอร์ตอาเธอร์แล้ว ปีต่อมารัสเซียได้สร้างทางรถไฟจากฮาร์บิน ผ่านเฉิ่นหยาง [8]สู่พอร์ตอาเธอร์ ซึ่งการพัฒนาทางรถไฟนี้เองเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการก่อกบฏนักมวย [9]
รัสเซียเริ่มที่จะแผ่อิทธิพลเข้าไปในเกาหลี โดยในปี 1898 พวกเขาได้รับสัมปทานการทำเหมืองแร่และการป่าไม้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำยาลู่และตูเหมิน [10] ญี่ปุ่นซึ่งจ้องจะปกครองเกาหลีเกิดความวิตกกังวลขึ้น ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าโจมตีก่อนที่ทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียจะแล้วเสร็จในเวลาอีกไม่กี่ปี
ความร่วมมือด้านหน่วยข่าวกรอง ระหว่างอังกฤษ-ญี่ปุ่น
แก้ก่อนสงครามจะอุบัติขึ้น หน่วยข่าวกรองของอังกฤษและญี่ปุ่น ได้ร่วมมือกันที่จะต่อต้านรัสเซีย[11] กองทัพบริติชอินเดีย ซึ่งตั้งฐานอยู่ที่มลายูและจีน มักจะดักจับและอ่านโทรเลขที่เกี่ยวข้องกับการทหารและสงคราม ซึ่งได้มีการแบ่งปันข้อมูลที่ได้มาแก่ญี่ปุ่น [12] ในทางกลับกัน ญี่ปุ่นก็ได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับรัสเซียแก่อังกฤษเป็นภาษาอังกฤษที่สมบูรณ์แบบ ที่เขียนโดยหน่วยข่าวกรองของญี่ปุ่น [13] และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยข่าวกรองของอังกฤษและญี่ปุ่น ได้รวบรวมหลักฐานมาก ว่าเยอรมนีกำลังสนับสนุนรัสเซียเข้าสู่สงคราม เพื่อต้องการให้เกิดความสั่นคลอนทางด้านดุลอำนาจในชาติยุโรป ทำให้อังกฤษได้ตระหนักมากขึ้นถึงภัยคุกคามต่อนานาชาติ[14]
การเจรจาก่อนสงคราม
แก้รัฐบุรุษ อิโต ฮิโระบุมิ มีความเห็นว่า ญี่ปุ่นควรเจรจากับรัสเซีย โดยญี่ปุ่นยินดีให้รัสเซียครอบครองแมนจูเรียโดยดี และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน รัสเซียก็ต้องยอมให้ญี่ปุ่นเข้าครอบครองเกาหลีตอนเหนือ[15]
ช่วงครึ่งหลังของปี 1903 ญี่ปุ่น-รัสเซียจึงเข้าเจรจาผลประโยชน์ระหว่างกัน ต่างฝ่ายต่างหวังที่จะบรรลุความประสงค์ของตนโดยไม่ต้องใช้กำลัง อย่างไรก็ตาม ในเอกสารร่างสัญญาของทั้งสองฝ่าย มีหลายจุดที่ขัดแย้งกัน ฝ่ายญี่ปุ่นเป็นผู้เสนอข้อเรียกร้องไปยังรัสเซียก่อน ได้เสนอขอบริหารเกาหลีในฐานะผู้อารักขาและยอมให้รัสเซียบริหารแมนจูเรียในฐานะผู้อารักขาเช่นกัน แต่รัสเซียต้องยอมรับสิทธิของญี่ปุ่นในการช่วยปฏิรูปของรัฐบาลเกาหลีตลอดจนด้านการทหาร โดยทั้งสองฝ่ายจะไม่ขัดขวางการพาณิชย์และอุตสาหกรรมของกันและกัน โดยทั้งสองฝ่ายสามารถส่งทหารเข้าไปในเขตบริหารของตนเองได้เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์และระงับความไม่สงบวุ่นวาย[16]
รัสเซียเห็นว่าข้อเสนอของญี่ปุ่นนั้นดูจะเหมือนการปกครองเกาหลีโดยตรงมากเกินไป รัสเซียจึงยอมให้ญี่ปุ่นเป็นได้แค่เพียงผู้ช่วยและผู้ให้คำปรึกษาต่อรัฐบาลเกาหลีในการพัฒนาประเทศโดยต้องไม่ไปละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพของเกาหลี นอกจากนี้ ยังเสนอให้ญี่ปุ่นต้องแจ้งรัสเซียทราบทุกครั้งเมื่อญี่ปุ่นส่งทหารเข้าไปในเกาหลี นอกจากนี้ยังเสนอไม่ให้ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของดินแดนเกาหลีเป็นจุดยุทธศาสตร์ และห้ามใช้พื้นที่ชายฝั่งเกาหลีดำเนินกิจกรรมทางทหารที่เป็นการคุกคามเสรีภาพการเดินเรือในช่องแคบเกาหลี[17]
"...ในระหว่างที่การเจรจาดำเนินไปนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้คำตอบอย่างฉับไวและคิดคำนึงต่อข้อเสนอของรัฐบาลรัสเซียเป็นพิเศษอยู่เสมอ การเจรจานี้ได้ดำเนินมาไม่น้อยกว่าสี่เดือนแล้วและก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะสามารถคาดเดาวันได้ข้อสรุปอย่างแน่นอนได้[18] ในสภาพการณ์เช่นนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นคงสามารถทำได้แค่เฝ้ามองด้วยความกังวลใจถึงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ความล่าช้าที่เกิดขึ้นในการเจรจาต่อรอง"[19] โคมูระ จูตาโร (小村壽太郎) รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น. โทรเลขถึงรัฐมนตรีในรัสเซีย ลงวันที่ 1 ธันวาคม 1903
ต้นเดือนมกราคม 1904 รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งสมมติฐานว่า ทางรัสเซียนั้นแท้จริงแล้วอาจไม่ได้สนใจทั้งเรื่องของแมนจูเรียหรือเกาหลี แค่กำลังซื้อเวลาเพื่อสั่งสมกำลังทหารเท่านั้น[20] ดังนั้น ในวันที่ 13 มกราคม ญี่ปุ่นจึงได้ส่งทูตไปยังรัสเซียอีกครั้ง ว่าญี่ปุ่นจะไม่ก้าวก่ายอิทธิพลของรัสเซียแมนจูเรีย และรัสเซียก็ต้องไม่ก้าวก่ายอิทธิพลของญี่ปุ่นในเกาหลี เวลาผ่านไปยี่สิบวันก็ไร้การตอบกลับใดๆ จากรัสเซีย การไร้ปฏิกิริยานี้สอดคล้องกับสมมติฐานของญี่ปุ่น ในที่สุด ญี่ปุ่นตัดสินใจตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัสเซียในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1904[20][21]
ประกาศสงคราม
แก้จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามต่อรัสเซียในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1904 [22] อย่างไรก็ตาม สามชั่วโมงก่อนที่รัฐบาลรัสเซียจะได้รับทราบถึงคำประกาศสงคราม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นทำการโจมตีกองเรือรัสเซียทางตะวันออกของพอร์ตอาเธอร์ เมื่อข่าวการโจมตีทราบไปถึงจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ก็ถึงกับทรงตื่นตะลึง ทรงไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นจะสามารถกระทำสงครามโดยไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ประกอบกับก่อนหน้านั้นทรงได้รับคำยืนยันจากรัฐมนตรีของพระองค์ว่า ญี่ปุ่นจะไม่ใช้กำลังทางทหาร ซึ่งรัสเซียได้ประกาศสงครามในแปดวันต่อมา[23]
ญี่ปุ่นที่ชาญฉลาดได้อ้างถึงการโจมตีสวีเดนโดยรัสเซียเมื่อปี 1809 ว่าครั้งนั้นรัสเซียก็ไม่ได้ประกาศสงครามก่อน อีกทั้งการเปิดฉากโจมตีก่อนคำประกาศสงครามในขณะนั้นก็ยังไม่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ข้อบังคับที่กำหนดให้ต้องประกาศสงครามก่อนการโจมตีนั้นถูกกำหนดขึ้นภายหลังในการประชุมสันติภาพครั้งที่สองในกรุงเฮก เมื่อเดือนตุลาคม 1907 โดยมีผลตั้งแต่ 26 มกราคม 1910 [24]
จักรวรรดิชิงซึ่งแพ้สงครามต่อญี่ปุ่นมาแล้วได้มีความพยายามเอาใจญี่ปุ่น โดยการเสนอความช่วยเหลือทางการทหารไปยังญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นก็ได้ปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม ยฺเหวียน ชื่อไข่ อุปราชแห่งจี๋ลี่และผู้บัญชาการกองทัพเป่ยหยาง ได้ส่งทูตไปพบกับนายพลของญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง เพื่อมอบอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และชาวแมนจูเรียบางส่วนก็เข้าร่วมรบกับทั้งสองฝ่าย ในฐานะทหารรับจ้าง
แนวร่วมของรัสเซีย
แก้มอนเตเนโกร ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น เป็นสัญญาณของการสนับสนุนทางทหารสำหรับรัสเซีย เนื่องด้วยเป็นการตอบแทนรัสเซียในการช่วยมอนเตเนโกรต่อการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดทางการขนส่งและระยะทาง ผลงานและความพยายามในการช่วยเหลือรัสเซียจึงถูกจำกัด โดยการส่งทหารชาวมอนเตเนโกรจำนวนเล็กน้อยเข้าร่วมกับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียแทน
เหตุการณ์ในปี 1904
แก้พอร์ตอาเธอร์บนคาบสมุทรเหลียวตงทางตอนใต้ของดินแดนแมนจูเรีย ได้กลายเป็นฐานทัพเรือสำคัญของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อรัสเซียในการมีอำนาจและอิทธิพลในทะเลตะวันออก และเพื่อการนั้น รัสเซียจึงต้องประมือกับญี่ปุ่นเป็นอย่างแรก
ยุทธนาวีที่พอร์ตอาเธอร์
แก้คืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1904 จักรพรรดินาวีญี่ปุ่นภายใต้บัญชาการของ พลเรือโทโทโง เฮฮาจิโร ได้เปิดศึกโดยเรือพิฆาตตอร์ปิโด[25] ได้โจมตีเรือรบของรัสเซียที่พอร์ตอาเธอร์ จากการโจมตีนั้นได้สร้างความเสียหายให้แก่เรือรบ เชซาเรวิช และ เร็ทวิซัน เรือรบที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือรัสเซีย ที่ลอยลำอยู่ทางตะวันออก และ เรือลาดตระเวน พัลลาดา[26] จากการโจมตีเหล่านี้ได้พัฒนาในการต่อสู้ของกองทัพเรือรัสเซียในเช้าวันถัดไป ทำให้กองเรือจักรพรรดินาวีญี่ปุ่นมีความลังเลที่จะโจมตีต่อ ซึ่งนี่เองทำให้กองเรือของพลเรือโทโทโงไม่สามารถที่จะโจมตีเรือของรัสเซียได้ เพราะว่ากองเรือของรัสเซียถูกปกป้องโดยกองปืนใหญ่ที่อยู่บนชายฝั่ง ถึงกระนั้นรัสเซียก็มีความลังเลที่จะออกเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการเสียชีวิตของพลเรือโทสเตปัน มาคารอฟ เมื่อ 13 เมษายน 1904
อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเหล่านี้ก้ได้เปิดช่องทางให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถยกพลขึ้นบกที่อินชอน ในเกาหลีได้ ซึ่งต่อมาไม่นานญี่ปุ่นก็เข้ายึดครองกรุงฮันยัง (โซล) และเกาหลีก็ตกเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งต่อมา กองพลที่ 1 ของพลตรีทาเมโมโตะ ก็พร้อมที่จะข้ามแม่น้ำยาลู่เพื่อยึดครองแมนจูเรีย
การรบที่แม่น้ำยาลู่
แก้วันที่ 30 เมษายน 1904 ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่กลายเป็นการรบภาคพื้นดินครั้งแรกของสงคราม กองพลที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเคลื่อนพลจากเกาหลีได้ข้ามแม่น้ำยาลู่เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู้แมนจูเรียได้บุกโจมตีที่ตั้งของรัสเซีย โดยการวางแผนอย่างดีโดยพลตรีคุโระกิ รัสเซียซึ่งพ่ายแพ้ทางกลยุทธ์ของญี่ปุ่นและมีกำลังทางทหารที่น้อยกว่าจึงได้รับคำสั่งให้ถอยทัพ จากความพ่ายแพ้ของกองกำลังเฉพาะกิจรัสเซียตะวันออก ได้ทำให้รัสเซียล้มเลิกความคิดที่ว่า การทำสงครามกับญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องง่ายและรัสเซียจะได้รับชัยชนะในเวลาอันสั้น[27] ทหารญี่ปุ่นได้รุดหน้าต่อไปยังอีกหลายจุดบนชายฝั่งดินแดนแมนจูเรีย และขับไล่รัสเซียให้ถอยร่นกลับไปพอร์ตอาเธอร์ ซึ่งเมื่อกองทัพญี่ปุ่นตามไปถึงพอร์ตอาเธอร์ในวันที่ 25 พฤษภาคมแล้ว ก็เกิดการรบขึ้นที่เรียกว่ายุทธการที่หนานชาง ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้รับชัยชนะ แต่ก็ต้องสูญเสียกำลังพลไปจำนวนมากจากความพยายามในการรักษาฐานที่มั่นของรัสเซีย
การปิดล้อมพอร์ตอาเธอร์
แก้ในคืนวันที่ 13- 14 กุมภาพันธุ์ 1904 ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะปิดกั้นทางเข้าทางทะเลสู่พอร์ตอาเธอร์ โดยได้จมเรือกลไฟบรรทุกซีเมนต์หลายลำในเขตน้ำลึกก่อนที่จะเข้าถึงท่าเรือแต่ก็ไม่เป็นผล[28] ในขณะความพยายามของครั้งที่สองในการปิดล้อมพอร์ตอาเธอร์ในคืนวันที่ 3-4 พฤษภาคม 1904 เองก็ล้มเหลว ซึ่งก่อนหน้านั้นในเดือนมีนาคม พลเรือโทมาคารอฟได้รับคำสั่งจากกองเรือแปซิฟิกที่หนึ่งในการทลายการปิดล้อม
12 เมษายน 1904 เรือรบรัสเซียสองลำ อันได้แก่ เรือธงเปโตรปาวลอฟสค์ (Petropavlovsk) และเรือลาดตระเวน โปเบดา (Pobeda) มุ่งหน้าออกจากพอร์ตอาเธอร์ แต่ก็ถูกทุ่นระเบิดของญี่ปุ่นเสียก่อนบริเวณปากทางเข้า ทำให้เรือธงเปโตรปาวลอฟสค์อัปปางลงในทันทีในขณะที่เรือปาเบดาถูกลากกลับไปที่ท่าเพื่อซ่อมแซม ซึ่งในเหตุการณ์นี้พลเรือโทมาคารอฟได้เสียชีวิตไปพร้อมกับเรือธงเปโตรปาวลอฟสค์
15 เมษายน 1904 รัฐบาลรัสเซียได้แสดงการคุกคามผู้สื่อข่าวอังกฤษที่กำลังโดยสารเรือการข่าวของอังกฤษ ไฮ้มุ๋น ไปในพื้นที่ปะทะ เพื่อรายงานสถานการณ์ไปยังสำนักงานของหนังสือพิมพ์ Times ในกรุงลอนดอน ซึ่งรัสเซียกังวลว่าสื่ออังกฤษจะตีพิมพ์ถึงสถานการณ์ว่ารัสเซียที่กำลังเพลี่ยงพล้ำแก่กองเรือญี่ปุ่น
รัสเซียเรียนรู้ถึงกลยุทธ์ของญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว ในเรื่องของทุ่นระเบิด ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1904 รัสเซียได้เริ่มปฏิบัติการเอาคืน โดยเป้าหมายคือเรือรบญี่ปุ่นสองลำ ยาชิมะ และ ฮัตสึเซะ ซึ่งเรือทั้งสองลำได้ถูกทุ่นระเบิดของรัสเซีย เรือฮัตสึเซะอัปปางลงในเวลาไม่กี่นาที พร้อมๆกับลูกเรือ 450 นาย ในขณะที่ยาชิมะ ถูกทุ่นระเบิดขณะกำลังถูกลากจูงไปซ่อมบำรุง ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน 1904 ความพยายามในการทลายวงล้อมภายใต้คำสั่งของพลเรือตรีวีลเกียฟต์ล้มเหลว ซึ่งในปลายเดือน กองเรือญี่ปุ่นเริ่มโจมตีท่าเรือพอร์ตอาเธอร์ด้วยปืนใหญ่
การล้อมโจมตีพอร์ตอาเธอร์
แก้การล้อมโจมตีพอร์ตอาเธอร์ ได้เริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 1904 ช่วงเวลาเดียวกันกับการปิดล้อมพอร์ตอาเธอร์ กองทหารญี่ปุ่นได้พยายามโจมตีป้อมรัสเซียบนยอดเขาที่สามารถมองเห็นท่าเรืออยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ มีทหารญี่ปุ่นบาดเจ็บล้มตายมากกว่าพันนายในภารกิจนี้
แต่ด้วยความสามารถของหมู่ปืนใหญ่ Krupp howitzers (เส้นผ่าศูนย์กลางกระบอกปืน: 11 นิ้ว) ผลิตโดยเยอรมัน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้ายึดครองป้อมปราการนี้ได้ในเดือนธันวาคม 1904 การยึดป้อมปราการนี้เองทำให้กองทหารญี่ปุ่นเกิดความได้เปรียบ เนื่องจากสามารถยิงปืนใหญ่ระยะไกลสู่เขตของกองเรือรัสเซียได้ ซึ่งทำให้กองเรือรัสเซียไม่สามารถตอบโต้กองปืนใหญ่ภาคพื้นดินของญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิผล และไม่สามารถฝ่าวงล้อมของกองเรือญี่ปุ่นที่ปิดอ่าวอยู่ได้ ญี่ปุ่นสามารถจมเรือ 4 ลำของรัสเซียไปในภารกิจนี้ ด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น นี่เป็นกรณีศึกษาทางประวัติศาสตร์และการทหารที่สำคัญ ที่กองทหารบกสามารถมีชัยเหนือกองเรือโดยการยิงปืนใหญ่
เมื่อความพยายามในการรักษาฐานที่มั่นจากการโอบล้อมของญี่ปุ่นได้ล้มเหลวลง กองกำลังรัสเซียภาคเหนือ ได้ถอยร่นจากพอร์ตอาเธอร์ไปยังมุกเดน (เฉิ่นหยาง) พลตรี อนาตอลี สเตสซีล ผู้บัญชาการกองทหารรักษาการพอร์ตอาเธอร์ กล่าวว่า เป้าหมายที่จะต้องปกป้องเมืองได้สูญสิ้นไปทั้งหมดภายหลังจากที่กองเรือถูกทำลาย และแต่ละครั้งที่ญี่ปุ่นโจมตี ฝ่ายรัสเซียก็บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นมีความสูญเสียนั้นน้อยมาก เรื่องนี้ส่งผลให้ พลตรี สเตสซีล ตัดสินใจยอมจำนนต่อนายพลของญี่ปุ่นในวันที่ 2 มกราคม 1905 ทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพอร์ตอาเธอร์ได้สำเร็จ ซึ่งการตัดสินใจของพลตรีสเตสซีลครั้งนี้ เป็นการตัดสินใจโดยตัวของเขาเอง ไม่มีการแจ้งหรือขอคำปรึกษาต่อต้นสังกัดหรือรัฐบาลพระเจ้าซาร์มาก่อน ซึ่งล้วนแต่คัดค้านและไม่พอใจอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจโดยพลการของเขา ซึ่งทำให้ในปี 1908 เขาถูกพิพากษาประหารชีวิต ด้วยเหตุผลการป้องกันดินแดนในอารักขาที่ไร้ความสามารถของเขา และกระทำการฝ่าผืนคำสั่ง
ยุทธนาวีทะเลเหลือง
แก้ด้วยการถึงแก่อนิจกรรมในการรบ ของพลเรือโทสเตปัน มาคารอฟ ระหว่างการปิดล้อมพอร์ตอาเธอร์ในเดือนเมษายน 1904 ทางกองทัพส่วนกลางของรัสเซีย ได้แต่งตั้ง พลเรือตรีวิลเง็มล์ วีลเกียฟต์ มาเป็นผู้บัญชาการประจำกองบัญชาการกองเรือตะวันออก พร้อมกันนี้ได้รับคำสั่งให้โจมตีกองกำลังญี่ปุ่นที่พอร์ตอาเธอร์ และเคลื่อนพลไปเสริมที่วลาดิวอสต็อก ในการนี้เขาได้บัญชาการเรือธง เชซาเรวิช (Tsesarevich) ซึ่งเป็นหนึ่งในเรือธงที่ทรงเกียรติที่สุดของรัสเซีย
พลเรือตรีวีลเกียฟต์ ได้เคลื่อนกองเรือของเขา ซึ่งประกอบด้วย 6 เรือประจัญบาน, 4 เรือลาดตระเวน และ 14 เรือพิฆาตตอร์ปิโด สู่ทะเลเหลือง ในเช้ามืดวันที่ 10 สิงหาคม 1904 ซึ่งที่นั่น กองเรือญี่ปุ่นที่บัญชาการโดย พลเรือโทโทโง เฮฮาจิโร ประกอบด้วย 4 เรือประจัญบาน, 10 เรือลาดตระเวน และ 18 เรือพิฆาตตอร์ปิโด ได้มารออยู่แล้ว
เวลา 12.15น. โดยประมาณ กองเรือทั้งสองอยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นกันและกัน และในเวลาประมาณ 13.00น. นายพลโทโง ได้เดินกระบวนเรือญี่ปุ่นตัดหน้ากระบวนเรือรัสเซียเป็นรูปตัว T และเริ่มยิงหมู่ปืนหลักเป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งไกลที่สุดเท่าที่มีการเคยบันทึกในขณะนั้น[29] กองเรือรัสเซียได้ยิงปืนใหญ่ตอบโต้กลับ แต่ด้วยระยะห่างของทั้งคู่จึงยังไม่มีกระสุนโดนเป้า เวลาผ่านไปราว 30 นาทีหลังการเริ่มระดมยิงอย่างต่อเนื่อง ทั้งคู่ได้อยู่ในระยะห่าง 6 กิโลเมตร และเริ่มโจมตีด้วยหมู่ปืนรอง เวลาประมาณ 18.30น. กระสุนปืนใหญ่ลูกหนึ่งจากเรือของนายพลโทโง ตกยังสะพานเดินเรือของเรือธงที่นายพลวีลเกียฟต์บัญชาการอยู่ และสังหารเขาในทันที
จากกระสุนปืนใหญ่ลูกเมื่อครู่ ทำให้หางเสือของเรือธงเชซาเรวิช เกิดการติดขัดทำให้เธอแล่นไปในทิศทางที่ผิด ซึ่งทำให้กองเรือรัสเซียเกิดความสับสน อย่างไรก็ตาม พลเรือโทโทโง ได้ตัดสินใจที่จะจมเชซาเรวิช และระดมยิงเธอต่อไป แต่เธอก็ได้ถูกช่วยเหลือไว้จากเรือรบนามบุรุษว่า เร็ตวีซัน (Retvizan) ซึ่งได้มาลากเธอออกไปจากดงกระสุนปืนใหญ่ของนายพลโทโง[30] นายพลโทโงซึ่งรับรู้ถึงการมาเยือนของกองเรือบอลติกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ไม่เสี่ยงที่จะไล่ตามไปโจมตีและถอนกำลังกลับพอร์ตอาเธอร์ ความดีความชอบของโทโงทำให้เขาได้รับยศเป็นพลเรือเอกในเดือนมิถุนายน 1904
การเคลื่อนพลของกองเรือบอลติก
แก้จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงประสงค์พิชิตญี่ปุ่นโดยเร็ว จึงส่งกองเรือบอลติกที่ประจำอยู่ยุโรปมาสนับสนุนกองเรือตะวันออก กองเรือบอลติก (หรือกองเรือแปซิฟิกที่ 2) อยู่ภายใต้การบัญชาการของ พลเรือตรีซีโนวี โรซเดสท์เวนสกี
กองเรือเริ่มออกเดินทางในวันที่ 15 ตุลาคม 1904 ซึ่งจะต้องเดินทางด้วยระยะทางเกือบครึ่งโลกจากทะเลบอลติกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และต้องใช้เส้นทางผ่านแหลมกู๊ดโฮปซึ่งเป็นเส้นทางที่ไกลกว่า อันเป็นผลมาจากกรณีทะเลเหนือ (อังกฤษ: Dogger Bank incident) ที่เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 1904 กองเรือรัสเซียยิงเรือประมงอังกฤษที่พวกเขาเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรือตอร์ปิโดของศัตรู ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษอ้างเหตุผลนี้ในการไม่อนุญาตให้กองเรือรัสเซียเดินเรือผ่านคลองสุเอซ ทำให้กองเรือรัสเซียต้องใช้ระยะเวลาเดินทางกว่า 7 เดือน การเคลื่อนพลครั้งนี้ได้รับความสนใจจากชาวรัสเซียและยุโรปมาก
เนื่องจากระยะทางที่ไกลมาก ทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบาก อันเป็นผลมาจากความไม่คุ้นเคยต่อสภาพอากาศของลูกเรือ, ปัญหาด้านเครื่องยนต์ขัดข้อง ตลอดจนการซื้อถ่านหินตามเมืองท่ารายทางนั้นก็ลำบาก เนื่องจากเมืองท่าของอังกฤษปฏิเสธการจำหน่ายถ่านหินแก่กองเรือบอลติก
เหตุการณ์ในปี 1905
แก้ยุทธการซันเดปุ
แก้ระหว่างวันที่ 25 ถึง 29 มกราคม กองพลที่สองของจักรวรรดิรัสเซียภายใต้บัญชาของ นายพลออสการ์ กริเปนเบิร์ก เข้าโจมตีขนาบข้างกองทหารญี่ปุ่นใกล้กับตำบลซันเดปุ (ทางใต้ของมุกเดน) โดยที่กองทหารญี่ปุ่นนั้นไม่ทันตั้งตัว การโจมตีดำเนินไปเรื่อยๆ แต่ด้วยขาดการสนับสนุนจากกองทหารรัสเซียหน่วยอื่นทำให้รัสเซียต้องยุติการโจมตีโดยคำสั่งจาก พลเอก อะเลคเซย์ กูโรแพทกิน รัฐมนตรีว่าการสงคราม และไม่สามารถตัดสินผลการรบได้ ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นก็ตระหนักได้ว่า ญี่ปุ่นต้องทำลายกองทหารราบของรัสเซียให้สิ้นก่อนที่กำลังเสริมของรัสเซียจะมาถึงผ่านทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย
ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ
แก้ระหว่างที่กองเรือแปซิฟิกที่ 2 แห่งจักรวรรดิรัสเซีย (กองเรือบอลติก) เดินทางข้ามทะเลกว่า 33,000 กิโลเมตรมาพอร์ตอาเธอร์ ขวัญและกำลังใจของทหารเรือรัสเซียถูกบั่นทอนไปอย่างมากตั้งแต่กองเรือเดินทางถึงมาดากัสการ์ และทราบข่าวถึงความพ่ายแพ้อย่างหมดท่าที่พอร์ตอาเธอร์ พลเรือตรีโรซเดสท์เวนสกี ตอนนี้ได้แต่หวังให้กองเรือไปถึงท่าเรือวลาดิวอสต็อกโดยเร็วที่สุด ซึ่งมีอยู่ 3 เส้นทางด้วยกันที่จะยังวลาดิวอสต็อก ซึ่งเส้นทางที่ใกล้ที่สุดต้องผ่านช่องแคบสึชิมะ ที่อยู่ระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้ เส้นทางนี้ก็เป็นเส้นทางที่เสี่ยงที่สุดด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่กองเรือญี่ปุ่นใช้สัญจรระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีซึ่งญี่ปุ่นตั้งฐานทัพเรืออยู่
พลเรือเอกโทโงได้ตระหนักอย่างดีถึงความเคลื่อนไหวของรัสเซียภายหลังจากเสียดินแดนพอร์ตอาเธอร์ไป ว่ากองเรือรัสเซียกำลังพยายามไปเทียบท่าที่ท่าเรือรัสเซียอื่นๆในตะวันออกไกล ตลอดจนวลาดิวอสต็อก ระหว่างนี้ นายพลโทโงได้เริ่มวางแผนการรบ และซ่อมบำรุงเรือรบต่างๆ เพื่อเตรียมรับกับการมาเยือนของกองเรือบอลติก
กองเรือผสมของญี่ปุ่น แต่เดิมมีเรือประจัญบาน 6 ลำ ได้ถูกปรับลดเหลือ 4 ลำ (2 ลำนำไปใช้งานเกี่ยวกับเหมืองแร่) และมีเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตตอรืปิโดตลอดจนเรืออื่นๆ อีก 104 ลำ ในขณะที่กองเรือบอลติก ประกอบด้วยเรือประจัญบาน 8 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้มีเรือชั้น บอร์โอดิโน (Borodino) ซึ่งเป็นเรือชั้นใหม่ เข้าร่วมภารกิจด้วย และประกอบด้วยเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตตอรืปิโดตลอดจนเรืออื่นๆ รวมกันอีก 20 ลำ
ปลายเดือน พฤษภาคม 1905 กองเรือบอลติกใกล้จะถึงวลาดิวอสต็อก และเลือกเส้นทางที่ใกล้และเสี่ยงกว่า คือผ่านช่องแคบสึชิมะ โดยเลือกที่จะเดินทางในตอนกลางคืนเพื่อเลี่ยงที่จะถูกตรวจเจอ แต่นับเป็นโชคร้ายของกองเรือรัสเซีย ขณะผ่านช่องแคบในคืนวันที่ 26 พฤษภาคม 1905 เรือพยาบาลที่ตามมายังคงเปิดเดินเครื่องยนต์และส่องไฟเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายการสงคราม[31] ทำให้กองเรือบอลติกถูกตรวจเจอโดยกองเรือลาดตระเวนรับจ้างของญี่ปุ่น ชินาโนะมารุ โดยได้ส่งสัญญาณวิทยุแจ้งไปยังศูนย์บัญชาการของพลเรือเอกโทโง และกองเรือผสมก็ได้รับคำสั่งออกปฏิบัติการในทันที[32] นอกจากนี้ยังได้รับข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองทหารเรือของญี่ปุ่นที่ไปสอดแนมมา ว่ากองเรือรัสเซีย จัดกระบวนเรือเป็นแถวตอนเรียงสอง ทำให้นายพลโทโง ตัดสินใจจะทำการ "ข้ามกระบวน T"[33] กับกระบวนเรือรัสเซีย (นำกระบวนเรือฝ่าอีกกระบวนเรือในทิศทางตั้งฉาก) การปะทะเปิดฉากขึ้น ในเวลา 14.08น. ของวันที่ 27 พฤษภาคม โดยกองเรือรัสเซียเปิดฉากโจมตีด้วยการระดมยิงใส่กองเรือผสมของญี่ปุ่น กองเรือญี่ปุ่นแล่นตัดทะลุกระบวนเรือทั้งสองแถวของรัสเซียทำมุม 40° แล้วเลี้ยวกลับเป็นรูปตัวยู (U) หัวแถวของกองเรือรัสเซียเสียขบวน และถูกบีบให้แล่นขนานกับกองเรือผสมของนายพลโทโง ควันจากปล่องไฟของกองเรือรัสเซียลอยบังทางปืนของตัวเอง จากนั้นเรือรบทุกลำของกองเรือญี่ปุ่นก็ระดมยิงใส้เรือกองเรือบอลติก กองเรือบอลติกไม่สามารถต้านทางกองเรือญี่ปุ่นได้จนเรือหลายลำต้องหนี แต่หลายลำก็ถูกไล่ตามจนทัน การรบวันแรกสิ้นสุดลงในเวลา 19.27 โดยมีเรือรบรัสเซียบางส่วนหนีรอดไปได้ ซึ่งกองเรือญี่ปุ่น ได้ปฏิบัติการไล้ตามในเช้าวันรุ่งขึ้น
เมื่อการรบสิ้นสุดลง มีเรือรัสเซียเพียง 3 ลำเท่านั้นที่หนีรอดไปถึงวลาดิวอสต็อก ส่วนที่เหลือถูกญี่ปุ่นจมและยึด กำลังพลรัสเซียเสียชีวิตกว่า 5,000 นาย และถูกจับเป็นเชลยกว่า 6,000 นายส่วนกำลังพลญี่ปุ่นเสียชีวิต 117 นาย ข่าวที่กองเรือบอลติกพ่ายแพ้หมดสภาพในเวลาแค่วันเดียว สร้างความตกตะลึงไปทั่วทั้งรัสเซียและยุโรป รัสเซียซึ่งขนะนี้ไม่เหลือศักยภาพที่จะสู้รบกับญี่ปุ่นได้อีก จึงยอมจำนน และนำไปสู่การลงนามสนธิสัญญาพอร์ตสมัท เป็นอันสิ้นสุดสงคราม กองทัพเรือรัสเซียได้ถูกตำหนิอย่างรุนแรงและเกิดความไม่พอใจรัฐบาลขึ้นในหมู่ประชาชน เป็นจุดเริ่มต้นของความตกต่ำของราชวงศ์โรมานอฟ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ประจักษ์แสนยานุภาพต่อนานาชาติ และขึ้นมาแทนที่อันดับของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย
ภายหลังสงคราม
แก้การสงบศึก
แก้แม้ว่าทางพฤตินัย การรบจะสิ้นสุดลงตั้งแต่รัสเซียพ่ายแพ้ในยุทธนาวีช่องแคบชิสึมะ แต่ในทางนิตินัยถือว่าสงครามได้ยุติลง เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ (สนธิสัญญาสงบศึก) ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลพระเจ้าซาร์เผชิญกับกระแสการปฏิวัติ ประชาชนขยาดต่อสงคราม แท้จริงแล้ว ภายหลังยุทธนาวีช่องแคบชิสึมะ ทางรัฐบาลพระเจ้าซาร์จะส่งทหารเข้าไปรบต่ออีกก็ย่อมได้ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ, สถานะการคลังของรัฐบาล ตลอดจนความพ่ายแพ้ในศึกครั้งผ่านๆมาทั้งทางบกและทางทะเลต่อญี่ปุ่นได้สร้างความอับอายเกินกว่าที่จะรับได้อีก เช่นนั้นแล้ว จักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ 2 จึงทรงเลือกที่จะเจรจาสันติภาพกับญี่ปุ่น (การยอมจำนน) เพื่อที่รัฐบาลกลางจะได้มีสมาธิในการจัดการความยุ่งยากและความปั่นป่วนภายในประเทศที่เริ่มปะทุขึ้น
ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้สหรัฐอเมริกาเป็นคนกลางในการจัดเจรจาสันติภาพนี้ขึ้น ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในเวลาต่อมา ฝ่ายรัสเซียได้ส่ง เซรกี วิตเต เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายรัสเซีย ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นมี รัฐมนตรีโคะมุระ จุตะโร ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น และได้ลงนามในสันธิสัญญาสันติภาพ ในวันที่ 5 กันยายน 1905 ณ อู่ทัพเรือพอร์ตสมัท ในตำบลพอร์ทสมัท ของรัฐนิวแฮมป์เชอร์ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกรู้จักกันในชื่อ "สนธิสัญญาพอร์ตสมัท" ในการนี้รัสเซียให้การยอมรับว่าเกาหลีเป็นเขตใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น และรัสเซียตกลงที่จะย้ายออกจากเกาหลีไปแมนจูเรีย นอกจากนี้ ภายหลังลงนาม ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ยังสนับสนุนให้รัสเซียปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ญี่ปุ่น ซึ่งในตอนแรก โคะมุระได้เรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากรัสเซียสูงถึง 15,000 ล้านเยน (1,490 ล้านปอนด์)[34] ก่อนที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะยินยอมไม่คิดค่าปฏิกรรมสงครามตามที่สหรัฐอเมริกาเสนอมา
รัสเซียได้ยุติสัญญาสิทธิ 25 ปีในการเช่าพอร์ตสมัท ตลอดจนน่านน้ำและคาบสมุทรในบริเวณนั้น และยกครึ่งหนึ่งส่วนใต้ของเกาะซาฮาลินแก่ญี่ปุ่น ซึ่งต่อมา ญี่ปุ่นได้เสียดินแดนส่วนนี้แก่สหภาพโซเวียตภายหลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง
ผลกระทบทางการเมือง
แก้ชัยชนะของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะในสงครามใหญ่ครั้งแรกของชาติตะวันออกในยุคใหม่ที่มีเหนือชาติยุโรป ข่าวการพ่ายแพ้ของรัสเซียได้สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วทั้งยุโรปตลอดจนอาณานิคมต่างๆ ชื่อเสียงและบารมีของญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในเวทีโลก และเริ่มได้รับการยอมรับในฐานะประเทศทันสมัย ขณะเดียวกัน รัสเซียที่สูญเสียกองเรือบอลติกนั้น แทบจะหมดความภาคภูมิและความน่ายำเกรงต่อชาติอื่นๆในยุโรป ย้อนไปเมื่อครั้งก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ตอนนั้นรัสเซียเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับฝรั่งเศสและเซอร์เบีย การพ่ายแพ้ของรัสเซียในครั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เพื่อที่จะวางแผนทำสงครามต่อฝรั่งเศสและเซอร์เบีย
การคลัง
แก้ก่อนสงคราม รัสเซียมีทองคำสำรองในท้องพระคลังมูลค่ากว่า 106.3 ล้านปอนด์ แต่รัสเซียกลับขาดดุลงบประมาณแผ่นดินติดต่อกันหลายปีจนต้องกู้เงินจากต่างประเทศ[35] งบประมาณด้านสงครามส่วนใหญ่ของรัสเซียใช้เงินกู้จากฝรั่งเศสเป็นหลัก แม้ว่าฝรั่งเศสจะไม่ต้องการเข้ามีส่วนร่วมในการสงครามทั้งทางตรงและอ้อม แต่รัฐบาลฝรั่งเศสตลอดจนธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของฝรั่งเศสก็จำใจต้องให้เงินกู้แก่รัสเซียด้วยตระหนักว่าผลประโยชน์ตลอดจนเศรษฐกิจของสองประเทศนั้นถูกผูกไว้ด้วยกัน วงเงินกู้แรกมีมูลค่า 800 ล้านฟรังก์ (30.4 ล้านปอนด์) วงเงินกู้ครั้งต่อมาจะมีมูลค่า 600 ล้านฟรังก์แต่ก็ถูกยกเลิกก่อน นอกเหนือไปจากการกู้เงินจากฝรั่งเศส รัสเซียยังได้ทำการกู้เงินจำนวน 500 ล้านมาร์กจากเยอรมัน ซึ่งเยอรมันเองก็จัดสรรเงินกู้เพื่อการสงครามให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่นด้วย[35][36]
อีกด้านหนึ่ง ญี่ปุ่นมีทองคำสำรองมูลค่าเพียง 11.7 ล้านปอนด์ (118 ล้านเยน) ดังนั้นเมื่อญี่ปุ่นต้องทำสงครามกับรัสเซีย เงินทุนส่วนใหญ่ในการทำสงครามจึงมาจากการก่อหนี้ ญี่ปุ่นตั้งงบประมาณสำหรับสงครามครั้งนี้ไว้ไม่เกิน 1,721 ล้านเยน[34] ในจำนวนนี้ 42% เป็นเงินกู้ในประเทศ และอีก 40% เป็นเงินกู้ต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่กู้จากสหราชอาณาจักรและสหรัฐ ที่เหลืออีก 11% ใช้เงินคลังของรัฐบาลญี่ปุ่น[34] อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามสิ้นสุดพบว่าการเบิกจ่ายจริงอยู่ที่ราว 1,500 ล้านเยน
รายชื่อการปะทะ
แก้รายชื่อการปะทะเรียงตามลำดับเหตุการณ์
- 1904 ยุทธนาวีพอร์ตอาเธอร์, 8 กุมภาพันธ์: สรุปผลไม่ได้
- 1904 ยุทธการอ่าวเชมุลโพ, 9 กุมภาพันธ์: ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่, 30 เมษายน -1 พฤษภาคม: ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธการที่หนานชาง, 25-26 พฤษภาคม, ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธการเทลิสสุ, 14-15 มิถุนายน, ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธการทางผ่านมอยเทียน, 17 กรกฎาคม, ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธการต้าชี่เฉียว, 24 กรกฎาคม,ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธการไซมู่เฉิง, 31 กรกฎาคม, ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธนาวีทะเลเหลือง, 10 สิงหาคม: ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธนาวีอัลซาน, 14 สิงหาคม: การรบทางทะเล: ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904–1905 การปิดล้อมพอร์ตอาเธอร์, 19 สิงหาคม-2 มกราคม: ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1904 ยุทธการที่เหลียวหยาง, 25 สิงหาคม-3 กันยายน: สรุปผลไม่ได้
- 1904 ยุทธการชาโฮ, 5-17 ตุลาคม: สรุปผลไม่ได้
- 1905 ยุทธการซันเดปุ, 26-27 มกราคม: สรุปผลไม่ได้
- 1905 ยุทธการที่มุกเดน, 21 กุมภาพันธ์ - 10 มีนาคม: ชัยชนะของญี่ปุ่น
- 1905 ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ, 27-28 พฤษภาคม: ชัยชนะของญี่ปุ่น
อ้างอิง
แก้- ↑ "Montenegro, Japan to declare truce," United Press International (US); "Montenegro, Japan End 100 Years' War," History News Network (US). citing World Peace Herald, 16 June 2006; Montenegrina, digitalna biblioteka crnogorske kulture (Montegreina, digital library of Montenegrin culture), Istorija: Đuro Batrićević, citing Batrićević, Đuro. (1996). Crnogorci u rusko-japanskom ratu (Montenegrins in the Russo-Japanese War); compare Dr Anto Gvozdenović: general u tri vojske. Crnogorci u rusko-japanskom ratu (Dr. Anto Gvozdenovic: General in Three Armies; Montenegrins in the Russo-Japanese War)
- ↑ 2.0 2.1 Samuel Dumas, Losses of Life Caused By War (1923)
- ↑ 3.0 3.1 Erols.com, Twentieth Century Atlas – Death Tolls and Casualty Statistics for Wars, Dictatorships and Genocides.
- ↑ Forczyk, p. 22 "Tsar's diary entry"
- ↑ John Steinburg, Was the Russo-Japanese Conflict World War Zero?. p. 2.
- ↑ Harwood 2006, p. 128
- ↑ Rewriting the Russo-Japanese War: A Centenary Perspective, Schimmelpenninick van der Oye, p. 80.
- ↑ Jukes, Geoffrey page 9
- ↑ Connaughton, pp. 19–20
- ↑ Paine, p. 317
- ↑ Chapman, John W. M. "Russia, Germany and the Anglo-Japanese Intelligence Collaboration, 1896–1906" pages 41–55 from Russia War, Peace and Diplomacy edited by Mark & Ljubica Erickson, London: Weidenfeld & Nicolson, 2004 page 42.
- ↑ Chapman, John W.M. "Russia, Germany and the Anglo-Japanese Intelligence Collaboration, 1896–1906" pages 41–55 from Russia War, Peace and Diplomacy edited by Mark & Ljubica Erickson, London: Weidenfeld & Nicolson, 2004 page 55.
- ↑ Chapman, John W.M. "Russia, Germany and the Anglo-Japanese Intelligence Collaboration, 1896–1906" pages 41–55 from Russia War, Peace and Diplomacy edited by Mark & Ljubica Erickson, London: Weidenfeld & Nicolson, 2004. p. 54.
- ↑ Chapman, John W. M. "Russia, Germany and the Anglo-Japanese Intelligence Collaboration, 1896–1906" pages 41–55 from Russia War, Peace and Diplomacy edited by Mark & Ljubica Erickson, London: Weidenfeld & Nicolson, 2004. pp. 52–54.
- ↑ Text in Correspondence Regarding Negotiations ... (1903–1904) p. 38.
- ↑ Text in Japanese Ministry of Foreign Affairs, Correspondence Regarding Negotiations ... (1903–1904) pp. 7–9.
- ↑ Text in Correspondence Regarding Negotiations ... (1903–1904) pp. 23–24.
- ↑ Schmmelpenninck van der Oye, David (2005). "The Immediate Origins of the War". ใน Wolff, David (บ.ก.). The Russo-Japanese War in Global Perspective: World War Zero. Leiden, Boston: Brill. p. 42.
- ↑ Text in Correspondence Regarding Negotiations ... (1903–1904) p. 38.
- ↑ 20.0 20.1 Koda, Yoji (1 April 2005). "The Russo-Japanese War: Primary Causes of Japanese Success". Naval War College Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015 – โดยทาง HighBeam.
- ↑ Jukes, The Russo-Japanese War, p. 21.
- ↑ ความน่าเชื่อถือจากนักวิจัยทางวิชาการ เอจิโระ ยามาซะ จากร่างปฏิญญาข้อความของญี่ปุ่นจากสงคราม— see Naval Postgraduate School (US) thesis: Na, Sang Hyung. "The Korean-Japanese Dispute over Dokdo/Takeshima," p. 62 n207 เก็บถาวร 2011-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ธันวาคม 2007, citing Byang-Ryull Kim. (2006). Ilbon Gunbu'ui Dokdo Chim Talsa (The Plunder of Dokdo by the Japanese Military), p. 121.
- ↑ Connaughton, p. 34.
- ↑ Yale University: Laws of War: Opening of Hostilities (Hague III) ; 18 ตุลาคม 1907, Avalon Project at Yale Law School เก็บถาวร 2008-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Grant p. 12, 15, 17, 42
- ↑
Shaw, Albert (March, 1904). "The Progress of the World – Japan's Swift Action". The American Monthly Review of Reviews. New York: The Review of Reviews Company. 29 (3): 260
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Connaughton, p.65
- ↑ Grant, p. 48–50
- ↑ Forczyk p. 50
- ↑ Forczyk p. 53
- ↑ Watts p. 22
- ↑ Mahan p. 455
- ↑ Mahan p. 456
- ↑ 34.0 34.1 34.2 John Steinberg (2007). The Russo-Japanese War in Global Perspective: World War Zero. Vol. 2.
- ↑ 35.0 35.1 Sherman, A. J."German-Jewish Bankers in World Politics, The Financing of the Russo-Japanese War" Leo Baeck Institute Yearbook(1983) 28(1): 59–73 doi:10.1093/leobaeck/28.1.59
- ↑ Ion, A. Hamish; Errington, E. J. (1993). Great Powers and Little Wars: The Limits of Power. Westport, Connecticut: Praeger Publishers. pp. 146, 151–152. ISBN 978-0275939656. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015 – โดยทาง Questia.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 23 (11 ed.). 1911.
- da Silva, Joaquín (29 April 2016). "Chronology of Japanese Cinema: 1904". EigaNove.
- RussoJapaneseWar.com, Russo-Japanese War research society.
- BFcollection.net, Database of Russian Army Jewish soldiers injured, killed, or missing in action from the war.
- BYU.edu, Text of the Treaty of Portsmouth:.
- Flot.com, Russian Navy history of war.
- Frontiers.loc.gov เก็บถาวร 2011-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Russo-Japanese Relations in the Far East. Meeting of Frontiers (Library of Congress)
- CSmonitor.com, Treaty of Portsmouth now seen as global turning point from the Christian Science Monitor, by Robert Marquand, 30 December 2005.
- . . 1914.
- Montenigrina.net, Montenegrins in the Russo-Japanese War (Montenegrin).
- Stanford.edu, Lyrics, translation and melody of the song "On the hills of Manchuria" (Na sopkah Manchzhurii).
- Google Map with battles of Russo-Japanese War and other important events.
- See more Russo-Japanese War Maps at the Persuasive Cartography, The PJ Mode Collection, Cornell University Library