ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาพราหมณ์ (อังกฤษ: Brahmanism) หรือ ศาสนาพระเวท (อังกฤษ: Vedic religion; สันสกฤต: वैदिकधर्म) เป็นศาสนาของชาวอินเดียโบราณซึ่งใช้กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ราว 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1][2][3] โดยยึดคัมภีร์พระเวทเป็นหลักความเชื่อและแนวปฏิบัติ[4] และมีพัฒนาการจนเป็นศาสนาฮินดูในเวลาต่อมา[5][1] จึงถือว่าศาสนาพระเวทเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดู[6] โดยมีสำนักพราหมณ์ต่าง ๆ เป็นผู้สืบทอดพระเวทมาจนปัจจุบัน[7]
แม้พระเวทจะมีหลักคำสอนที่ลึกซึ้งมีแบบแผน แต่ไม่แน่ชัดว่าหลักคำสอนนั้นส่งผลในทางปฏิบัติของชาวบ้านเพียงใด[7] มีหลักฐานชี้ว่าในศาสนาพระเวทมีสองสายที่ขัดแย้งกัน สายหนึ่งเน้นพิธีกรรมที่มีรูปแบบหยุมหยิม ค่าใช้จ่ายมาก ขั้นตอนซับซ้อน แต่อีกสายกลับตั้งคำถามกับเรื่องเหล่านี้ แล้วเน้นความหมายของพิธีกรรมต่อคุณค่าภายในใจและความจริงสากลมากกว่า ทั้งสองสายมีอิทธิพลต่อศาสนาแบบอินเดียทั้งศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดูโดยเฉพาะ[8][9]
นักวิชาการบางคนมองว่าศาสนาพระเวทป็นการผสมผสานความเชื่อของชาวอินโด-อารยันในเอเชียกลางกับชาวฮารัปปาในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ[10]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 Vedic religion, Encyclopedia Britannica
- ↑ Bruce M. Sullivan (2001). The A to Z of Hinduism. Rowman & Littlefield. p. 9. ISBN 978-0-8108-4070-6.
- ↑ Samuel 2010, pp. 97–99, 113–118.
- ↑ พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา, หน้า 34
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1445
- ↑ Brahmanism, Encyclopedia Britannica
- ↑ 7.0 7.1 Jamison, Stephanie; Witzel, Michael (1992). "Vedic Hinduism" (PDF). Harvard University. pp. 2–4. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
- ↑ Jamison, Stephanie; Witzel, Michael (1992). "Vedic Hinduism" (PDF). Harvard University. pp. 1–5, 47–52, 74–77 with footnotes. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
- ↑ Geoffrey Samuel. The Origins of Yoga and Tantra: Indic Religions to the Thirteenth Century. Cambridge University. p. 113.
- ↑ White, David Gordon (2003). Kiss of the Yogini. Chicago: University of Chicago Press. p. 28. ISBN 0-226-89483-5.
- บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552. 734 หน้า. หน้า 116-118. ISBN 978-616-7073-03-3
- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2560. 320 หน้า. หน้า 34-35. ISBN 978-616-389-061-0